xs
xsm
sm
md
lg

โพลชี้ 6 เดือน AEC พบต่างด้าวเพียบ หวังเวทีไว้ต่อรองโลก แต่เมินใช้เงินสกุลอาเซียน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


“กรุงเทพโพลล์” เผยชาวบ้านพบความเปลี่ยนแปลงหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนครบ 6 เดือน 87.3% เห็นแรงงานต่างด้าวแสดงตนมากขึ้น 42.6% ชี้มีบทบาทในชีวิตประจำวันปานกลาง 32.9% อยากไปสิงคโปร์มากสุด พบคนไทยอยากเที่ยวเขมรแค่ 2.9% ส่วน 58.8% ไม่อยากใช้เงินสกุลอาเซียน 53.6% เฉยๆ ความมีน้ำหนึ่งใจเดียวในภูมิภาค 73.1% หวังมีอำนาจต่อรองโลก

วันนี้ (20 มิ.ย.) ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ กรุงเทพโพลล์ สำรวจความคิดเห็นเรื่องคนไทยคิดเห็นอย่างไร หลังเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนครบ 6 เดือน โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,132 คน พบว่าสิ่งที่คนไทยเห็นความเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 87.3 แรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยแสดงตัวมากขึ้น พบเห็นแรงงานต่างด้าวมากขึ้น ร้อยละ 78.2 มีการช่วยเหลือกันระหว่างประเทศสมาชิกเมื่อประเทศในกลุ่มอาเซียนเกิดภัยพิบัติ ร้อยละ 74.5 มีการแข่งขันทางด้านอาชีพมากขึ้นร้อยละ 67.8 มีความร่วมมือกันระหว่างภาครัฐของประเทศในกลุ่มอาเซียนให้เห็นมากขึ้น ร้อยละ 66.7 การปรับหลักสูตรการศึกษาและเปลี่ยนแปลงการเปิด-ปิดเทอมให้สอดคล้องกับประเทศในกลุ่มอาเซียน ร้อยละ 58.9 ความร่วมมือกันเพื่อป้องกันการก่อการร้าย และการก่ออาชญากรรมข้ามชาติ ร้อยละ 55.6 การเดินทางเข้าออกไปยังประเทศในสมาชิกอาเซียนสะดวกสบายขึ้น ร้อยละ 54.3 มีสินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาขายในประเทศไทยมากขึ้น และร้อยละ 35.8 มีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือ ใน 7 อาชีพ ให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม

เมื่อถามว่า ในอนาคตหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว ประชาคมอาเซียนจะเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน การทำงานมากน้อยเพียงใด ร้อยละ 42.6 มีบทบาทปานกลาง ร้อยละ 26.9 มีบทบาทค่อนข้างมากร้อยละ 15.4 มีบทบาทน้อย ร้อยละ 9.7 มีบทบาทน้อยที่สุด และร้อยละ 5.3 มีบทบาทมากที่สุด เมื่อถามว่าหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัวแล้ว ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียนที่อยากจะเดินทางไปมากที่สุด คือ ร้อยละ 32.9 สิงคโปร์ ร้อยละ 19.6 ลาว ร้อยละ 13 เวียดนาม ร้อยละ 12 พม่า ร้อยละ6.4 มาเลเซีย ร้อยละ 5.5 บรูไน ร้อยละ 4.5 อินโดนีเซีย ร้อยละ 3.2 ฟิลิปปินส์ และร้อยละ 2.9 กัมพูชา

เมื่อถามความเห็นต่อการอยากใช้เงินสกุลเดียวกันทั้ง 10 ประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน เหมือนเงินสกุลยูโร ในสหภาพยุโรป พบว่าร้อยละ 58.8 ไม่อยากใช้ ร้อยละ 33.7 อยากใช้ และร้อยละ 7.5 ไม่แน่ใจ เมื่อถามความรู้สึกความเป็นประชาชนของอาเซียน หรือมีความเป็นหนึ่งเดียวกันในประชาคมอาเซียนของคนไทย ร้อยละ 53.6 ปานกลาง ร้อยละ 18 มาก ร้อยละ 17.3 น้อย ร้อยละ 7.4 น้อยที่สุด และร้อยละ 3.7 มากที่สุด และเมื่อถามความเห็นต่อการรวมกลุ่มประชาคมอาเซียนจะทำให้ภูมิภาคนี้มีบทบาทสำคัญและมีอำนาจต่อรองกับประชาคมโลกมากขึ้นใช่หรือไม่ ร้อยละ 73.1 ใช่ ร้อยละ 14.4 ไม่ใช่ และร้อยละ 12.5 ไม่แน่ใจ


กำลังโหลดความคิดเห็น