อัดงบ 67 ล้านบาท จัดเครื่องฉายแสงรักษาโรคมะเร็งใน รพ.ศูนย์ขอนแก่น ช่วยลดการรอคิวรักษาผู้ป่วยมะเร็งจาก 6 เดือน เหลือ 2 เดือนครึ่ง พร้อมจัดเครื่องฝังแร่รักษาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก เริ่ม มี.ค. นี้ เผยเตรียมเร่งคัดกรองมะเร็งตับ - ท่อน้ำดี หวังลบภาพเมืองหลวงมะเร็ง
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการเขตสุขภาพที่ 7 โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เขตสุขภาพที่ 7 ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบรับ - ส่งต่อผู้ป่วย และการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีอัตราการตายสูงในพื้นที่ ได้แก่ อุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน บาดเจ็บที่ศีรษะ ทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน และโรคมะเร็ง ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นเครือข่ายที่ไร้รอยต่อทุกระดับ มีศูนย์รับส่งต่อ มีบุคลากรรับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรับ-ส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ใกล้บ้านเกิด มีความปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการอย่างเท่าเทียมกัน
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เรื่องโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในเขตสุขภาพที่ 7 พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 5,000 - 6,000 ราย มากที่สุดคือมะเร็งตับและท่อน้ำดี รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด ได้จัดระบบการรักษาเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น ในการส่งผู้ป่วยไปผ่าตัดและรังสีรักษา โดยพัฒนาศักยภาพการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น มีตึกรังสีวินิจฉัยรองรับผู้ป่วย เริ่มให้บริการเคมีบำบัดในปี 2557 ในปีนี้จะเพิ่มการรักษาด้วยเครื่องฉายแสงที่ทันสมัย งบประมาณ 67 ล้านบาท รักษามะเร็งได้ทุกชนิด ปลอดภัยสูง จะเริ่มให้บริการ 17 ก.พ. นี้ ให้บริการฉายแสงในและนอกเวลาราชการวันละ 70 ราย จะลดคิวรอฉายแสงให้สั้นลงจาก 6 เดือน เหลือ 2 เดือนครึ่ง นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มเครื่องฝังแร่มูลค่า 30 ล้านบาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก รพ.ศรีนครินทร์ เริ่มให้บริการ มี.ค. นี้ ฝังแร่ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกวันละ 4 - 5 คน
ด้าน นพ.รัฐวุฒิ สุขมี ผู้ตรวจราชการ สธ.เขตสุขภาพที่ 7 กล่าวว่า โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี พบผู้ป่วยรายใหม่ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีละ 2,000 ราย เป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก มากสุดที่เขตสุขภาพที่ 7 นี้ ถือเป็นเมืองหลวงของโรคนี้ เนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องการกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการป้องกันและค้นหาผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นทั้ง 4 จังหวัด โดยผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อายุ 30 - 40 ปีขึ้นไป ด้วยการตรวจอุจจาระ พบไข่พยาธิใบไม้ตับสูงเกินร้อยละ 20 และพบสูงมากในกลุ่มที่อาศัยใกล้แหล่งน้ำ พบถึงร้อยละ 40 ที่สำคัญกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ส่วนใหญ่เมื่อตรวจพบไข่พยาธิและได้รับยารักษาแล้ว จะกลับไปมีพฤติกรรมกินปลาสุกๆ ดิบๆ ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำๆ จนเกิดอักเสบเรื้อรังของท่อน้ำดีและกลายเป็นมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดีในที่สุด
“การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดีที่ได้ผลดีในระยะแรกคือการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ต้องใช้บุคลากร อุปกรณ์ หอผู้ป่วยหนัก เลือด รองรับ ทำให้ผ่าได้ปีละ 330 ราย จำเป็นต้องพัฒนาศูนย์รักษามะเร็งเพิ่มขึ้นที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดและโรงพยาบาลพนมไพร ขณะเดียวกันจะประสานความร่วมมือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 4 เขตสุขภาพ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดร่วมกัน” นพ.รัฐวุฒิ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น จ.ขอนแก่น ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รมช.สาธารณสุข ตรวจเยี่ยมติดตามการดำเนินงานบริหารจัดการเขตสุขภาพที่ 7 โดย ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เขตสุขภาพที่ 7 ประสบความสำเร็จในการพัฒนาระบบรับ - ส่งต่อผู้ป่วย และการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่มีอัตราการตายสูงในพื้นที่ ได้แก่ อุบัติเหตุฉุกเฉิน โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน บาดเจ็บที่ศีรษะ ทารกแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะแทรกซ้อน และโรคมะเร็ง ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เป็นเครือข่ายที่ไร้รอยต่อทุกระดับ มีศูนย์รับส่งต่อ มีบุคลากรรับผิดชอบโดยตรง เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการรับ-ส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ใกล้บ้านเกิด มีความปลอดภัย ลดอัตราการเสียชีวิต และความพิการอย่างเท่าเทียมกัน
ศ.นพ.รัชตะ กล่าวว่า เรื่องโรคมะเร็ง เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของประชาชนอันดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในเขตสุขภาพที่ 7 พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละ 5,000 - 6,000 ราย มากที่สุดคือมะเร็งตับและท่อน้ำดี รองลงมาคือ มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งปอด ได้จัดระบบการรักษาเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น ในการส่งผู้ป่วยไปผ่าตัดและรังสีรักษา โดยพัฒนาศักยภาพการรักษาที่โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น มีตึกรังสีวินิจฉัยรองรับผู้ป่วย เริ่มให้บริการเคมีบำบัดในปี 2557 ในปีนี้จะเพิ่มการรักษาด้วยเครื่องฉายแสงที่ทันสมัย งบประมาณ 67 ล้านบาท รักษามะเร็งได้ทุกชนิด ปลอดภัยสูง จะเริ่มให้บริการ 17 ก.พ. นี้ ให้บริการฉายแสงในและนอกเวลาราชการวันละ 70 ราย จะลดคิวรอฉายแสงให้สั้นลงจาก 6 เดือน เหลือ 2 เดือนครึ่ง นอกจากนี้ ยังจะเพิ่มเครื่องฝังแร่มูลค่า 30 ล้านบาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก รพ.ศรีนครินทร์ เริ่มให้บริการ มี.ค. นี้ ฝังแร่ผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกวันละ 4 - 5 คน
ด้าน นพ.รัฐวุฒิ สุขมี ผู้ตรวจราชการ สธ.เขตสุขภาพที่ 7 กล่าวว่า โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี พบผู้ป่วยรายใหม่ทั้งภาคตะวันออกเฉียงเหนือปีละ 2,000 ราย เป็นอัตราที่สูงที่สุดในโลก มากสุดที่เขตสุขภาพที่ 7 นี้ ถือเป็นเมืองหลวงของโรคนี้ เนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยงในเรื่องการกินปลาน้ำจืดแบบสุกๆ ดิบๆ ขณะนี้ได้เร่งดำเนินการป้องกันและค้นหาผู้ป่วยตั้งแต่ระยะเริ่มเป็นทั้ง 4 จังหวัด โดยผลการตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อายุ 30 - 40 ปีขึ้นไป ด้วยการตรวจอุจจาระ พบไข่พยาธิใบไม้ตับสูงเกินร้อยละ 20 และพบสูงมากในกลุ่มที่อาศัยใกล้แหล่งน้ำ พบถึงร้อยละ 40 ที่สำคัญกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ ส่วนใหญ่เมื่อตรวจพบไข่พยาธิและได้รับยารักษาแล้ว จะกลับไปมีพฤติกรรมกินปลาสุกๆ ดิบๆ ทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำๆ จนเกิดอักเสบเรื้อรังของท่อน้ำดีและกลายเป็นมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดีในที่สุด
“การรักษาผู้ป่วยมะเร็งตับและท่อทางเดินน้ำดีที่ได้ผลดีในระยะแรกคือการผ่าตัด ซึ่งเป็นการผ่าตัดใหญ่ต้องใช้บุคลากร อุปกรณ์ หอผู้ป่วยหนัก เลือด รองรับ ทำให้ผ่าได้ปีละ 330 ราย จำเป็นต้องพัฒนาศูนย์รักษามะเร็งเพิ่มขึ้นที่โรงพยาบาลร้อยเอ็ดและโรงพยาบาลพนมไพร ขณะเดียวกันจะประสานความร่วมมือในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้ง 4 เขตสุขภาพ เพื่อดูแลผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาที่ดีที่สุดร่วมกัน” นพ.รัฐวุฒิ กล่าว
ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่