xs
xsm
sm
md
lg

2 สปช.สื่อสารมวลชน เห็นพ้อง “แก้ พ.ร.บ.กสทช.” หวั่นคุณสมบัติ กสทช.เหมือนหมิ่นศักดิ์ศรีนักวิชาชีพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

นายนิพนธ์ นาคสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
2 สปช. ด้านปฏิรูปการสื่อสารมวลชน เห็นพ้อง “แก้ พ.ร.บ.กสทช.” “นิพนธ์ นาคสมภพ” ชี้ กำหนดคุณสมบัติ กสทช. เป็นการหมิ่นศักดิ์ศรีของนักวิชาชีพ เสนอ แก้ มาตรา 7 จะได้คนดีที่มีฝีมือมาเลือกอย่างหลากหลาย และผู้ร่างไม่ถูกตำหนิว่าหมิ่นศักดิ์ศรีของนักวิชาชีพ หากไม่แก้ไขก็จะมี “คนแค่ 3 กลุ่มใน กสทช.” แนะใช้ระบบสกอร์การ์ด เป็นเครื่องมือสรรหา ด้าน สปช. “ประสิทธิ์ ปทุมารักษ์” ย้ำ “มีแนวโน้มจะให้อำนาจสื่อสารมวลชนดูแลกันเองมากขึ้น”

“การกำหนดคุณสมบัติ กสทช. เป็นการหมิ่นศักดิ์ศรีของนักวิชาชีพ” เป็นคำนิยามที่ นายนิพนธ์ นาคสมภพ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ความเห็นต่อกระบวนการสรรหา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ใน พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.) ซึ่งเป็นฉบับปัจจุบัน

สาเหตุที่ให้คำนิยามเช่นนี้ นายนิพนธ์ กล่าวว่า การดำเนินการกิจการโทรทัศน์และวิทยุ อาศัยผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์อย่างน้อย ด้านเทคโนโลยี การผลิตรายการ และการบริหารธุรกิจ แต่คุณสมบัติของ กสทช. ตาม พ.ร.บ.กสทช. พ.ศ. 2553 กำหนดให้มีเพียง 1 คน และเป็นที่ว่างานมาแล้ว 12 เดือน

หากดูตามมาตราแล้ว “มาตรา 6 “ องคประกอบ คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ ที่ให้มีคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน และกิจการโทรคมนาคมแหงชาติ เรียกโดยยอวา “กสทช.” จํานวนสิบเอ็ดคน ประกอบด้วย (1) ผูที่มีผลงาน หรือมีความรู และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณด้านกิจการกระจายเสียง จํานวนหนึ่งคน และกิจการโทรทัศน จํานวนหนึ่งคน (2) ผูที่มีผลงานหรือมีความรู และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณด้านกิจการโทรคมนาคมจํานวนสองคน”

ขณะที่ “มาตรา 7” กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะต้องห้ามดังตอไปนี้(15) ไมเปนหรือเคยเปนกรรมการ ผูจัดการ ผูบริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผูถือหุนหรือหุนสวนในบริษัทหรือห้างหุนสวน หรือนิติบุคคลอื่นใดบรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน หรือกิจการโทรคมนาคม ในระยะเวลาหนึ่งปกอนไดรับการเสนอชื่อตามมาตรา 10 หรือกอนไดรับการคัดเลือกตามมาตรา 15”

จาก 2 มาตรา ดังกล่าว ทราบมาว่า การกำหนดคุณสมบัติกรรมการต้องไม่เคยทำงานก่อาหน้านี้ 1 ปี เกิดมาจากผู้ยกร่าง พ.ร.บ.กสทช. เชื่อว่า ผู้ที่มีผลประโยชน์ จะส่งนักวิชาชีพเข้ามาสมัครเป็น กสทช. ถ้าร่างกฎหมายเพื่อเหตุผลนี้จริงก็ตีความได้ว่าผู้ร่างไม่ไว้ใจกรรมการสรรหาและหมิ่นศักดิ์ศรีนักวิชาชีพ

“ส่วนตัวผมเชื่อว่า อารยประเทศไม่ได้เขียนกฎหมายตามกระแสเพื่อห้ามบุคคลในวิชาชีพเข้าไปเป็น กรรมการ กสทช. ข้อห้ามนี้ตีความว่า เป็นการก้าวล่วงสิทธิของบุคคหรือไม่ เพราะปัจจุบันนักวิชาชีพวิทยุและโทรทัศน์ขาดตลาด ปัจจุบันนักวิชาชีพที่มีฝีมือ และมีอายุเลย 60 ปี จึงยังมีงานทำ คนที่มีความรู้อย่างดี เช่น อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ หรือ คนใน อสมท ก็ไม่ผ่านคุณสมบัตินี้”

นายนิพนธ์ ให้ความเห็นว่า “หาก พ.ร.บ.ไม่ได้รับการแก้ไข “องค์กร กสทช.” จะได้กรรมการที่มีคุณสมบัติไม่ต่างจาก กสทช. ที่ได้รับการคัดสรรเข้ามาแล้วไม่สามารถทำงานได้ เพราะต้องเรียนรู้ ดูงานกันจนเกิดกระแสต่อต้านเหมือนในปัจจุบัน

สปช. ด้านสื่อสารมวลชนผู้นี้ ยอมรับว่า ส่วนตัวตนเองไม่สามารถเข้ารับสมัคร เพื่อเข้าสู่การสรรหาเป็นกรรมการ กสทช. ได้แล้ว ตามคุณสมบัติ “อายุ” ที่ตกไป (มีอายุไมต่ำกวาสามสิบหาปบริบูรณ แตไมเกินเจ็ดสิบปบริบูรณ) อย่างไรก็ตาม หากตนอายุน้อยกว่านี้ ก็ไม่สามารถไปสมัครได้อีก เพราะวันนี้ตนยังมีงานทำอยู่ (มาตรา 7) ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ต่างมีงานเสนอให้ทำทั้งสิ้น เพราะผู้ที่มีประสบการณ์ด้านโทรทัศน์ขาดตลาด เนื่องจากมีโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นจาก 6 ช่อง เป็นกว่าสามถึงสี่ร้อยช่อง (ดิจิตอล/เคเบิล/ดาวเทียม) วิทยุกระจายเสียงห้าร้อยสถานีก็เพิ่มเป็นพัน ๆ สถานี

“หากจะลาออกจากงาน ไม่มีรายได้ในวิชาชีพที่ถนัด เพื่อจะรอให้ครบปีแล้วมาสมัคร ก็เป็นฝันที่ลม ๆแล้ง ๆ เพราะกรรมการ กสทช. อาจจะเป็นอาชีพที่มีเกียรติ แต่ก็มิได้เป็นงานที่มีรายได้มากไปกว่าบุคคลที่มีความสามารถในวิชาชีพ เป็นผลให้ผู้ที่มีประสบการณ์ที่รู้เรื่องจริงไม่ว่างงาน แม้จะเกษียณไปจนอายุ คุณสมับติทั่วไป ก็มีอายุเกินเจ็ดสิบปีไปแล้ว จะกลายเป็นว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นการล็อกสเปก”

นายนิพนธ์ กล่าวต่อว่า หากคิดเล่น ๆ ว่า ถ้ามีองค์กรสื่อที่คาดว่าจะใช้ตนเป็นหุ่นเชิดและหาทางส่งรายได้นอกระบบก่อนสมัคร เป็นกรรมการ กสทช. ตนอาจจะรับหรือไม่รับ เพราะถ้ารับตนก็มีโอกาสสูงที่จะได้เป็นเพราะผ็ที่ส่งรายได้น่าจะมีพลังผลักดันให้ตนเป็นจนได้ คิดต่อไปว่านักวิชาชีพวิทยุโทรทัศน์และสารสนเทศที่มีคุณสมบัติสมัครได้เป็นใครบ้าง เท่าที่คิดได้ มี 3 กลุ่ม คือ

กลุ่มแรก คือ กลุ่มที่ทำงานให้กับองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร เช่น ผู้ที่ทำงานอยู่ในสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สถานีวิทยุโทรทัศน์รัฐสภา หรือสถานีโทรทัศน์ “ทีวีดิจิตอล” ภาคพื้นดิน ประเภทสาธารณะ

กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มข้าราชการ ที่เคยทำงานให้สถานีโทรทัศน์ของหน่วยราชการ และได้รับการแต่งตั้งโยกย้ายไปทำงานอื่นเลยหนึ่งปี และยังทำงานอยู่หรือเกษียณอายุแล้ว เช่น สถานีโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 กรณีนี่ นายนิพนธ์ ยกตัวอย่าง ผอ.ช่อง 5 ที่อาจจะโยกย้ายไปอยู่หน่วยอื่น 1 - 2 ปี และเกษียณอายุก็อยู่ในคุณสมบัติ มาสมัคร กสทช. ได้

กลุ่มที่สาม คือ กลุ่มที่เปลี่ยนไปประกอบวิชาชีพอื่นแล้วเกินหนึ่งปี เช่น เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัย เป็นตัวแทนขายผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เป็นเกษตรกร ฯลฯ กลุ่มนี้ท่านศาสตราจารย์ เศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ อดีต กสทช. เคยให้ความเห็นไว้ว่า “อาชีพสื่อสารมวลชนนี้ ต้องก้าวทันเทคโนโลยี ถ้าไม่ได้ติดตามมาถึงหนึ่งปีแล้วก็ยากที่จะตามทัน”

ดังนั้น หากพิจารณาให้ดี คุณสมบัติสองมาตรานี้ ทำให้คนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยุโทรทัศน์และเทคโนโลยีมีโอกาสเข้ามาทำงานน้อยมาก ซึ่งตนก็ไม่ได้ดูถูกว่า สามกลุ่มข้างต้นไม่เหมาะสม

“แต่ถ้าต้องการจะได้คนดีที่มีฝีมือมาเลือกอย่างหลากหลาย และผู้ร่างไม่ถูกตำหนิว่าหมิ่นศักดิ์ศรีของนักวิชาชีพก็ “ต้องมีการปรับมาตรา 7” ว่าด้วย “กรรมการต้องมีคุณสมบัติและไมมีลักษณะต้องห้ามดังตอไปนี้(12) ไมเปนหรือเคยเปนกรรมการ ผูจัดการ ผูบริหาร ที่ปรึกษา พนักงาน ผูถือหุนหรือหุนสวนในบริษัทหรือห้างหุนสวนหรือนิติบุคคลอื่นใดบรรดาที่ประกอบธุรกิจด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน หรือกิจการโทรคมนาคม”

โดยตัดคำว่า “ในระยะเวลาหนึ่งปกอนไดรับการเสนอชื่อตามมาตรา 10 หรือกอนไดรับการคัดเลือกตามมาตรา 15”ออกไป

นายนิพนธ์ ให้ข้อเสนอแนะว่า การปรับมาตรา 7 ว่าด้วยคุณสมบัติ อาจจะปรับในส่วนที่ให้กรรมการสรรหาฯ มี “เครื่องมือ” เช่น สกอร์การ์ด (Scorecard) กำหนดคะแนนให้กับผู้ที่มีคุณสมัติเด่น เช่น ผู้ที่รับรางวัลแสงชัย (สุนทรวัฒน์) ได้ 1 คะแนน ผู้ที่ได้รับรางวัลส่งเสริมเยาวชน ได้ 1 คะแนน ผู้ที่มีความรู้ในผลงานละคร การ์ตูน หรือข่าว ก็ได้ 1 คะแนน คนที่เป็นนักนิเทศศาสตร์ ได้ 1 คะแนน เช่นนี้เป็นต้น โดยกำหนดไว้ให้กรรมการสรรหา เป็นผู้ให้คะแนน

ด้าน “นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์” สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ในฐานะคณะกรรมาธิการปฏิรูปการสื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกท่าน ให้ความเห็นต่อเรื่องนี้ ว่า แนวโน้มที่กรรมาธิการส่วนใหญ่เห็นพ้องร่วมกันว่า กระบวนการแก้ไข พ.ร.บ.กสทช. ฉบับปี 2553

“มีแนวโน้มจะให้อำนาจสื่อสารมวลชนดูแลกันเองมากขึ้น”

“มาตรา 6 และมาตรา 7 ในกฎหมายเดิม ว่าด้วย คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการ กสทช. ถ้ามองว่ามีลักษณะกีดกัน หรือมองคร่าว ๆ ว่า เป็นการกำจัดสิทธิมากเกินไป ก็คือ การปิดกั้น ผู้ที่มีประสบการณ์ หรือผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านสื่อสารมวลชน เห็นได้จากการเข้ามาทำหน้าที่ กำกับดูแลขององค์กรนี้ที่ผ่านมา กลายเป็นว่า ความเห็นที่ออกมาหลาย ๆ ครั้งไม่ตรงกัน กติกาที่ควรจะได้ข้อยุติก็กลายเป็นว่าไม่ตรงกัน ความเห็นกลายเป็นคนละแนวทาง บุคคลที่เข้ามาเพียงสัมผัส ผิวเผิน ชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งมีความแตกต่างจากผู้ที่มีประสบการณ์มีความเชี่ยวชาญโดยตรง แต่ในภาคราชการอาจจะมีความเห็นต่างกันในเรื่องการการเข้ามากำกับสื่อสารมวลชน”

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรรมาธิการฯปฏิรูปสื่อ ได้พิจารณาเบื้องต้นแล้ว และกำลังทำแผนส่งไปยังคณะกรรมการปฏิรูปชุดใหญ่ ถึงความเป็นไปได้และความรอบด้านเพื่อให้ข้อมูลของผู้ประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีความรอบด้าน และมีประโยชน์มากขึ้น.


นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
กำลังโหลดความคิดเห็น