ศาลปกครองกลางพิพากษายกฟ้อง คดีอดีอธิการบดี มรภ.จันทรเกษม ฟ้อง สภามหาวิทยาลัย และ นายกสภาฯ ออกคำสั่งมิชอบขับพ้นตำแหน่ง ปี 54 หลังสั่งงดประชุมโดยมิชอบ ขวางการปฏิบัติงาน ชี้รวบรวมข้อมูลก่อนถอดถอนอย่างรอบด้านแล้ว
วันนี้ (7 ส.ค.) ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ นายจำกัด ชุมพลวงศ์ ตุลาการศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวน และองค์คณะ มีคำพิพากษายกฟ้อง คดีหมายเลขดำ 347/2554 ที่ นายสุชาติ เมืองแก้ว อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี 2552 ยื่นฟ้อง สภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เรื่องออกคำสั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จากกรณีที่ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ได้มีคำสั่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ 2/2554 ลงวันที่ 25 ม.ค. 54 ให้ นายสุชาติ ผู้ฟ้อง พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 54 เป็นต้นไป โดยให้เหตุผลว่า นายสุชาติ ผู้ฟ้อง สั่งงดการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 54 เกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของอธิการบดี โดยมิชอบด้วยข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พ.ศ. 2547 ข้อ 6 และ 8 (1) อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และมีการบริหารงาน การปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หย่อนความสามารถ ซึ่งผู้ฟ้องเห็นว่า การมีคำสั่งดังกล่าวกระทบต่อสิทธิหน้าที่ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องโต้แย้งชี้แจง แสดงพยานหลักฐาน และไม่เคยเรียกผู้ฟ้องไปสอบถามหรือให้รับทราบข้อกล่าวหาเรื่องที่มีการตรวจสอบ ผู้ฟ้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 54 ที่ให้ผู้ฟ้องพ้นจากตำแหน่งอธิการบดี และคำสั่งของนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มีตามมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 54 ด้วย
โดยศาลปกครองกลาง พิเคราะห์ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น สภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีหนังสือวันที่ 17 ม.ค. 54 แต่งตั้งบุคคล 4 คนเป็นที่ปรึกษาและกรรมการ ตามอำนาจ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งการทำหน้าที่ตรวจสอบเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีลักษณะรวบรวมพยานหลักฐาน ประมวลเสนอต่อผู้ถูกฟ้อง เพื่อให้ใช้อำนาจตามกฎหมาย มีข้อมูลในการพิจารณาและลงมติเรื่องการให้ผู้ฟ้องพ้นจากตำแหน่งอธิการบดี อย่างรอบด้าน และครบถ้วน
ส่วนที่ผู้ฟ้องอ้างว่า ในการประชุมของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 54 ที่มีการลงมติให้ผู้ฟ้องพ้นจากตำแหน่งนั้น ไม่ได้มีการแจ้งระเบียบวาระให้ทราบล่วงหน้าก่อนการประชุม จึงขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พ.ศ. 2547 นั้น ศาลเห็นว่า เมื่อกรณีเกี่ยวกับเรื่องการทำหน้าที่ของอธิการบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดที่รับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงมีเหตุผลและความเร่งด่วนตามลักษณะพิเศษของเรื่องที่ นายกสภามหาวิทยาลัย ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ในฐานะประธาน จะนำเรื่องเสนอเข้าสู่วาระการประชุมล่วงหน้าได้ กรณีจึงไม่ขัดต่อข้อบังคับ ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้อง ที่ให้ผู้ฟ้อง พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีนั้น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลางนี้ เป็นการตัดสินของศาลชั้นต้น ซึ่งตามกฎหมายคู่ความ มีสิทธิคัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุดได้อีกภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา
วันนี้ (7 ส.ค.) ที่ศาลปกครองกลาง ถ.แจ้งวัฒนะ นายจำกัด ชุมพลวงศ์ ตุลาการศาลปกครองกลาง เจ้าของสำนวน และองค์คณะ มีคำพิพากษายกฟ้อง คดีหมายเลขดำ 347/2554 ที่ นายสุชาติ เมืองแก้ว อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ปี 2552 ยื่นฟ้อง สภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เป็นผู้ถูกฟ้องที่ 1 - 2 เรื่องออกคำสั่งโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จากกรณีที่ นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ได้มีคำสั่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่ 2/2554 ลงวันที่ 25 ม.ค. 54 ให้ นายสุชาติ ผู้ฟ้อง พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 26 ม.ค. 54 เป็นต้นไป โดยให้เหตุผลว่า นายสุชาติ ผู้ฟ้อง สั่งงดการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 12 ม.ค. 54 เกี่ยวกับการบริหารงานและการปฏิบัติหน้าที่ของอธิการบดี โดยมิชอบด้วยข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พ.ศ. 2547 ข้อ 6 และ 8 (1) อันเป็นการขัดขวางการปฏิบัติงานของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และมีการบริหารงาน การปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง หย่อนความสามารถ ซึ่งผู้ฟ้องเห็นว่า การมีคำสั่งดังกล่าวกระทบต่อสิทธิหน้าที่ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ฟ้องโต้แย้งชี้แจง แสดงพยานหลักฐาน และไม่เคยเรียกผู้ฟ้องไปสอบถามหรือให้รับทราบข้อกล่าวหาเรื่องที่มีการตรวจสอบ ผู้ฟ้องจึงขอให้ศาลเพิกถอนมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 54 ที่ให้ผู้ฟ้องพ้นจากตำแหน่งอธิการบดี และคำสั่งของนายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ที่มีตามมติสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 54 ด้วย
โดยศาลปกครองกลาง พิเคราะห์ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว เห็นว่า ในการตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น สภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีหนังสือวันที่ 17 ม.ค. 54 แต่งตั้งบุคคล 4 คนเป็นที่ปรึกษาและกรรมการ ตามอำนาจ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 ซึ่งการทำหน้าที่ตรวจสอบเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นต่อสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 1 มีลักษณะรวบรวมพยานหลักฐาน ประมวลเสนอต่อผู้ถูกฟ้อง เพื่อให้ใช้อำนาจตามกฎหมาย มีข้อมูลในการพิจารณาและลงมติเรื่องการให้ผู้ฟ้องพ้นจากตำแหน่งอธิการบดี อย่างรอบด้าน และครบถ้วน
ส่วนที่ผู้ฟ้องอ้างว่า ในการประชุมของสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ผู้ถูกฟ้องที่ 1 เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 54 ที่มีการลงมติให้ผู้ฟ้องพ้นจากตำแหน่งนั้น ไม่ได้มีการแจ้งระเบียบวาระให้ทราบล่วงหน้าก่อนการประชุม จึงขัดต่อข้อบังคับมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมว่าด้วยการประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม พ.ศ. 2547 นั้น ศาลเห็นว่า เมื่อกรณีเกี่ยวกับเรื่องการทำหน้าที่ของอธิการบดี ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดที่รับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย ดังนั้น จึงมีเหตุผลและความเร่งด่วนตามลักษณะพิเศษของเรื่องที่ นายกสภามหาวิทยาลัย ผู้ถูกฟ้องที่ 2 ในฐานะประธาน จะนำเรื่องเสนอเข้าสู่วาระการประชุมล่วงหน้าได้ กรณีจึงไม่ขัดต่อข้อบังคับ ดังนั้น คำสั่งของผู้ถูกฟ้อง ที่ให้ผู้ฟ้อง พ้นจากตำแหน่งอธิการบดีนั้น จึงเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำพิพากษาของศาลปกครองกลางนี้ เป็นการตัดสินของศาลชั้นต้น ซึ่งตามกฎหมายคู่ความ มีสิทธิคัดค้านยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาต่อศาลปกครองสูงสุดได้อีกภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา