เปิดร่าง พ.ร.บ. ให้ ม.ธรรมศาสตร์-ม.ขอนแก่น ออกนอกระบบ ตามที่ กระทรวงศึกษาธิการเสนอ “ณรงค์ พิพัฒนาศัย”ย้ำไม่ต้อง ทำความเข้าใจกับบุคลากรและนักศึกษา ชี้เป็นความประสงค์ของทางมหาวิทยาลัยเอง
วันนี้(10 มี.ค) พล.ร.อ.ณรงค์ พิพัฒนาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และร่าง พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือออกนอกระบบ
ส่วนต้องทำความเข้าใจกับบุคลากรและนักศึกษาหรือไม่ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ไม่ต้อง เพราะนี่ไม่ใช่มหาวิทยาลัยแรกที่ออกนอกระบบไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ แต่มีหลายมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบแล้ว และเป็นความประสงค์ของทางมหาวิทยาลัยเอง ด้วยเหตุผลที่ว่าหากยังเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐอยู่ ความข้องตัวในการจัดการศึกษาจะไม่เทียบเท่ากับออกไปเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ
สำหรับ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการรประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้
1. กำหนดให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีฐานะเป็นหน่วยในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
2. กำหนดให้มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนงานออกเป็น สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี สำนักงานวิทยาเขต คณะ วิทยาลัย สถาบัน สำนัก และมหาวิทยาลัยอาจให้มีส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย สถาบัน หรือสำนัก
3. กำหนดให้มหาวิทยาลัยมีรายได้จากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และเงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้น และรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุน เป็นต้น และให้รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4. กำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการบริหาร โดยมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัยและมีอำนาจกำหนดทิศทางเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และวางนโยบาย รวมทั้งอนุมัติแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย และให้มีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแผนพัฒนามหาวิทยาลัย พิจารณากลั่นกรองข้อบังคับและระเบียบของมหาวิทยาลัย
6. กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง คุณสมบัติลักษณะต้องห้าม และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
7. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
8. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการการบัญชีและการตรวจสอบทางบัญชีและการเงินของมหาวิทยาลัย ให้อธิการบดีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ
9. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณฯ การดำรงตำแหน่งและคณะกรรมการต่าง ๆ ส่วนราชการ การโอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานของมหาวิทยาลัย ตำแหน่งทางวิชาการ สิทธิเกี่ยวกับการได้รับบำเหน็จบำนาญ ตลอดจนระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นต้น
ส่วน ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการรประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา ก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้
1. กำหนดให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีฐานะเป็นหน่วยในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น
2. กำหนดให้มหาวิทยาลัยแบ่งส่วนงานออกเป็น สำนักงานสภามหาวิทยาลัย สำนักงานอธิการบดี สำนักงานวิทยาเขต คณะ วิทยาลัย สถาบัน สำนัก และมหาวิทยาลัยอาจให้มีส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ วิทยาลัย สถาบัน หรือสำนัก
3. กำหนดให้มหาวิทยาลัยมีรายได้จากเงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ และเงินกองทุนที่รัฐบาลหรือมหาวิทยาลัยจัดตั้งขึ้น และรายได้หรือผลประโยชน์จากกองทุน เป็นต้น และให้รายได้ของมหาวิทยาลัยไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลังตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลังและกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
4. กำหนดให้มีสภามหาวิทยาลัยเป็นองค์กรทางการบริหาร โดยมีกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่มาจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยและองค์กรต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย โดยมีอำนาจหน้าที่ควบคุมดูแลกิจการทั่วไปของมหาวิทยาลัยและมีอำนาจกำหนดทิศทางเป้าหมายของมหาวิทยาลัย และวางนโยบาย รวมทั้งอนุมัติแผนพัฒนาของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย
5. กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่ให้คำแนะนำปรึกษาแก่มหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการของมหาวิทยาลัย และสนับสนุนการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัย และให้มีคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเสนอแผนพัฒนามหาวิทยาลัย พิจารณากลั่นกรองข้อบังคับและระเบียบของมหาวิทยาลัย
6. กำหนดให้มีอธิการบดีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด และรับผิดชอบการบริหารงานของมหาวิทยาลัย กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง การพ้นจากตำแหน่ง คุณสมบัติลักษณะต้องห้าม และให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
7. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย
8. กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการการบัญชีและการตรวจสอบทางบัญชีและการเงินของมหาวิทยาลัย ให้อธิการบดีเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต และให้รัฐมนตรีมีอำนาจและหน้าที่กำกับและดูแลโดยทั่วไปซึ่งกิจการของมหาวิทยาลัย ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัย และให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ
9. กำหนดบทเฉพาะกาลเกี่ยวกับการโอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน งบประมาณฯ การดำรงตำแหน่งและคณะกรรมการต่าง ๆ ส่วนราชการ การโอนบรรดาข้าราชการ ลูกจ้างของส่วนราชการ พนักงานของมหาวิทยาลัย ตำแหน่งทางวิชาการ สิทธิเกี่ยวกับการได้รับบำเหน็จบำนาญ ตลอดจนระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศที่มีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เป็นต้น