xs
xsm
sm
md
lg

ขีดความสามารถแข่งขันไทย ปี 58 ดิ่ง 1 ตำแหน่ง เหตุเสถียรภาพรัฐบาลบั่นทอน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

ผลสำรวจผู้ประกอบการไทยและนักธุรกิจไทย ถึงดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2558
เปิดตัวเลขขีดความสามารถแข่งขันของไทย ก.พ.- พ.ค.ปี 2558 ดิ่งลง 1 ตำแหน่ง จากอันดับ 31 มาที่อันดับ 32 ของโลก เผยอยู่ที่อันดับ 6 ของอาเซียน “เวียดนาม” ยังตามมาติด ๆ หวั่นถูกแซง ระบุไทยดิ่ง เหตุถูกหั่นเครดิตเรตติ้ง - เสถียรภาพรัฐบาลบั่นทอน เสนอรัฐเร่งนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรมภายใน 2 ปี

วันนี้ (1 ต.ค.) มีรายงานว่า นายพสุ เดชะรินทร์ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ WEF (World Economic Forum) เปิดเผยผลสำรวจผู้ประกอบการไทยและนักธุรกิจไทย ถึงดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก (Global Competitiveness Index : GCI) ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2558

นายพสุ กล่าวว่า ที่ผ่านมา พบว่า ภาพสะท้อนความสามารถการในการแข่งขันของประเทศไทยในปี 2558 ไทยอยู่ในอันดับที่ 32 ของโลก (จากปี 2557 อยู่อันดับที่ 31 )และอยู่ในอันดับที่ 6 ในกลุ่มประเทศอาเซียน+3 ทั้งนี้ แม้ขีดความสามารถในหลายด้านของไทยจะมีเข้มแข็ง หากหลังจากนี้ ประเทศไทยไม่เร่งที่จะผลักดันนโยบาย สร้างความเชื่อถือให้กับประเทศ พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถให้มีความเข้มแข็ง และพัฒนาด้านที่ยังด้อยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โอกาสด้านขีดความสามารถของไทย อาจจะถูกปรับลดอันดับลงจากปัจจุบันได้ภายใน 2 ปีนี้ และประเทศที่น่ากลัวที่จะเป็นคู่แข็งของไทยด้านการแข่งขันคือเวียดนาม ที่แนวโน้มการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของเวียดนามดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยขีดความสามารถของไทยที่ยังมีความเข้มแข็ง และสามารถแข็งขันกับต่างประเทศได้นั้น เป็นในเรื่องของงานด้านนวัตกรรม ความพร้อมทางเทคโนโลยี หากเทียบในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา เช่น งานด้านสาธารณูปโภค ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจมหภาค ด้านขนาดของตลาด ด้านการพัฒนาตลาดการเงิน เป็นต้น ซึ่งขีดความสามารถเหล่านี้ยังส่งเสริมให้ประเทศไทยยังมีความเข้มแข็ง และสามารถแข็งขันกับต่างประเทศได้ รวมทั้งจุดแข็งของไทยในเรื่องของการดึงนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในไทย ซึ่งประเทศไทยสามารถตอบโจทย์ให้กับนักลงทุนได้ในหลายด้าน ทั้งเรื่องของกฎระเบียบ กติกา ขั้นตอนต่าง ๆ อีกทั้งไทยยังพร้อมรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีจากต่างประเทศเพื่อนำมาพัฒนาภายในได้อีกด้วย

“แต่สิ่งที่อาจจะเป็นเรื่องที่ไทยต้องเร่งพัฒนาและปรับปรุงมากที่สุด คือ เรื่องของการนำเทคโนโลยี การวิจัย เข้ามาใช้ในระบบธุรกิจมากขึ้น พร้อมทั้งนำมาพัฒนากับระบบราชการ และรัฐบาล เพราะปัจจุบันจากประเมินการนำเรื่องนี้มาใช้ ยังมองว่าอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ และเพิ่มขีดความสามารถหรือไม่ และเห็นควรที่จะเร่งสร้างความน่าเชื่อถือของประเทศให้กลับมาโดยเร็ว โดยเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่จะเพิ่มขีดความสามารถให้กับประเทศจากการเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติได้ พร้อมทั้งเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งทางรถไฟ ซึ่งหากเปรียบเทียบในหลายประเทศไทยนั้นยังด้อย และต้องการพัฒนาให้ได้มาตรฐานเทียบเท่าต่างประเทศเป็นอย่างมาก”

นอกจากนี้ การที่จะเพิ่มขีดความสามารถของไทยได้เพิ่มเติมไปได้นั้น ยังมีเรื่องของการที่รัฐบาลนั้นจะต้องเร่งดำเนินการด้านนโยบายต่าง ๆ ที่ประกาศออกมา ทั้งเรื่องของการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง การลงทุนโครงสร้างระบบขนส่ง การสนับสนุนผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี ให้เห็นเป็นรูปธรรมโดยเร็ว เพื่อส่งเสริมให้ประเทศเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขีนในตลาดโลกได้ หากสามารถเริ่มดำเนินการตั้งแต่ภายใต้งบประมาณปี 2559 ได้ก็จะยิ่งเป็นผลดี และดำเนินการต่อเนื่องภายใน 2 ปี เชื่อว่าอันดับขีดความสามารถของไทยจะกลับมาดีขึ้น อาจจะปรับมาอยู่ในอันดับที่ 30 - 31 ก็ได้

ขณะที่นโยบายระยะยาวที่อาจจะต้องใช้เวลาในการพัฒนานั้น ก็คงเป็นเรื่องของการพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือระบบไอซีที ซึ่งสามารถรอได้ แต่อย่างไรก็ตาม หากภายในระยะเวลาดังกล่าวไทยไม่มีการพัฒนาและการส่งเสริมและพัฒนายังมีความล่าช้า อันดับขีดความสามารถของไทยก็อาจจะมาอยู่ที่ 35 ก็มีโอกาสเป็นไปได้

ส่วนประเทศที่น่ากังวลว่าจะเข้ามาเป็นคู่แข็งของไทย คือ ประเทศเวียดนาม ที่แนวโน้มขีดความสามารถการแข่งขันในตลาดโลกมีมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีการพัฒนาขีดความสามารถด้านใด ในประเทศเวียดนามก็มีการพัฒนาด้วยเช่นกัน พร้อมทั้ง เวียดนาม ยังสามารถดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศได้อย่างต่อเนื่องด้าย และอีกประเทศ คือ มาเลเซีย แต่ขณะนี้อาจจะชะลอขีดความสามารถภายในประเทศไปบ้าง เนื่องจากปัญหาภายใน ทั้งเรื่องของเศรษฐกิจ ค่าเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ดี จากการสำรวจจากผู้ประกอบการ นักธุรกิจของไทย ยังต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐบาล เร่งดำเนินการนโยบายสร้างความเชื่อมั่นของประเทศให้กับต่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ต่อผู้ประกอบการและนักลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ก็ต้องการให้ความสำคัญเรื่องของงานวิจัย นวัตกรรม เข้ามาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถของประเทศอีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่น่าสนใจที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการความสามารถของการแข่งขันไทย คือสัดส่วนมูลค่าการส่งออกต่อค่า GDP ที่มีค่าสูงถึง 75.6% ได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 18 จาก 140 ประเทศทั่วโลก ซึ่งอันดับดีขึ้น ส่วนตลาดต่างประเทศได้รับการประเมิน 6 คะแนน คิดเป็นอันดับที่ 14 และอันดับที่ 5 ในกลุ่มประเทศ อาเซียน +3 รองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ ส่วนทางด้านรัดับการพัฒนาของธุรกิจ ประเทศไทยได้รับการจัดอันดับอยู่ที่ 35 โดยเป็นที่หนึ่งของประเทศตลาดใหม่และกำลังพัฒนาในเอเชีย นับว่าเป็นการสะท้อนศักยภาพของประเทศไทยด้านความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจได้อย่างดี

ส่วนดัชนีความสามารถการแข่งขันระดับโลก ยังมีการรายงานถึงอุปสรรคในการประกอบธุรกิจของแต่ละประเทศ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการบั่นทอน ขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบในปี 2558 นี้ของประเทศไทย 3 อันดับ ได้แก่ อันดับ 1. เสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งดีขึ้ยจากปีที่แล้ว โดยมีคะแนนลดลงจาก 21 เหลือเพียง 18.1 คะแนน อันดับ 2. การคอร์รัปชัน ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด จาก 21.4 เหลือเพียง 12.5 คะแนน และอันดับ 3. ความไม่มีประสิทธิภาพนกมรบริหารของหน่วยงานรัฐ ลดลงจาก 12.7 เหลือ 12.3 คะแนน ถือเป็นส่วนสำคัญในการดึงดูดนักลงทุน นักธุรกิจต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย






กำลังโหลดความคิดเห็น