xs
xsm
sm
md
lg

“เสรี” แย้ม รธน.ใหม่ต้องถ่วงดุลกัน “สังศิต” จ่อแก้นิยามคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เงิน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (แฟ้มภาพ)
“สปช.เสรี” แย้มรัฐธรรมนูญใหม่ต้องเป็นที่ยอมรับ 3 อำนาจอธิปไตยต้องถ่วงดุลไม่ทำลายกัน ชี้ผู้เข้าชิงประธานเหมาะสม ด้าน “สปช.สังศิต” พร้อมปรับปรุงงาน ป.ป.ช.และข้าราชการ แก้นิยามคอร์รัปชันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน ฟันคนโกงไม่ให้ยุ่งการเมืองตลอดชีวิต แนะสมาชิกลงพื้นที่รับฟังความเห็นชาวบ้าน โยนองค์กรอิสระวินิจฉัยให้เปิดทรัพย์สินหรือไม่

วันนี้ (8 ต.ค.) นายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวภายหลังการรายงานตัว โดยแสดงความเห็นถึงรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ว่า รัฐธรรมนูญจะต้องเป็นที่ยอมรับ อำนาจนิติบัญญัติ ตุลาการ และบริหารต้องถ่วงดุลกันโดยไม่ทำลายซึ่งกันและกัน เพื่อให้กระบวนการเดินต่อไปได้พร้อมกับความขัดแย้งน้อยลง และพร้อมอาสาเข้ามาทำหน้าที่ใน สปช.อย่างดีที่สุด ขณะที่แคนดิเดตผู้ทำหน้าที่ประธานสปช. ยืนยันว่าตนเองยังไม่ได้รับการทาบทาม แต่บุคคลที่มีรายชื่อตามกระแสข่าวก็มีความเหมาะสม แต่งานประธานเป็นงานหนัก จึงเห็นว่าคนที่มีประสบการณ์ควรเข้ามาทำหน้าที่

นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) กล่าวถึงแนวทางการทำงานว่า ตนจะเน้นการทำงานปฏิรูปด้านการป้องกันการทุริตคอร์รัปชัน โดยปรับปรุงการปฏิบัติงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจรติแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และข้าราชการประจำอย่างบูรณาการ โดยจะผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมาย แก้นิยามคำว่า “คอร์รัปชัน” ที่ในกฎหมายของไทยบัญญัติไว้เกี่ยวกับเรื่องเงินอย่างเดียวซึ่งแคบเกินไป ควรเปลี่ยนคำนิยมให้เหมือนองค์กรสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ที่ครอบคลุมถึงการแต่งตั้งโยกย้าย ช่วยเหลือพรรคพวกเครือข่ายเดียวกัน หากรัฐบาลใช้อำนาจมิชอบ กลั่นแกล้งข้าราชการก็เข้าข่ายคอร์รัปชันอย่างหนึ่ง เช่น กรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ที่ถูกโยกย้ายไม่เป็นธรรม สามารถเอาผิดคนเซ็นคำสั่งถึงขั้นติดคุกได้เลยซึ่งหลายประเทศก็ใช้กันเพื่อทำให้ครอบคลุมการคอร์รัปชันได้ง่ายขึ้น เช่น คนที่ถูกศาลวินิจฉัยว่าทุจริตไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมืองทั้งชีวิต รวมถึงสิทธิการเลือกตั้งถึงพรรคการเมืองที่อยู่ภายใต้ทุนจะต้องถือว่ามีความผิดด้วยซึ่งต้องมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ส่วนการทำงานของ สปช.นั้น นายสังศิตกล่าวว่า จะต้องไม่ทำงานอยู่แต่ในห้องประชุม แต่จะต้องลงพื้นที่ไปรับฟังความคิดเห็นประชาชนทั้งประเทศ รวมถึงทำงานร่วมกับเครือข่ายภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ยากไร้ เพราะการทำงานของ สปช.เพียง 250 คนไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงประเทศ แต่จะต้องใช้ประชาชนทั้งประเทศร่วมมือกัน และรัฐธรรมนูญที่จะออกมาจะต้องเปิดเผย โปร่งใส โดยเห็นว่าควรจะนำจุดแข็งของรัฐธรรมนูญปี 40 เรื่องการมีองค์กรอิสระ และรัฐธรรมนูญปี 50 เรื่องการตรวจสอบที่เข้มแข็ง รวมถึงองค์กรอิสระ เช่น ดีเอสไอ หรือ ปปง. ควรจะมีกลไกลป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าไปคุกคาม หรือควบคุมได้

ส่วนของการแสดงบัญชีทรัพย์สินของ สปช. นายสังศิตกล่าวว่า ขึ้นอยู่กับ ป.ป.ช.จะวินิจฉัย หากมองว่าสปช.เป็นสภาการเมือง ส่วนตัวก็ยินดีให้มีการตรวจสอบเพราะในสังคมประชาธิปไตยควรให้สังคมตรวจสอบเรื่องความโปร่งใสได้


ความแตก ทรัพย์สิน สนช.- บิ๊ก ขรก.รวยมาจากไหนนักหนา !?
ความแตก ทรัพย์สิน สนช.- บิ๊ก ขรก.รวยมาจากไหนนักหนา !?
ความเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นย่อมต้องได้รับการสนับสนุนจากสังคม เพราะอยากรู้ความจริงถึงที่มาที่ไปของทรัพย์สินของพวกเขาว่าได้มาอย่างไร ร่ำรวยมาจากไหน ทุกอย่างจะได้เคลียร์ ขณะเดียวกันแน่นอนว่าชาวบ้านไม่น้อยรู้สึกไม่พอใจกับอาการอิดออดของบรรดา สนช.บางกลุ่มที่ไม่เต็มใจเปิดเผยทรัพย์สินขณะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองทำหน้าที่เป็นสมาชิกรัฐสภา มีหน้าที่ออกกฎหมายมาควบคุมและบริหารบ้านเมือง เสมือนไม่มีสปิริต ซึ่งเมื่อเปิดเผยออกมาคนพวกนี้ก็มีทรัพย์สินมากจนน่าสงสัยเสียด้วย เหมือนกับว่า ความแตก
กำลังโหลดความคิดเห็น