xs
xsm
sm
md
lg

“นายกฯ” ใช้ ม.44 เด้งผู้ว่าฯ สมุทรสาคร พร้อม 22 ขรก.ถูกร้องเรียนประพฤติมิชอบ เพื่อรอตรวจสอบ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“ประยุทธ์” ใช้มาตรา 44 สั่งย้าย 23 ข้าราชการ ที่ถูกร้องเรียนทุจริต - ประพฤติมิชอบ หรือทำให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ให้ไปอยู่หน่วยงานอื่น โดยให้ผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการตรวจสอบให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ “ศอตช.” แจ้งมูลเหตุให้ทราบ หากผิดจริงให้ลงโทษทางวินัยและตามกฎหมายต่อไป ถ้าบริสุทธิ์ให้เยียวยา ส่งกลับตําแหน่งระดับเดิม

วันนี้ (24 มิ.ย.) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 33/2559 เรื่อง ให้ข้าราชการไปปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่น

เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาสําคัญเร่งด่วนของประเทศ และเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบการปฏิบัติราชการอันเป็นแนวทางหนึ่งในการปฏิรูปราชการแผ่นดิน

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557  หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ข้าราชการซึ่งถูกร้องเรียน หรือกล่าวหาว่าปล่อยปละละเลยให้มีการกระทําความผิดเกิดขึ้นในพื้นที่ของตน หรือมีการทุจริต หรือประพฤติมิชอบ หรือดําเนินการหรือไม่ดําเนินการตามอํานาจหน้าที่จนเกิดความเสียหายแก่ทางราชการ และมีมูลอันสมควรตรวจสอบ ระงับการปฏิบัติราชการโดยไม่ขาดจากตําแหน่งเดิม และให้ไปปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่นในสังกัดเดิมเป็นการชั่วคราวตามนัยแห่งคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2558 เรื่อง มาตรการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบและการกําหนดกรอบอัตรากําลังชั่วคราว ดังต่อไปนี้

1.1 นายแมนรัตน์ รัตนสุคนธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย
1.2 นายวาทิต สุวรรณยิ่ง อัยการจังหวัดนาทวี ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานอัยการสูงสุด
1.3 นายมาโนช รัมมะสินธุ์ รองอัยการจังหวัดนาทวี ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานอัยการสูงสุด
1.4 นายนันทวุธ อุตสาหตัน รองอัยการจังหวัดสมุทรสาคร ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานอัยการสูงสุด
1.5 นายทรงวุฒิ โชติมา อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงอุตสาหกรรม
1.6 นางสาวรัตนา พละชัย แรงงานจังหวัดสมุทรสาคร ไปปฏิบัติราชการในสํานักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน
1.7 พล.ต.ท.วีรพงษ์ ชื่นภักดี ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.8 พล.ต.ต.สรไกร พูลเพิ่ม ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.9 พล.ต.ต.กฤษกร พลีธัญญวงศ์ ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.10 พล.ต.ต.วิชาญญ์วัชร์ บริรักษ์กุล ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.11 พ.ต.อ.อรรถวิทย์ สายสืบ ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.12 พ.ต.อ.ภาสกร กลั่นหวาน ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.13 พ.ต.อ.กิตติพงศ์ วิเศษสงวน ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.14 พ.ต.อ.สถิตย์ สังข์ประไพ ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.15 พ.ต.อ.ธรากร เลิศพรเจริญ ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.16 พ.ต.อ.อัมรินทร์ อัมพรมหา ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.17 พ.ต.อ.กิตติภณ แก้วอัมพร ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.18 พ.ต.อ.ทิฆัมพร ศรีสังข์ ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.19 พ.ต.อ.อโนทัย แสงเฟือง ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.20 พ.ต.ท.ศาสตร์ศักดิ์ ชัยประเสริฐ ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการสํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.21 พ.ต.ท.ศุภภัทร สวัสดี ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.22 พ.ต.ต.ทิพากร แก้วเปล่ง ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ
1.23 พ.ต.ต.นันทพล ทองน่วม ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ สํานักงานตํารวจแห่งชาติ

สําหรับลําดับที่ 1.11 ถึง 1.23 ผู้บัญชาการตํารวจแห่งชาติ จะมีคําสั่งให้ไปปฏิบัติราชการในศูนย์ปฏิบัติการ ในกองบัญชาการตํารวจแห่งใดแห่งหนึ่งตามที่เห็นสมควรเพื่อความสะดวกในการตรวจสอบตามข้อ 2 ก็ได้

ข้อ 2 ในการไปปฏิบัติราชการในหน่วยงานอื่นตามข้อ 1 ให้ผู้บังคับบัญชาของส่วนราชการเจ้าสังกัด มอบหมายหน้าที่ความรับผิดชอบแก่เจ้าหน้าที่ผู้นั้นตามกฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องและให้ศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติแจ้งข้อเท็จจริงอันเป็นมูลเหตุแห่งการตรวจสอบการปฏิบัติราชการของผู้นั้นให้หน่วยงานทราบ เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยต้องปรากฏผลให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เพื่อความเป็นธรรมแก่ผู้นั้น หรือเพื่อดําเนินการทางวินัยต่อไป ในกรณีที่ไม่อาจดําเนินการให้แล้วเสร็จภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้รายงานอัยการสูงสุด หรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดของเจ้าหน้าที่ผู้นั้นแล้วแต่กรณี เพื่อขยายเวลาได้ตามความจําเป็นในกรณีที่ผลการตรวจสอบพบว่าผู้ถูกตรวจสอบมีความผิดตามที่ได้รับแจ้ง หรือมีความผิดประการอื่นที่เชื่อมโยงไปถึง ให้ผู้บังคับบัญชาดําเนินการทางวินัยและกฎหมายต่อไป ในกรณีที่ไม่พบว่ามีการกระทําความผิดหรือไม่ถึงขั้นต้องดําเนินการทางวินัย ให้เยียวยาแก่ผู้ถูกตรวจสอบโดยให้ไปดํารงตําแหน่งในระดับเดิมตามความเหมาะสม แต่ให้อยู่นอกพื้นที่เดิมก่อนเข้าสู่กระบวนการแต่งตั้งโยกย้ายในคราวต่อไป เมื่อดําเนินการใด ๆ ตามวรรคนี้แล้ว ให้แจ้งศูนย์อํานวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติเพื่อรวบรวมไว้เป็นข้อมูลด้วย

ข้อ 3 ให้ผู้บังคับบัญชาในทุกหน่วยงานของรัฐ สอดส่องพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดในด้านประสิทธิภาพ สมรรถนะในการปฏิบัติราชการ การอํานวยความสะดวกแก่ประชาชนและการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ในกรณีเห็นว่าควรปรับปรุงแก้ไข ให้ตักเตือน แนะนํา ย้ายออกนอกพื้นที่ สับเปลี่ยนตําแหน่งหน้าที่การงาน หรือหากมีมูลความผิด ให้ดําเนินการทางวินัย โดยคํานึงถึงการให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหน้าที่ผู้นั้น การดูแลรักษาวินัยและกฎหมายตามอํานาจหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาและการรักษาประโยชน์สาธารณะ ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาละเว้นหรือบกพร่องในการปฏิบัติตามข้อนี้ ให้ผู้บังคับบัญชาเหนือชั้นขึ้นไปรายงานให้นายกรัฐมนตรีทราบ

ข้อ 4 คําสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

สั่ง ณ วันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2559
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาต


กำลังโหลดความคิดเห็น