ทีมโฆษกรัฐบาล แถลงผล ครม.อนุมัติหลักการร่าง พ.ร.บ.สุขภาพจิต ผู้ป่วยมีสิทธิปกปิดข้อมูล ห้ามมัด กักบริเวณ เว้นเป็นอันตราย
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัตร ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต ฉบับที่... พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ก่อนเสนอ สนช.พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจาก พ.ร.บ.สุขภาพจิต ปี 2551 ใช้มาหลายปีแล้ว ซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานหลายส่วน อีกทั้งข้อกำหนดในการดำเนินงานหลายส่วนไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติมก็เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิ์ผู้ป่วยทางจิตในการได้รับการบำบัด รวมทั้งแก้ไขรายละเอียดทางกฎหมาย เช่น การกำหนดเพิ่มบทนิยามคำว่า “สุขภาพจิต” สำนักงาน และหน่วยงานของรัฐให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพิ่มเติมองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติในส่วนของราชการ เพิ่มจำนวนผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคล จากเดิม 4 คน ให้เป็น 6 คน เพื่อให้การกำหนดนโยบายด้านสุขภาพจิตครอบคลุมทุกภาคส่วน มีการกำหนดนโยบายและมาตรการการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต มีการกำหนดสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับ ได้แก่ผู้ป่วยมีสิทธิปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการบำบัด รักษา ไว้เป็นความลับ การนำเสนอข้อมูลให้คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย และผลกระทบจาการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร การผูกมัดร่างกาย กักบริเวณ จะกระทำไม่ได้ ยกเว้นเพื่อป้องกันการเกิดอันตราย และกำหนดข้อกำหนดในการบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยไฟฟ้า การกระทำต่อสมอง และระบบประสาท หรือการบำบัดด้วยวิธีอื่น
วันนี้ (25 ต.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัตร ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต ฉบับที่... พ.ศ. ... ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของกระทรวงยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา ก่อนเสนอ สนช.พิจารณาต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจาก พ.ร.บ.สุขภาพจิต ปี 2551 ใช้มาหลายปีแล้ว ซึ่งปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานหลายส่วน อีกทั้งข้อกำหนดในการดำเนินงานหลายส่วนไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยสาระสำคัญที่แก้ไขเพิ่มเติมก็เพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สิทธิ์ผู้ป่วยทางจิตในการได้รับการบำบัด รวมทั้งแก้ไขรายละเอียดทางกฎหมาย เช่น การกำหนดเพิ่มบทนิยามคำว่า “สุขภาพจิต” สำนักงาน และหน่วยงานของรัฐให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพิ่มเติมองค์ประกอบ และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติในส่วนของราชการ เพิ่มจำนวนผู้แทนองค์กรภาคเอกชนที่เป็นนิติบุคคล จากเดิม 4 คน ให้เป็น 6 คน เพื่อให้การกำหนดนโยบายด้านสุขภาพจิตครอบคลุมทุกภาคส่วน มีการกำหนดนโยบายและมาตรการการคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต มีการกำหนดสิทธิของผู้ป่วยที่จะได้รับ ได้แก่ผู้ป่วยมีสิทธิปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการเจ็บป่วย และการบำบัด รักษา ไว้เป็นความลับ การนำเสนอข้อมูลให้คำนึงถึงสิทธิผู้ป่วย และผลกระทบจาการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร การผูกมัดร่างกาย กักบริเวณ จะกระทำไม่ได้ ยกเว้นเพื่อป้องกันการเกิดอันตราย และกำหนดข้อกำหนดในการบำบัดรักษาผู้ป่วยด้วยไฟฟ้า การกระทำต่อสมอง และระบบประสาท หรือการบำบัดด้วยวิธีอื่น