xs
xsm
sm
md
lg

ตร.เปิด 253 “ข้อหา-มาตรา” ฐานความผิดจราจร พร้อมอัตราค่าปรับ เข้าข่ายชําระผ่านเอทีเอ็ม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


ตร.เปิด 253 ข้อหา-ฐานความผิด พร้อมบทมาตรา-จํานวนค่าปรับที่เข้าข่ายชําระค่าปรับทางไปรษณีย์ และวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต หรือวิธีการอื่น ผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชําระเงิน และกําหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2552, 2559

วันนี้ (14 ก.ย.) มีรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ข้อกําหนดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เรื่องการชําระค่าปรับ การชําระค่าปรับทางไปรษณีย์ และวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต หรือวิธีการอื่น โดยผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชําระเงิน และกําหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบสําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2559 ดังนี้

“อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๔๐ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๙) พ.ศ. ๒๕๕๗ และมาตรา ๑๔๑ แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๑) พ.ศ. ๒๕๕๙ ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ เห็นควรออกข้อกําหนดสํานักงานตํารวจแห่งชาติกําหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติมไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ข้อกําหนดนี้เรียกว่า “ข้อกําหนดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เรื่อง การชําระค่าปรับการชําระค่าปรับทางไปรษณีย์ และวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต หรือวิธีการอื่นโดยผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชําระเงิน และกําหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒ พ.ศ. ๒๕๕๙”

ข้อ ๒ ข้อกําหนดนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นต้นไป

ข้อ ๓ ให้ยกเลิกข้อกําหนดสํานักงานตํารวจแห่งชาติ เรื่อง การชําระค่าปรับทางไปรษณีย์และกําหนดจํานวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ สําหรับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๕๗บรรดาข้อกําหนดหรือคําสั่งอื่นใดในส่วนที่กําหนดไว้แล้วในข้อกําหนดนี้ หรือซึ่งขัดหรือแย้งกับข้อกําหนดนี้ ให้ใช้ข้อกําหนดนี้แทน
ข้อ ๔ ผู้ขับขี่เ จ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถซึ่งได้รับใบสั่งต้องชําระค่าปรับโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

(๑) ชําระค่าปรับตามจํานวนที่ระบุไว้ในใบสั่งหรือตามจํานวนที่พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทราบ ณ สถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่ง ภายในวัน เวลา ที่ระบุไว้ในใบสั่ง
(๒) ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยให้ปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(ก) ส่งธนาณัติ หรือตั๋วแลกเงินของธนาคารที่ระบุจํานวนเท่ากับจํานวนเงินค่าปรับที่ระบุไว้ในใบสั่ง พร้อมด้วยสําเนาใบสั่งไปยังผู้บังคับการตํารวจจราจร หัวหน้าสถานีตํารวจนครบาลหรือภูธรหรือหัวหน้าหน่วยงานที่มีระดับตั้งแต่สารวัตรขึ้นไป ภายในวัน เวลา และสถานที่ตามที่ระบุไว้ในใบสั่ง
(ข) ธนาณัติหรือตั๋วแลกเงินของธนาคารระบุสั่งจ่ายให้แก่ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ ณ ที่ทําการไปรษณีย์ หรือธนาคารที่ระบุไว้ในใบสั่ง
(๓) ในกรณีที่ไม่มีการเรียกเก็บใบอนุญาตขับขี่ ผู้ขับขี่ เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถสามารถชําระค่าปรับโดยวิธีการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ บัตรเครดิต หรือวิธีการอื่น โดยชําระค่าปรับตามจํานวนที่ระบุไว้ในใบสั่งผ่านธนาคารหรือหน่วยบริการรับชําระเงินตามที่สํานักงานตํารวจแห่งชาติประกาศกําหนด

ข้อ ๕ กําหนดจํานวนค่าปรับเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. ๒๕๒๒และที่แก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้ขับขี่ เจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถชําระค่าปรับในอัตราตามบัญชีแนบท้ายข้อกําหนดนี้

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙
พลตํารวจเอก จักรทิพย์ ชัยจินดา
ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ”

“ทั้งนี้ พบว่า มีข้อหาฐานความผิดที่สามารถชำระผ่าเอทีเอ็มหรือไปรษณีย์ เช่น ข้อ 204 ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารไม่สวมหมวกที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะ ตามมาตรา ๑๒๒ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๕, ๑๔๘ (ฉบับ ที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘ ปรับ 400 บาท, ข้อ 206 (๑) ขับขี่รถยนต์โดยไม่รัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย (๒) ขับขี่รถยนต์โดยไม่จัดให้คนโดยสาร ซึ่งนั่งที่นั่ง ตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่รถยนต์รัดร่างกาย ด้วยเข็มขัดนิรภัย (๓) คนโดยสารซึ่งนั่งตอนหน้าแถวเดียวกับที่นั่งผู้ขับขี่ รถยนต์ไม่รัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัย มาตรา ๑๒๓ วรรคสอง(ฉบับที่ ๕) พ.ศ.๒๕๓๘ มาตรา ๓, ๑๔๘ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๘ ปรับ 400 บาท เป็นต้น

ยังพบว่า ข้อ 198-200 ความผิด จอดรถม้าหรือเกวียน หรือเลื่อนในทางโดยไม่มีผู้ควบคุมและไม่ได้ผูกสัตว์ที่เทียมนั้นไว้ไม่ให้ลากต่อไปได้ ปล่อยสายบังเหียนในเวลาขับรถม้า ขับรถม้า เกวียนหรือเลื่อนที่เทียมด้วยสัตว์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรทางบกว่าด้วยรถ ตาม มาตรา ๑๑๖, ๑๔๗ มาตรา ๑๑๗, ๑๔๗ มาตรา ๑๑๘, ๑๔๘ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘ มีค่าปรับ 200 บาท”

อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีการระบุฐานความผิดหลังจากกองบังคับการตำรวจจราจร (บก.จร) ได้สั่งการให้ สน.ในพื้นที่ตรวจเข้มงวดผู้เล่นเกมโปเกมอนระหว่างขับรถยนต์ หรือจักรยานยนต์แล้วเล่นโทรศัพท์มือถือ เพื่อป้องกันไม่เกิดปัญหาการจราจรและอุบัติเหตุ แต่กรณีนี้เข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.จราจร ข้อหาใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับรถ มีโทษปรับตั้งแต่ 400 ถึง 1,000 บาท

อ่าน 253 ข้อฐานความผิดบัญชีกําหนดจํานวนค่าปรับเกี่ยวกับความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/205/18.PDF









กำลังโหลดความคิดเห็น