xs
xsm
sm
md
lg

เครือข่ายผู้ปกครองฯ ร้องผู้ตรวจฯ สอบระบบการศึกษา จัดการไม่เท่าเทียบ ขัด รธน.

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online


เครือข่ายประชาชนฯ พร้อมเครือข่ายผู้ปกครองฯ ร้องผู้ตรวจการแผ่นดินสอบระบบการศึกษา ชี้จัดการไม่เท่าเทียม-ระบบคัดเด็ก-เก็บแปะเจี๊ยะ เข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ-พ.ร.บ.การศึกษา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (23 ก.พ.) เครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ และเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ นำโดย พ.ท.แพทย์หญิง กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี พร้อมสมาชิก เข้ายื่นคำร้องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน ผ่านนายธาวิน อินทร์จำนงค์ รองเลขาธิการผู้ตรวจฯ ขอให้วินิจฉัยการปฎิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีการจัดระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน และกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกผู้เข้าศึกษาในระดับต่างๆ อย่างไม่เท่าเทียม ซึ่งอาจลิดรอนโอกาสเข้าถึงการศึกษาต่อผู้ยากไร้ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 49 ที่บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และมาตรา 80 การพัฒนาคุณภาพและมาตราฐานการศึกษาในทุกระดับ ตต้องสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้ง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 แก้ไข 2545 และ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก 2546

พ.ท.แพทย์หญิง กมลพรรณกล่าวว่า ในเรื่องคุณภาพการศึกษา ไม่ว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย การใช้คะแนนโอเน็ตในการสอบเข้าเรียนที่สูงขึ้นนั้นไม่ได้ทำตาม พ.ร.บ.การศึกษา มาตรา 22 และ 24 และรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 และ 80 เพราะให้เรียนเหมือนๆ กัน ไม่ได้ตามวัย ศักยภาพ และความถนัด ความสนใจของผู้เรียน ทั้งที่เด็กไม่ชอบ ไม่ถนัด ซึ่งเห็นได้จากการประเมินผลนักเรียนนานาชาติของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาเศรษฐกิจที่พบว่าระบบการศึกษาไทยตกต่ำ

ส่วนโอกาสทางการศึกษา การที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้จัดการศึกษาฟรี มีคุณภาพต่อผู้ยากไร้ แต่การที่แต่ละโรงเรียนใช้เกณฑ์คะแนนการสอบโดยคัดเลือกเด็กเก่ง โดยเฉพาะโรงเรียนดีเด่นดังของรัฐ และการคัดเด็กออกระหว่างช่วงชั้นนั้นเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.การศึกษา ซึ่งโรงเรียนทุกโรงเรียนจะต้องรับเด็กได้ทั้งหมด ไม่มีสิทธิที่จะคัดเด็กออก เพราะเป็นโรงเรียนของรัฐบาล รวมทั้งการเก็บเงินแปะเจี๊ยะที่ไม่ควรเกิดขึ้น

ทางเครือข่ายประชาชนปกป้องประเทศ และเครือข่ายผู้ปกครองแห่งชาติ จึงขอให้ผู้ตรวจฯ ไต่สวน และหากพบว่าไม่ได้การตามหลักนิติธรรม รัฐธรรมนูญ ขอให้แจ้งไปยังรัฐบาลเพื่อแก้ไขโดยเร่งด่วน ยกเลิกคำสั่งเกณฑ์การคัดเลือกเด้กเข้าเรียนในระดับต่างๆ ด้วยวิธีสอบคุดเลือกในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน หากมีจำนวนเด็กเกินขอให้ใช้วิธีการจับสลาก ยกเลิก และปรับปรุงแก้ไขเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบบเหมารวมแบบเดียว แต่ให้ทุกภาคมีส่วนร่วม พัฒนาหลักการเด็ก ตามวัย และศึกยภาพ ความถนัดและความสนใจขอผู้เรียนให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคม







กำลังโหลดความคิดเห็น