เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินวินิจฉัยร่างรัฐธรรมนูญ ม.54 และ ม.178 รวมทั้ง พ.ร.บ.ประชามติ ขัดรัฐธรรมนูญชั่วคราวและกติกาสากลหรือไม่ อ้างต่างชาติบอกรัฐต้องหนุนเรียนฟรีถึง ม.6 จวกส่อปล่อยทรัพยากรแผ่นดินเป็นของเอกชนง่าย สับกฎหมายโหวตเลือกปฏิบัติ
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดยนางบุษยมาศ รักสยาม เข้ายื่นร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านนายดนัย จันทิม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 และมาตรา 178 รวมทั้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2559 และขัดต่อกติกาสาลระหว่างประเทศหรือไม่
โดยนางบุษยมาศกล่าวว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 ที่ระบุให้รัฐสนับสนุนการศึกษาในการเรียนฟรีถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ตามกติกาสากลนั้นระบุว่ารัฐต้องสนับสนุนจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนมาตรา 178 ที่บัญญัติว่าการทำสัญญาใดๆ ที่มีผลผูกพันต่อทรัพยากรธรรมชาติ อาณาเขตดินแดนไทย หากรัฐสภาไม่พิจารณาแล้วเสร็จภายใน 60 วัน ถือว่ารัฐสภาเห็นชอบนั้น มาตราดังกล่าวตราให้ทรัพยากรแผ่นดินเป็นของเอกชนโดยง่ายด่าย แต่ไม่ได้พูดถึงประชาชนที่จะได้ประโยชน์ รวมทั้งมาตราดังกล่าวยังไม่ได้ระบุให้ประเทศไทยต้องดำเนินตามกติกาสากลตามที่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติที่ระบุว่าทรัพยากรของประเทศไทยต้องสร้างความมั่งคั่งให้ประชาชนในประเทศ
นางบุษยมาศกล่าวอีกว่า ส่วนกรณี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ที่ทางเครือข่ายประชาชนเห็นว่าเป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติ ห้ามประชาชนแสดงความเห็นขัดต่ออธิปไตย หลักนิติธรรม และรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 4 ดังนั้นจึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป
วันนี้ (30 พ.ค.) ที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ นำโดยนางบุษยมาศ รักสยาม เข้ายื่นร้องเรียนผู้ตรวจการแผ่นดินผ่านนายดนัย จันทิม ผู้อำนวยการสำนักตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 และมาตรา 178 รวมทั้ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ 2559 ขัดต่อรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2559 และขัดต่อกติกาสาลระหว่างประเทศหรือไม่
โดยนางบุษยมาศกล่าวว่า ในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 54 ที่ระบุให้รัฐสนับสนุนการศึกษาในการเรียนฟรีถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่ตามกติกาสากลนั้นระบุว่ารัฐต้องสนับสนุนจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 ส่วนมาตรา 178 ที่บัญญัติว่าการทำสัญญาใดๆ ที่มีผลผูกพันต่อทรัพยากรธรรมชาติ อาณาเขตดินแดนไทย หากรัฐสภาไม่พิจารณาแล้วเสร็จภายใน 60 วัน ถือว่ารัฐสภาเห็นชอบนั้น มาตราดังกล่าวตราให้ทรัพยากรแผ่นดินเป็นของเอกชนโดยง่ายด่าย แต่ไม่ได้พูดถึงประชาชนที่จะได้ประโยชน์ รวมทั้งมาตราดังกล่าวยังไม่ได้ระบุให้ประเทศไทยต้องดำเนินตามกติกาสากลตามที่ได้เป็นสมาชิกของสหประชาชาติที่ระบุว่าทรัพยากรของประเทศไทยต้องสร้างความมั่งคั่งให้ประชาชนในประเทศ
นางบุษยมาศกล่าวอีกว่า ส่วนกรณี พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ ที่ทางเครือข่ายประชาชนเห็นว่าเป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติ ห้ามประชาชนแสดงความเห็นขัดต่ออธิปไตย หลักนิติธรรม และรัฐธรรมนูญชั่วคราว มาตรา 4 ดังนั้นจึงขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยต่อไป