สะเก็ดไฟ
ปิดหู ปิดตา ปิดปาก! เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์จากต่างชาติ ที่ระดมถล่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เริ่มเเรก จนถึงวันทำประชามติ 7 ส.ค. มีข้อจำกัดทางด้านเสรีภาพ ทั้งในระนาบของสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่รายงานข่าว ชาวบ้านประชาชน ไปจนถึงนักวิชาการ อดีตนักการเมือง หรือนักศึกษา มีหลายกรณี ถูกจับกุมคุมขังด้วยเครื่องมือของอำนาจรัฐ ตลอดเกือบ 9 เดือนเต็ม องค์กรระหว่างประเทศ ออกแถลงการณ์ ตักเตือน เสนอแนะ และประณามรัฐบาลไทยหลายต่อหลายครั้ง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. ต้องปวดเศียรเวียนกบาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ในฐานะผู้เเต่งตั้ง 21 อรหันต์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มี “มีชัย ฤชุพันธุ์” ประธาน กรธ. มาเป็น “หัวหน้าเชฟใหญ่” โดยปริยาย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในสายตาต่างชาติ รัฐบาลทหารมียี่ห้อ หรือภาพลักษณ์ ความเป็นเผด็จการปักป้ายแขวนโชว์บนเวทีโลก เมื่อถูกนำไปเปรียบเทียบกับรัฐบาลทหารของไทยในอดีต หรือรัฐบาลทหารชาติอื่นๆ เช่น พม่า
ความรุนแรง การใช้อำนาจในมือ จำกัดสิทธิประชาชน กับผู้เห็นต่างอย่างไม่เป็นธรรม การมอมเมาโดยใช้สื่อของรัฐ สกัดกั้นการรายงานข่าวสื่อกระแสหลัก ตัดอำนาจอดีตนักการเมือง โดยใช้ปลายกระบอกปืนที่พาดอยู่บนบ่า ดาหน้าปัดป้องทุกสิ่งอย่างที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น หรือการดำเนินการใดๆ ที่จะกระทบเป้าหมายของรัฐ
ข้อครหาเผด็จการทหาร ตลอด 9 เดือน ของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ซือเเป๋” เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงตามข้อครหาของต่างชาติ หรือไม่?
หากจะวิเคราะห์อย่างให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาล คสช. วัดกันปอนด์ต่อปอนด์ ต้องแยกออกมาเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ก่อน และ หลัง รัฐบาลทหารของ “พม่า” ปล่อยตัวนางอองซานซูจี
1. ก่อนปล่อยตัว นางอองซานซูจี รัฐบาลทหารภายใต้การนำของ “เต็ง เส่ง” ควบคุมทุกอย่างเบ็ดเสร็จ ปิดประเทศ คุมขังหญิงเหล็กอยู่ในบ้านพัก โดยไม่สนใจแรงกดดันจากต่างชาติตลอดหลายสิปปี ยังไม่นับการไร้ซึ่งความหวัง ทั้งด้านสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นอยู่ของประชาชนชาวพม่าตาดำๆ ที่ถูกจำกัดชนิดต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ถูกกดทับให้หวาดกลัวอยู่ภายใต้เพดานควันปืน
2. หลังนางอองซานซูจีได้รับอิสรภาพ มีการเลือกตั้ง มีการเปิดเสรีภาพให้ชนชาวพม่ารณรงค์ หรือแสดงความเห็นทางการเมืองต่อการเลือกตั้งเต็มที่ พรรคเอ็นแอลดี ประกาศชัยชนะถล่มทลาย “เต็ง เส่ง” ออกบวชไม่ยุ่งการเมือง บรรยากาศความกลัวหายไป ชนชาวพม่าค่อยๆ แหย่ขาก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยเบ่งบาน ต่างชาติแห่ชื่นชมให้การยอมรับ
แล้วพี่ไทยของเราโดย คสช.ล่ะ! เป็นอย่างไร?
เทียบกับห้วงเวลาที่ 1 ของพม่า กับ คสช.ของ “บิ๊กตู่” กับ ขุนพลบูรพาพยัคฆ์ แน่นอนแม้การทำประชามติ จะมีทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. มาตรา 44 หรือเเม้กระทั่ง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เป็นร่มห่มคลุมเอาไว้ มีการหิ้วนักศึกษาเข้าซังเต หรือ คำสั่งเรียกแกนนำฝ่ายพลพรรครักนายใหญ่เข้าค่ายอะคาเดมี เพื่อปรับทัศนคติ ปรามความห้าวอยู่บ้าง แถมพักหลังๆ ช่วงโค้งสุดท้ายก่อน 7 ส.ค. ปรากฏการณ์ดาหน้าฉะยับรัฐธรรมนูญยังทำได้เหมือน คสช.ยอมปล่อยฟรีให้ดื้อๆ ชนิด “ซือแป๋มีชัย” ต้องปวดกบาล ปากเปียกปากแฉะ กับเสียงเจ๊าะแจ๊ะจากฝ่ายต้าน โดยเฉพาะประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ถ้าเทียบกันเเล้ว ไม่ถึงขั้นเสียเลือด เสียเนื้อ ปราบปรามประชาชน เหมือนที่รัฐบาลทหารพม่าเคยสร้างความกลัวไว้ในอดีต
แต่ ถ้าข้อ 2 ที่ท้องฟ้าประชาธิปไตยพม่ากำลังเปิดม่าน เบ่งบาน ถึงขั้นนานาชาติคาดการณ์ว่าซูจีจะนำพม่าก้าวกระโดดเป็นเสือตัวฉกาจของเอเชีย รัฐบาลทหารของไทยจึงต้องยอมรับว่าสถานการณ์แตกต่างกันสิ้นเชิง ไทยถูกต่างชาติกดดัน ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญมีกลิ่นการวางเกมสืบทอดอำนาจ ผ่านบทบัญญัติคำถามพ่วง เลือกถามประชาชนจะให้สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ที่แต่งตั้งมาโดย คสช.มีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีแรก หรือไม่
นอกจากนี้ ไทยถูกเพ่งเล็งเรื่องการจำกัดสิทธิ สร้างบรรยากาศความกลัว จากปัญหาการทับซ้อนกันของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ กับการผิดคำสั่งหัวหน้า คสช. เทียบแล้วต่างชาติให้ความเชื่อมั่น ยอมรับ การเลือกตั้งของพม่าที่เปิดให้แสดงออกด้านสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่มากกว่า
โดยเฉพาะเมื่อ “เต็ง เส่ง” ยอมยกธงขาว เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยไม่ต้องมีทหารถือปืนยืนล้อมรอบวัดนั้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนชาวพม่า และต่างชาติเป็นอย่างดีว่าดอกผลบนต้นไม้ประชาธิปไตยของ “พม่า” กำลังเบ่งบานอย่างเต็มที่
“พม่า” กับ “ไทย” ใคร “ปิดหู ปิดตา ปิดปาก” ประชาชนระหว่างการเลือกตั้ง หรือการทำประชามติ มากกว่ากัน หรือใคร ใช้ปืน เป็นอุปกรณ์เสริมมากกว่า
ถ้าพูดจาภาษานักเลงไม่มีโปรโมเตอร์คนไหนบ้าบอเอานักมวยที่กำลังรักษาอาการป่วยไปเปรียบกับดาวรุ่งมาแรงแล้วให้ซัดกันหมัดต่อหมัดบนสังเวียนสากล ผลการชกออกหน้าไหนเด็กอมลูกกวาดก็ยังรู้ ดังนั้นจึงขี้เกียจวิเคราะห์หรือฟันธงเพราะมันไม่ยุติธรรมนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าต่างชาติ หรือคนในประเทศเองไม่มีสิทธิมอง หรือคาดการณ์
ป่านนี้ คสช.กับฝ่ายการเมืองเองคงรู้กันเเล้วว่าจะเปิดตำราหน้าไหนมาสู้ ตามโรดเเมปที่ “บิ๊กตู่” ประกาศปาวๆ ว่า เลือกตั้งปี 60 ความวุ่นวายจะไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ผู้รักษากฎหมาย มีอำนาจเต็มด้านบริหารอย่าง คสช.เองต้องคิดเเละเตรียมเเผนรับมือต่างหาก
ยากปฏิเสธความเป็นจริง ว่าการเคลื่อนไหวจากทุกองคาพยพ ทั้งฝ่ายหนุน-ต้าน ที่เกิดขึ้นระหว่างทางร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ “ซือแป๋” ทำให้ภาพความปรองดองที่คนไทยหวังให้เกิดขึ้น
ดูเละเทะเหลวเป๋วยิ่งกว่าสังขยา!
และเมื่อหยิบไปรวมกับเสียงเเว่วที่กำลังกระซิบว่า สองพรรคต่างขั้วกำลังแอบผนึกกำลังหวังงัดข้อทหารด้วยแล้ว
การหันหน้าเข้าหากันของคนในชาติ หรือการทำให้ “เเผ่นดินที่งดงามคืนกลับมา” ดังในเนื้อเพลงที่ “บิ๊กตู่” หวังตั้งอกตั้งใจแต่งขึ้นมาด้วยตนเองนั้น ยังคงห่างไกลความจริงยิ่งนัก!
ปิดหู ปิดตา ปิดปาก! เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์จากต่างชาติ ที่ระดมถล่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญ ตั้งแต่เริ่มเเรก จนถึงวันทำประชามติ 7 ส.ค. มีข้อจำกัดทางด้านเสรีภาพ ทั้งในระนาบของสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่รายงานข่าว ชาวบ้านประชาชน ไปจนถึงนักวิชาการ อดีตนักการเมือง หรือนักศึกษา มีหลายกรณี ถูกจับกุมคุมขังด้วยเครื่องมือของอำนาจรัฐ ตลอดเกือบ 9 เดือนเต็ม องค์กรระหว่างประเทศ ออกแถลงการณ์ ตักเตือน เสนอแนะ และประณามรัฐบาลไทยหลายต่อหลายครั้ง
คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ภายใต้การนำของ “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้า คสช. ต้องปวดเศียรเวียนกบาลอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง ในฐานะผู้เเต่งตั้ง 21 อรหันต์ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ที่มี “มีชัย ฤชุพันธุ์” ประธาน กรธ. มาเป็น “หัวหน้าเชฟใหญ่” โดยปริยาย
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในสายตาต่างชาติ รัฐบาลทหารมียี่ห้อ หรือภาพลักษณ์ ความเป็นเผด็จการปักป้ายแขวนโชว์บนเวทีโลก เมื่อถูกนำไปเปรียบเทียบกับรัฐบาลทหารของไทยในอดีต หรือรัฐบาลทหารชาติอื่นๆ เช่น พม่า
ความรุนแรง การใช้อำนาจในมือ จำกัดสิทธิประชาชน กับผู้เห็นต่างอย่างไม่เป็นธรรม การมอมเมาโดยใช้สื่อของรัฐ สกัดกั้นการรายงานข่าวสื่อกระแสหลัก ตัดอำนาจอดีตนักการเมือง โดยใช้ปลายกระบอกปืนที่พาดอยู่บนบ่า ดาหน้าปัดป้องทุกสิ่งอย่างที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่น หรือการดำเนินการใดๆ ที่จะกระทบเป้าหมายของรัฐ
ข้อครหาเผด็จการทหาร ตลอด 9 เดือน ของการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ “ซือเเป๋” เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริงตามข้อครหาของต่างชาติ หรือไม่?
หากจะวิเคราะห์อย่างให้ความเป็นธรรมกับรัฐบาล คสช. วัดกันปอนด์ต่อปอนด์ ต้องแยกออกมาเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ก่อน และ หลัง รัฐบาลทหารของ “พม่า” ปล่อยตัวนางอองซานซูจี
1. ก่อนปล่อยตัว นางอองซานซูจี รัฐบาลทหารภายใต้การนำของ “เต็ง เส่ง” ควบคุมทุกอย่างเบ็ดเสร็จ ปิดประเทศ คุมขังหญิงเหล็กอยู่ในบ้านพัก โดยไม่สนใจแรงกดดันจากต่างชาติตลอดหลายสิปปี ยังไม่นับการไร้ซึ่งความหวัง ทั้งด้านสิทธิ เสรีภาพ ความเป็นอยู่ของประชาชนชาวพม่าตาดำๆ ที่ถูกจำกัดชนิดต่ำเตี้ยเรี่ยดิน ถูกกดทับให้หวาดกลัวอยู่ภายใต้เพดานควันปืน
2. หลังนางอองซานซูจีได้รับอิสรภาพ มีการเลือกตั้ง มีการเปิดเสรีภาพให้ชนชาวพม่ารณรงค์ หรือแสดงความเห็นทางการเมืองต่อการเลือกตั้งเต็มที่ พรรคเอ็นแอลดี ประกาศชัยชนะถล่มทลาย “เต็ง เส่ง” ออกบวชไม่ยุ่งการเมือง บรรยากาศความกลัวหายไป ชนชาวพม่าค่อยๆ แหย่ขาก้าวเข้าสู่ประชาธิปไตยเบ่งบาน ต่างชาติแห่ชื่นชมให้การยอมรับ
แล้วพี่ไทยของเราโดย คสช.ล่ะ! เป็นอย่างไร?
เทียบกับห้วงเวลาที่ 1 ของพม่า กับ คสช.ของ “บิ๊กตู่” กับ ขุนพลบูรพาพยัคฆ์ แน่นอนแม้การทำประชามติ จะมีทั้งคำสั่งหัวหน้า คสช. มาตรา 44 หรือเเม้กระทั่ง พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ เป็นร่มห่มคลุมเอาไว้ มีการหิ้วนักศึกษาเข้าซังเต หรือ คำสั่งเรียกแกนนำฝ่ายพลพรรครักนายใหญ่เข้าค่ายอะคาเดมี เพื่อปรับทัศนคติ ปรามความห้าวอยู่บ้าง แถมพักหลังๆ ช่วงโค้งสุดท้ายก่อน 7 ส.ค. ปรากฏการณ์ดาหน้าฉะยับรัฐธรรมนูญยังทำได้เหมือน คสช.ยอมปล่อยฟรีให้ดื้อๆ ชนิด “ซือแป๋มีชัย” ต้องปวดกบาล ปากเปียกปากแฉะ กับเสียงเจ๊าะแจ๊ะจากฝ่ายต้าน โดยเฉพาะประชาธิปัตย์ และเพื่อไทย ถ้าเทียบกันเเล้ว ไม่ถึงขั้นเสียเลือด เสียเนื้อ ปราบปรามประชาชน เหมือนที่รัฐบาลทหารพม่าเคยสร้างความกลัวไว้ในอดีต
แต่ ถ้าข้อ 2 ที่ท้องฟ้าประชาธิปไตยพม่ากำลังเปิดม่าน เบ่งบาน ถึงขั้นนานาชาติคาดการณ์ว่าซูจีจะนำพม่าก้าวกระโดดเป็นเสือตัวฉกาจของเอเชีย รัฐบาลทหารของไทยจึงต้องยอมรับว่าสถานการณ์แตกต่างกันสิ้นเชิง ไทยถูกต่างชาติกดดัน ชำแหละร่างรัฐธรรมนูญมีกลิ่นการวางเกมสืบทอดอำนาจ ผ่านบทบัญญัติคำถามพ่วง เลือกถามประชาชนจะให้สมาชิกวุฒิสภา 250 คน ที่แต่งตั้งมาโดย คสช.มีอำนาจร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วงเปลี่ยนผ่าน 5 ปีแรก หรือไม่
นอกจากนี้ ไทยถูกเพ่งเล็งเรื่องการจำกัดสิทธิ สร้างบรรยากาศความกลัว จากปัญหาการทับซ้อนกันของกฎหมายตาม พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติ กับการผิดคำสั่งหัวหน้า คสช. เทียบแล้วต่างชาติให้ความเชื่อมั่น ยอมรับ การเลือกตั้งของพม่าที่เปิดให้แสดงออกด้านสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่มากกว่า
โดยเฉพาะเมื่อ “เต็ง เส่ง” ยอมยกธงขาว เข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยไม่ต้องมีทหารถือปืนยืนล้อมรอบวัดนั้น สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนชาวพม่า และต่างชาติเป็นอย่างดีว่าดอกผลบนต้นไม้ประชาธิปไตยของ “พม่า” กำลังเบ่งบานอย่างเต็มที่
“พม่า” กับ “ไทย” ใคร “ปิดหู ปิดตา ปิดปาก” ประชาชนระหว่างการเลือกตั้ง หรือการทำประชามติ มากกว่ากัน หรือใคร ใช้ปืน เป็นอุปกรณ์เสริมมากกว่า
ถ้าพูดจาภาษานักเลงไม่มีโปรโมเตอร์คนไหนบ้าบอเอานักมวยที่กำลังรักษาอาการป่วยไปเปรียบกับดาวรุ่งมาแรงแล้วให้ซัดกันหมัดต่อหมัดบนสังเวียนสากล ผลการชกออกหน้าไหนเด็กอมลูกกวาดก็ยังรู้ ดังนั้นจึงขี้เกียจวิเคราะห์หรือฟันธงเพราะมันไม่ยุติธรรมนัก แต่ไม่ได้หมายความว่าต่างชาติ หรือคนในประเทศเองไม่มีสิทธิมอง หรือคาดการณ์
ป่านนี้ คสช.กับฝ่ายการเมืองเองคงรู้กันเเล้วว่าจะเปิดตำราหน้าไหนมาสู้ ตามโรดเเมปที่ “บิ๊กตู่” ประกาศปาวๆ ว่า เลือกตั้งปี 60 ความวุ่นวายจะไม่เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร เป็นสิ่งที่ผู้รักษากฎหมาย มีอำนาจเต็มด้านบริหารอย่าง คสช.เองต้องคิดเเละเตรียมเเผนรับมือต่างหาก
ยากปฏิเสธความเป็นจริง ว่าการเคลื่อนไหวจากทุกองคาพยพ ทั้งฝ่ายหนุน-ต้าน ที่เกิดขึ้นระหว่างทางร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ “ซือแป๋” ทำให้ภาพความปรองดองที่คนไทยหวังให้เกิดขึ้น
ดูเละเทะเหลวเป๋วยิ่งกว่าสังขยา!
และเมื่อหยิบไปรวมกับเสียงเเว่วที่กำลังกระซิบว่า สองพรรคต่างขั้วกำลังแอบผนึกกำลังหวังงัดข้อทหารด้วยแล้ว
การหันหน้าเข้าหากันของคนในชาติ หรือการทำให้ “เเผ่นดินที่งดงามคืนกลับมา” ดังในเนื้อเพลงที่ “บิ๊กตู่” หวังตั้งอกตั้งใจแต่งขึ้นมาด้วยตนเองนั้น ยังคงห่างไกลความจริงยิ่งนัก!