ข่าวปนคน คนปนข่าว
คำกล่าวของ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา มีเนื้อหาที่คนไทยควรจะได้รับทราบเพื่อรำลึกว่า
เหตุใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นมากกว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” แต่น่าเสียดายที่กลไกภาครัฐให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านี้น้อยเกินไป จนทำให้คนรุ่นใหม่แทบจะไม่ได้สัมผัสถึงความผูกพันระหว่างประชาชน กับพระราชาที่ทรงครองหัวใจราษฎรมากกว่าการครองแผ่นดิน
จะมีใครสักกี่คนที่จำได้ว่า ที่ประชุมขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ครั้งที่ 144 ระหว่างวันที่ 11 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ สำนักงานใหญ่องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี มีมติสนับสนุนและร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้ง “วันดินโลก” (World Soil Day) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เหตุผลที่ FAO เลือกวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันดินโลกของทุกปี สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ปรากฏผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและนานาชาติ **ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ (Emeritus Professor Dr. Stephen Nortcliff) กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ จึงได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 และขอพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก”
ถ้า พล.อ.อ.ชลิต ไม่พูดถึงเรื่องนี้ในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว แม้แต่ผู้เขียนเองก็หลงลืมไปแล้วว่า วันที่ 5 ธันวาคม อันเป็นวันแห่งความปลื้มปีติของคนไทยคือ “วันดินโลก” ที่นานาชาติแซ่ซ้องสรรเสริญ เพราะสิ่งที่กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงอยู่ตลอดเวลา คือ ความพยายามที่จะไล่ล่าพวกคนไร้รากที่ไม่มีความผูกพันต่อแผ่นดิน ไม่มีความกตัญญูต่อความเสียสละของบรรพบุรุษ จนทำให้เราลืมไปว่า การปกป้องที่ดีที่สุดไม่ใช่การปราบปรามแต่เป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อศรัทธาที่มั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ได้ต่างหาก
พล.อ.อ.ชลิต ขอให้ทุกคนตระหนัก และถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ช่วยกันสอดส่องดูแล สอดส่องป้องกันภัยและความเสียหายที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ขจัดข่าวร้าย สลายข่าวลือที่ทำลายความศรัทธา และความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทำสิ่งใดก็ได้ที่จะสร้างชาติให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญยั่งยืนนานจตลอดไป พร้อมกับหยิบยกเอาข่าวดีที่องค์การสหประชาชาติ มีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลก โดยเรียกร้องให้ประเทศไทยใช้วันที่ 5 ธันวาคม เป็น “วันดินแห่งชาติ” ด้วย
นี่คือความน่าเศร้าสำหรับสังคมไทย ในขณะที่โลกยกย่อง คนไทยกำลังหลงลืม จนละเลยที่จะให้ความสำคัญกับรากเหง้าที่สร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสังคมของเราจึงอ่อนแอลงทุกวัน กลายเป็นเม็ดทรายที่รวมตัวไม่ติด เพราะศูนย์กลางดวงใจที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของคนไทยเข้าด้วยกัน ถูกทำลายอย่างเป็นระบบ แต่เรากลับไม่มีระบบที่จะฟื้นความศรัทธา เพื่อหยุดการทำลายนั้น
ถ้าคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้รับรู้ถึงความหมายของพระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” ที่สมเด็จย่า เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ว่า “อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากให้เธออยู่กับดิน”
ถ้าคนรุ่นใหม่ได้รับรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภถึงสิ่งที่สมเด็จพระบรมราชนนีเคยรับสั่งว่า “เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดิน และอยากให้ทำงานแก่ประชาชน”ย่อมทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้นถึงความทุ่มเทตลอดพระชนมชีพเพื่อยืนยันคำสัญญา “ไม่ละทิ้งประชาชน”
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เคยเปิดเผยต่อสาธารณะถึงวันที่ไปจดทะเบียนมูลนิธิว่า มีอุปสรรคเกือบดำเนินการไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่สอบถามบ้านเลขที่ และอาชีพ ของผู้ที่ต้องการเปิดมูลนิธิ แต่ ดร.สุเมธ ตอบไม่ได้ จนมีการเฉลยว่าเป็นพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงรับทราบ ก็ตรัสถึงอาชีพของพระองค์ว่า “ถ้าใครถามว่าเราทำอาชีพอะไร ให้ตอบไปว่า ทำราชการ หมายถึง ทำหน้าที่ขององค์ราชา”
แล้ววันนี้คนไทยอย่างเราทำหน้าที่พสกนิกรของพระองค์กันอย่างไรบ้าง หรือว่าเรามุ่งแต่ปัญหาปากท้องความเป็นอยู่จนลืมความเป็นพลเมืองของแผ่นดิน ในขณะที่พ่อหลวงของเรายังคงยึดมั่นในการ “ทำหน้าที่ของพระราชา” ในทุกขณะจิต
“อันที่จริงเธอก็ชื่อ ภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากให้เธออยู่กับดิน เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดิน และอยากให้ทำงานให้แก่ประชาชน”
ไม่มีใครแยก “ฟ้า” ออกจาก “ดิน” ได้ เพราะฟ้าโอบอุ้มดินไว้เสมอ
คำกล่าวของ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข องคมนตรี ในพิธีเปิดโครงการเสริมสร้างอุดมการณ์รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ซึ่งจัดโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 57 ที่ผ่านมา มีเนื้อหาที่คนไทยควรจะได้รับทราบเพื่อรำลึกว่า
เหตุใด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นมากกว่า “พระเจ้าแผ่นดิน” แต่น่าเสียดายที่กลไกภาครัฐให้ความสนใจกับสิ่งเหล่านี้น้อยเกินไป จนทำให้คนรุ่นใหม่แทบจะไม่ได้สัมผัสถึงความผูกพันระหว่างประชาชน กับพระราชาที่ทรงครองหัวใจราษฎรมากกว่าการครองแผ่นดิน
จะมีใครสักกี่คนที่จำได้ว่า ที่ประชุมขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ครั้งที่ 144 ระหว่างวันที่ 11 - 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ณ สำนักงานใหญ่องค์การเกษตรและอาหารแห่งสหประชาชาติ กรุงโรม ประเทศอิตาลี มีมติสนับสนุนและร่วมกันผลักดันให้มีการจัดตั้ง “วันดินโลก” (World Soil Day) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เหตุผลที่ FAO เลือกวันที่ 5 ธันวาคม เป็นวันดินโลกของทุกปี สืบเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจเกี่ยวกับการพัฒนาที่ดินมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ปรากฏผลสำเร็จเป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศและนานาชาติ **ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.สตีเฟน นอร์ตคลิฟฟ์ (Emeritus Professor Dr. Stephen Nortcliff) กรรมการบริหารสหภาพวิทยาศาสตร์ทางดินนานาชาติ จึงได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม (The Humanitarian Soil Scientist) เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555 และขอพระบรมราชานุญาตให้วันที่ 5 ธันวาคมของทุกปีเป็น “วันดินโลก”
ถ้า พล.อ.อ.ชลิต ไม่พูดถึงเรื่องนี้ในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว แม้แต่ผู้เขียนเองก็หลงลืมไปแล้วว่า วันที่ 5 ธันวาคม อันเป็นวันแห่งความปลื้มปีติของคนไทยคือ “วันดินโลก” ที่นานาชาติแซ่ซ้องสรรเสริญ เพราะสิ่งที่กลายเป็นประเด็นที่พูดถึงอยู่ตลอดเวลา คือ ความพยายามที่จะไล่ล่าพวกคนไร้รากที่ไม่มีความผูกพันต่อแผ่นดิน ไม่มีความกตัญญูต่อความเสียสละของบรรพบุรุษ จนทำให้เราลืมไปว่า การปกป้องที่ดีที่สุดไม่ใช่การปราบปรามแต่เป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเพื่อศรัทธาที่มั่นคงต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ให้ได้ต่างหาก
พล.อ.อ.ชลิต ขอให้ทุกคนตระหนัก และถือเป็นหน้าที่สำคัญที่จะต้องส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ช่วยกันสอดส่องดูแล สอดส่องป้องกันภัยและความเสียหายที่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น ขจัดข่าวร้าย สลายข่าวลือที่ทำลายความศรัทธา และความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ทำสิ่งใดก็ได้ที่จะสร้างชาติให้เกิดความสามัคคีและมีความเจริญยั่งยืนนานจตลอดไป พร้อมกับหยิบยกเอาข่าวดีที่องค์การสหประชาชาติ มีมติให้วันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีเป็นวันดินโลก โดยเรียกร้องให้ประเทศไทยใช้วันที่ 5 ธันวาคม เป็น “วันดินแห่งชาติ” ด้วย
นี่คือความน่าเศร้าสำหรับสังคมไทย ในขณะที่โลกยกย่อง คนไทยกำลังหลงลืม จนละเลยที่จะให้ความสำคัญกับรากเหง้าที่สร้างชาติไทยให้เข้มแข็ง จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมสังคมของเราจึงอ่อนแอลงทุกวัน กลายเป็นเม็ดทรายที่รวมตัวไม่ติด เพราะศูนย์กลางดวงใจที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวของคนไทยเข้าด้วยกัน ถูกทำลายอย่างเป็นระบบ แต่เรากลับไม่มีระบบที่จะฟื้นความศรัทธา เพื่อหยุดการทำลายนั้น
ถ้าคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้รับรู้ถึงความหมายของพระนาม “ภูมิพลอดุลยเดช” ที่สมเด็จย่า เคยมีรับสั่งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ว่า “อันที่จริงเธอก็ชื่อภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากให้เธออยู่กับดิน”
ถ้าคนรุ่นใหม่ได้รับรู้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชปรารภถึงสิ่งที่สมเด็จพระบรมราชนนีเคยรับสั่งว่า “เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดิน และอยากให้ทำงานแก่ประชาชน”ย่อมทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งมากขึ้นถึงความทุ่มเทตลอดพระชนมชีพเพื่อยืนยันคำสัญญา “ไม่ละทิ้งประชาชน”
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา เคยเปิดเผยต่อสาธารณะถึงวันที่ไปจดทะเบียนมูลนิธิว่า มีอุปสรรคเกือบดำเนินการไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่สอบถามบ้านเลขที่ และอาชีพ ของผู้ที่ต้องการเปิดมูลนิธิ แต่ ดร.สุเมธ ตอบไม่ได้ จนมีการเฉลยว่าเป็นพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงรับทราบ ก็ตรัสถึงอาชีพของพระองค์ว่า “ถ้าใครถามว่าเราทำอาชีพอะไร ให้ตอบไปว่า ทำราชการ หมายถึง ทำหน้าที่ขององค์ราชา”
แล้ววันนี้คนไทยอย่างเราทำหน้าที่พสกนิกรของพระองค์กันอย่างไรบ้าง หรือว่าเรามุ่งแต่ปัญหาปากท้องความเป็นอยู่จนลืมความเป็นพลเมืองของแผ่นดิน ในขณะที่พ่อหลวงของเรายังคงยึดมั่นในการ “ทำหน้าที่ของพระราชา” ในทุกขณะจิต
“อันที่จริงเธอก็ชื่อ ภูมิพล ที่แปลว่า กำลังของแผ่นดิน แม่อยากให้เธออยู่กับดิน เมื่อฟังคำพูดนี้แล้วก็กลับมาคิด ซึ่งแม่ก็คงจะสอนเรา และมีจุดมุ่งหมายว่า อยากให้เราติดดิน และอยากให้ทำงานให้แก่ประชาชน”
ไม่มีใครแยก “ฟ้า” ออกจาก “ดิน” ได้ เพราะฟ้าโอบอุ้มดินไว้เสมอ