กลุ่มผู้ประกอบการเหล็กกว่า 30 บริษัท ยื่นหนังสือ “ประยุทธ์” เร่งป้องกันนำเข้าเหล็กเส้นไม่เป็นธรรมจากจีน เหตุมีการยืนยันช่วงแก้ไขมาตรฐาน มอก. จะยังไม่มีการนำเข้า ชี้กระทบอุตสาหกรรมเหล็กจนเกิดสภาวะล้นตลาด แถมนำเข้าราคาต่ำ ส่งผลต่อการค้าที่ไม่เป็นธรรม ห่วงเรื่องคุณภาพ กระทบการลงทุนกว่า 1.5 แสนล้าน จี้ระงับทบทวนออกใบอนุญาตนำเข้า
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่ห้องรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงาน ก.พ. กลุ่มผู้ประกอบการผลิตสินค้าเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตไทยกว่า 30 บริษัทเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเร่งป้องกันการนำเข้าเหล็กเส้นอย่างไม่เป็นธรรมจากประเทศจีน ก่อนหน้านี้ได้มีการยื่นหนังสือมาแล้วเมื่อเดือนกันยายน 57 ซึ่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานผลิภัณฑ์เหล็กเส้น โดยกำหนดค่าส่วนประกอบทางเคมีเพิ่มเติม เป็นกรณีเร่งด่วนให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2558 แต่ขณะนี้ผ่านมากว่า 1 ปี แต่ สมอ.ยังปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นฯ โดยห้ามการเจือธาตุอัลลอยด์ในผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นให้แล้วเสร็จ
โดยระหว่างที่แก้ไขมาตรฐาน มอก.ไม่แล้วเสร็จ ทาง สมอ.กลับมีการออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับให้กับบางบริษัทเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งที่มีการยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นฯ ในระหว่างการแก้ไขมาตรฐานดังกล่าว จากปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเหล็กเส้นก่อสร้างภายในของประเทศซึ่งอยู่ในภาวะล้นตลาด เนื่องจากมีกำลังการผลิตเหล็กเส้นที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก.รวมกันอยู่ถึง 7 ล้านตันต่อปี ขณะที่ความต้องการภายในประเทศมีเพียง 2 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ทางตัวแทนผู้ประกอบการผลิตเหล็กเส้นเห็นว่าไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดๆ ที่ทาง สมอ.จะออกใบอนุญาตเพิ่มเติมเพื่อนำเข้าเหล็กเส้นเพื่อทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศและยังถือว่าการนำเข้าไม่มีความเป็นธรรมทางการค้าอีกด้วย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากจีนมีราคาที่ต่ำผิดปกติประมาณ 10 บาทต่อกิโลกรัม แต่ต้นทุนในการผลิตอยู่ที่ 13บาทต่อกิโลกรัม มองว่าที่ราคาอาจจะต่ำกว่าต้นทุนอาจเกิดจากผู้ผลิตจีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนในการส่งออกด้วยการคืนภาษีร้อยละ 13 และผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจจึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นการช่วยเหลือดำเนินกิจการ ทำให้สร้างความได้เปรียบในด้านต้นทุนผลิตสินค้า อีกทั้งการนำเข้าเหล็กอัลลอยด์ในประเทศไทยยังได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าอีกร้อยละ 5 ที่ภาครัฐได้ยกเว้นสำหรับเหล็กเกรดพิเศษ แต่เหล็กเส้นก่อสร้างไม่ได้เป็นเหล็กเกรดพิเศษ จึงทำให้ส่งผลต่อการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ดังนั้น ทางตัวแทนมีความกังวลว่า หากรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กเส้นภายในประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท ผู้ประกอบการจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนใบอนุญาตนำเข้าเหล็กเส้นของผู้นำเข้าที่ได้ออกใบอนุญาตไปแล้ว และอยากให้มีการระงับการออกใบอนุญาตนำเข้าเพิ่มเติม และเร่งรัดการออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตในเรื่องส่วนประกอบทางเคมี รวมถึงอยากให้มีการทบทวนขั้นตอนการออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับ โดยควรกำหนดให้ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรมก่อนที่จะมีการออกใบอนุญาตและใบอนุญาตควรจะมีการกำหนดวันหมดอายุให้เป็นแบบเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ตัวแทนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นมีความกังวลในเรื่องมาตรฐานของเหล็กเส้นที่นำเข้าจากประเทศจีน เนื่องจากไม่ทราบที่มาที่ชัดเจน จึงกังวลว่าอาจมีผลต่อความปลอดภัยต่อตัวอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง และอาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน
วันนี้ (15 ต.ค.) ที่ห้องรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงาน ก.พ. กลุ่มผู้ประกอบการผลิตสินค้าเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตไทยกว่า 30 บริษัทเข้ายื่นหนังสือร้องเรียนถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ช่วยเร่งป้องกันการนำเข้าเหล็กเส้นอย่างไม่เป็นธรรมจากประเทศจีน ก่อนหน้านี้ได้มีการยื่นหนังสือมาแล้วเมื่อเดือนกันยายน 57 ซึ่งอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เคยได้สั่งการให้สำนักงานมาตรฐานผลิตอุตสาหกรรม (สมอ.) เร่งปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานผลิภัณฑ์เหล็กเส้น โดยกำหนดค่าส่วนประกอบทางเคมีเพิ่มเติม เป็นกรณีเร่งด่วนให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2558 แต่ขณะนี้ผ่านมากว่า 1 ปี แต่ สมอ.ยังปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นฯ โดยห้ามการเจือธาตุอัลลอยด์ในผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นให้แล้วเสร็จ
โดยระหว่างที่แก้ไขมาตรฐาน มอก.ไม่แล้วเสร็จ ทาง สมอ.กลับมีการออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับให้กับบางบริษัทเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ทั้งที่มีการยืนยันมาตลอดว่าจะไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นฯ ในระหว่างการแก้ไขมาตรฐานดังกล่าว จากปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตเหล็กเส้นก่อสร้างภายในของประเทศซึ่งอยู่ในภาวะล้นตลาด เนื่องจากมีกำลังการผลิตเหล็กเส้นที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน มอก.รวมกันอยู่ถึง 7 ล้านตันต่อปี ขณะที่ความต้องการภายในประเทศมีเพียง 2 ล้านตันต่อปีเท่านั้น ทางตัวแทนผู้ประกอบการผลิตเหล็กเส้นเห็นว่าไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นใดๆ ที่ทาง สมอ.จะออกใบอนุญาตเพิ่มเติมเพื่อนำเข้าเหล็กเส้นเพื่อทำลายอุตสาหกรรมภายในประเทศและยังถือว่าการนำเข้าไม่มีความเป็นธรรมทางการค้าอีกด้วย เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากจีนมีราคาที่ต่ำผิดปกติประมาณ 10 บาทต่อกิโลกรัม แต่ต้นทุนในการผลิตอยู่ที่ 13บาทต่อกิโลกรัม มองว่าที่ราคาอาจจะต่ำกว่าต้นทุนอาจเกิดจากผู้ผลิตจีนได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนในการส่งออกด้วยการคืนภาษีร้อยละ 13 และผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังเป็นรัฐวิสาหกิจจึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นการช่วยเหลือดำเนินกิจการ ทำให้สร้างความได้เปรียบในด้านต้นทุนผลิตสินค้า อีกทั้งการนำเข้าเหล็กอัลลอยด์ในประเทศไทยยังได้รับการยกเว้นอากรขาเข้าอีกร้อยละ 5 ที่ภาครัฐได้ยกเว้นสำหรับเหล็กเกรดพิเศษ แต่เหล็กเส้นก่อสร้างไม่ได้เป็นเหล็กเกรดพิเศษ จึงทำให้ส่งผลต่อการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม
ดังนั้น ทางตัวแทนมีความกังวลว่า หากรัฐบาลไม่ให้ความช่วยเหลือจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กเส้นภายในประเทศที่มีมูลค่าการลงทุนมากกว่า 1.5 แสนล้านบาท ผู้ประกอบการจึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนใบอนุญาตนำเข้าเหล็กเส้นของผู้นำเข้าที่ได้ออกใบอนุญาตไปแล้ว และอยากให้มีการระงับการออกใบอนุญาตนำเข้าเพิ่มเติม และเร่งรัดการออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตในเรื่องส่วนประกอบทางเคมี รวมถึงอยากให้มีการทบทวนขั้นตอนการออกใบอนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์มาตรฐานบังคับ โดยควรกำหนดให้ต้องผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากคณะกรรมการมาตรฐานอุตสาหกรรมก่อนที่จะมีการออกใบอนุญาตและใบอนุญาตควรจะมีการกำหนดวันหมดอายุให้เป็นแบบเดียวกับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อย่างไรก็ตาม ตัวแทนผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์เหล็กเส้นมีความกังวลในเรื่องมาตรฐานของเหล็กเส้นที่นำเข้าจากประเทศจีน เนื่องจากไม่ทราบที่มาที่ชัดเจน จึงกังวลว่าอาจมีผลต่อความปลอดภัยต่อตัวอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง และอาจจะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อชีวิตและทรัพย์สิน