ราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์ประกาศโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ 250 คน พบ “ชัย ชิดชอบ-ธวัชชัย สมุทรสาคร” มีชื่อตามคาด อดีต ส.ว. “คำนูณ-ไพบูลย์-ประสาร-วันชัย-รสนา” ได้รับแต่งตั้ง “พะจุณณ์” นายทหารคนสนิท “ป๋าเปรม” ติดโผด้วย ภาคประชาชน “สารี” ได้ด้วย รายงานตัว 8-16 ต.ค.
วันนี้ (6 ต.ค.) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) จำนวน 250 คน ซึ่งได้ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131 ตอนพิเศษ 199 ง โดยมีเนื้อหาดังนี้
ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ตามมาตรา ๒๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ดังต่อไปนี้
๑. นายกษิดิ์เดชธนทัต เสกขุนทด
๒. นายกาศพล แก้วประพาฬ
๓. นายกิตติ โกสินสกุล
๔. นางกัญญ์ฐญาณ์ ภู่สวาสดิ์
๕. นายกงกฤช หิรัญกิจ
๖. นายกมล รอดคล้าย
๗. นางกอบกุล พันธ์เจริญวรกุล
๘. นางกอบแก้ว จันทร์ดี
๙. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล
๑๐. นายกิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์
๑๑. นายกิตติภณ ทุ่งกลาง
๑๒. นายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์
๑๓. นางกูไซหม๊ะวันซาฟีหน๊ะ มนูญทวี
๑๔. นายเกริกไกร จีระแพทย์
๑๕. นายเกรียงไกร ภูมิเหล่าแจ้ง
๑๖. นายเกษมสันต์ จิณณวาโส
๑๗. นายโกเมศ แดงทองดี
๑๘. นายโกวิทย์ ทรงคุณ
๑๙. นายโกวิท ศรีไพโรจน์
๒๐. นายไกรราศ แก้วดี
๒๑. นายไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ
๒๒. นายขจัดภัย บุรุษพัฒน์
๒๓. พลตํารวจตรี ขจร สัยวัตร์
๒๔. พลอากาศเอก ขวัญชัย เอี่ยมรักษา
๒๕. นายเขมทัต สุคนธสิงห์
๒๖. นายเข็มชัย ชุติวงศ์
๒๗. พลอากาศเอก คณิต สุวรรณเนตร
๒๘. นายคณิศร ขรรัง
๒๙. นายคํานูณ สิทธิสมาน
๓๐. นายคุรุจิต นาครทรรพ
๓๑. นายจรัส สุทธิกุลบุตร
๓๒. นายจรัส สุวรรณมาลา
๓๓. พันตํารวจเอก จรุงวิทย์ ภุมมา
๓๔. นายจรูญ จึงยิ่งเรืองรุ่ง
๓๕. พลเอก จิระ โกมุทพงศ์
๓๖. พลเอก จิรพันธ์ เกษมศานติ์สุข
๓๗. พันตํารวจโท จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์
๓๘. ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์
๓๙. นายจีระรัตน์ นพวงศ์ ณ อยุธยา
๔๐. นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี
๔๑. นางจุรี วิจิตรวาทการ
๔๒. นายจิรวัฒน์ เวียงด้าน
๔๓. นางจุไรรัตน์ จุลจักรวัฒน์
๔๔. นายจุมพล รอดคําดี
๔๕. นายจุมพล สุขมั่น
๔๖. นายเจน นําชัยศิริ
๔๗. นายเจริญศักดิ์ ศาลากิจ
๔๘. พลอากาศเอก เจษฎา วิจารณ์
๔๙. นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง
๕๐. นายจําลอง โพธิ์สุข
๕๑. นายเฉลิมชัย เฟื่องคอน
๕๒. นายเฉลิมพล ประทีปะวณิช
๕๓. นายเฉลิมศักดิ์ อบสุวรรณ
๕๔. นางชัชนาถ เทพธรานนท์
๕๕. นายชัย ชิดชอบ
๕๖. นายชัยพร ทองประเสริฐ
๕๗. นายชัยวัฒน์ ลิมป์วรรณธะ
๕๘. นายชัยอนันต์ สมุทวณิช
๕๙. นายชาลี เจริญสุข
๖๐. นายชาลี เอียดสกุล
๖๑. นายชาลี ต้งจักรวงษ์
๖๒. พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ
๖๓. นายชาติชาย ณ เชียงใหม่
๖๔. นายชิงชัย หาญเจนลักษณ์
๖๕. นายชิตชัย จิวะตุวินันท์
๖๖. นายชูชัย ศุภวงศ์
๖๗. นายชูชาติ อินสว่าง
๖๘. พลเอก ชูศิลป์ คุณาไทย
๖๙. นายเชิดชัย วงศ์เสรี
๗๐. นายเชื้อ ฮั่นจินดา
๗๑. นายฐิติ วุฑฒโกวทย์
๗๒. พลโท ฐิติวัจน์ กําลังเอก
๗๓. นางฑิฆัมพร กองสอน
๗๔. นายณรงค์ พุทธิชีวิน
๗๕. นายณรงค์ วรงศ์เกรียงไกร
๗๖. นายณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา
๗๗. นายดิเรก ถึงฝั่ง
๗๘. นายดํารงค์ พิเดช
๗๙. นายดุสิต เครืองาม
๘๐. นายดุสิต ลีลาภัทรพันธุ์
๘๑. พลโท เดชา ปุญญบาล
๘๒. นายเดชฤทธิ์ ปัญจะมูล
๘๓. นางตรึงใจ บูรณสมภพ
๘๔. นางเตือนใจ สินธุวณิก
๘๕. นางถวิลวดี บุรีกุล
๘๖. นายถาวร เฉิดพันธุ์
๘๗. นายทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์
๘๘. นายทนงศักดิ์ ทวีทอง
๘๙. นายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ
๙๐. นางสาวทัศนา บุญทอง
๙๑. นางทิชา ณ นคร
๙๒. นายทิวา การกระสัง
๙๓. นายเทียนฉาย กีระนันทน์
๙๔. นายเทียนชัย ปิ่นวิเศษ
๙๕. นายทรงชัย วงศ์สวัสดิ์
๙๖. พันเอก ธนศักดิ์ มิตรภานนท์
๙๗. นายธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์
๙๘. นายธรรมรักษ์ การพิศิษฎ์
๙๙. นายธวัช สุวุฒิกุล
๑๐๐. นายธวัชชัย ยงกิตติกุล
๑๐๑. พลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร
๑๐๒. นายธวัชชัย อุ่ยพานิช
๑๐๓. นายธีรยุทธ์ หล่อเลิศรัตน์
๑๐๔. นายธีรศักดิ์ พานิชวิทย์
๑๐๕. นายธํารง อัศวสุธีรกุล
๑๐๖. พลโท นคร สุขประเสริฐ
๑๐๗. นางนรีวรรณ จินตกานนท์
๑๐๘. นายนันทวัฒน์ บรมานันท์
๑๐๙. พลโท นาวิน ดําริกาญจน์
๑๑๐. นายนิฟาริด ระเด่นอาหมัด
๑๑๑. นายนิคม มากรุ่งแจ้ง
๑๑๒. นายนิพนธ์ คําพา
๑๑๓. นายนิพนธ์ นาคสมภพ
๑๑๔. นายนิมิต สิทธิไตรย์
๑๑๕. นายนิรันดร์ พันทรกิจ
๑๑๖. นายนิอาแซ ซีอุเซ็ง
๑๑๗. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๑๑๘. นายนําชัย กฤษณาสกุล
๑๑๙. นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ
๑๒๐. นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์
๑๒๑. นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์
๑๒๒. นายบุญถิ่น มั่นเกษวิทย์
๑๒๓. นายบุญเลิศ คชายุทธเดช
๑๒๔. นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
๑๒๕. นายประชา เตรัตน์
๑๒๖. นายประทวน สุทธิอํานวยเดช
๑๒๗. นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์
๑๒๘. นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด
๑๒๙. นางประภาภัทร นิยม
๑๓๐. นางประภาศรี สุฉันทบุตร
๑๓๑. นายประมนต์ สุธีวงศ์
๑๓๒. นายประสาร มฤคพิทักษ์
๑๓๓. นายประสิทธิ์ ปทุมารักษ์
๑๓๔. พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์
๑๓๕. นายประเสริฐ ชิตพงศ์
๑๓๖. นายประเสริฐ ศัลย์วิวรรธน์
๑๓๗. นายปราโมทย์ ไม้กลัด
๑๓๘. นายปรีชา เถาทอง
๑๓๙. นายปรีชา บุตรศรี
๑๔๐. พลตํารวจตรี ปรีชา สมุทระเปารยะ
๑๔๑. นายปิยะวัติ บุญ-หลง
๑๔๒. นายเปรื่อง จันดา
๑๔๓. นางผาณิต นิติทัณฑ์ประภาศ
๑๔๔. นายพงศ์โพยม วาศภูติ
๑๔๕. นางสาวพจนีย์ ธนวรานิช
๑๔๖. นายพนา ทองมีอาคม
๑๔๗. นายพรชัย มุ่งเจริญพร
๑๔๘. นางพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์
๑๔๙. นางพรรณวีรินทร์ รัตนวานิช
๑๕๐. นางพรรณี จารุสมบัติ
๑๕๑. นายพรายพล คุ้มทรัพย์
๑๕๒. นายพลเดช ปิ่นประทีป
๑๕๓. พลเอก พอพล มณีรินทร์
๑๕๔. พลเรือเอก พะจุณณ์ ตามประทีป
๑๕๕. นางพันธุ์ทิพย์ สายสุนทร
๑๕๖. นายพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา
๑๕๗. นายพิสิฐ ลี้อาธรรม
๑๕๘. นายเพิ่มศักดิ์ เชื้อชาติ
๑๕๙. นายไพฑูรย์ หลิมวัฒนา
๑๖๐. นายไพบูลย์ นิติตะวัน
๑๖๑. นายไพบูลย์ นลินทรางกูร
๑๖๒. นายไพโรจน์ พรหมสาส์น
๑๖๓. นาวาอากาศเอก ไพศาล จันทรพิทักษ์
๑๖๔. นางภัทรียา สุมะโน
๑๖๕. พลเอก ภูดิศ ทัตติยโชติ
๑๖๖. พลอากาศเอก มนัส รูปขจร
๑๖๗. นายมนู เลียวไพโรจน์
๑๖๘. นายมนูญ ศิริวรรณ
๑๖๙. นายมานิจ สุขสมจิตร
๑๗๐. นายมีชัย วีระไวทยะ
๑๗๑. พันตํารวจตรี ยงยุทธ สาระสมบัติ
๑๗๒. พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
๑๗๓. นางสาวรสนา โตสิตระกูล
๑๗๔. พลเอก เลิศรัตน์ รัตนวานิช
๑๗๕. นายวรรณชัย บุญบํารุง
๑๗๖. พลเอก วรวิทย์ พรรณสมัย
๑๗๗. นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา
๑๗๘. นายวสันต์ ภัยหลีกลี้
๑๗๙. พลเอก วัฒนา สรรพานิช
๑๘๐. นายวันชัย สอนสิริ
๑๘๑. นายวัลลภ พริ้งพงษ์
๑๘๒. นายวิชัย ด่านรุ่งโรจน์
๑๘๓. พลเอก วิชิต ยาทิพย์
๑๘๔. นายวิทยา กุลสมบูรณ์
๑๘๕. นายวินัย ดะห์ลัน
๑๘๖. นายวิบูลย์ คูหิรัญ
๑๘๗. นายวิริยะ นามศิริพงศพันธุ์
๑๘๘. นายวิวรรธน์ แสงสุริยะฉัตร
๑๘๙. นายวิวัฒน์ ศัลยกําธร
๑๙๐. นายวีระศักดิ์ ภูครองหิน
๑๙๑. พลเอก วุฒินันท์ ลีลายุทธ
๑๙๒. นายวุฒิสาร ตันไชย
๑๙๓. นายไวกูณฑ์ ทองอร่าม
๑๙๔. นายศานิตย์ นาคสุขศรี
๑๙๕. นายศักรินทร์ ภูมิรัตน
๑๙๖. นายศักดา ศรีวิริยะไพบูลย์
๑๙๗. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์
๑๙๘. นางศิรินา ปวโรฬารวิทยา
๑๙๙. พลเรือเอก ศุภกร บูรณดิลก
๒๐๐. นายศุภชัย ยาวะประภาษ
๒๐๑. นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์
๒๐๒. นายสมเกียรติ ชอบผล
๒๐๓. นายสมเดช นิลพันธุ์
๒๐๔. นายสมชัย ฤชุพันธ์
๒๐๕. นายสมบัติ ธํารงธัญวงศ์
๒๐๖. นางสาวสมสุข บุญญะบัญชา
๒๐๗. นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ
๒๐๘. นายสยุมพร ลิ่มไทย
๒๐๙. นายสรณะ เทพเนาว์
๒๑๐. นายสังศิต พิริยะรังสรรค์
๒๑๑. นายสายัณห์ จันทร์วิภาสวงศ์
๒๑๒. นางสาวสารี อ๋องสมหวัง
๒๑๓. นายสิระ เจนจาคะ
๒๑๔. พันเอก สิรวิชญ์ นาคทอง
๒๑๕. นางสีลาภรณ์ บัวสาย
๒๑๖. นายสืบพงศ์ ธรรมชาติ
๒๑๗. นางสุกัญญา สุดบรรทัด
๒๑๘. นายสุชาติ นวกวงษ์
๒๑๙. นายสุทัศน์ เศรษฐ์บุญสร้าง
๒๒๐. นายสุธรรม ลิ้มสุวรรณเกษม
๒๒๑. นายสุพร สุวรรณโชติ
๒๒๒. นางสาวสุภัทรา นาคะผิว
๒๒๓. พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์
๒๒๔. นายสุวัช สิงหพันธุ์
๒๒๕. นายสุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ
๒๒๖. นายสุวิทย์ เมษินทรีย์
๒๒๗. นายเสรี สุวรรณภานนท์
๒๒๘. นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ
๒๒๙. นายอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์
๒๓๐. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ
๒๓๑. นายอนันตชัย คุณานันทกุล
๒๓๒. นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล
๒๓๓. พลเรือเอก อภิวัฒน์ ศรีวรรธนะ
๒๓๔. นายอมร วาณิชวิวัฒน์
๒๓๕. นายอมรวิชช์ นาครทรรพ
๒๓๖. นางสาวอรพินท์ สพโชคชัย
๒๓๗. นางอรพินท์ วงศ์ชุมพิศ
๒๓๘. นายอลงกรณ์ พลบุตร
๒๓๙. นางสาวอ่อนอุษา ลําเลียงพล
๒๔๐. นางอัญชลี ชวนิชย์
๒๔๑. พลตํารวจโท อาจิณ โชติวงศ์
๒๔๒. พันตรี อาณันย์ วัชโรทัย
๒๔๓. นายอําพล จินดาวัฒนะ
๒๔๔. นายอุดม เฟื่องฟุ้ง
๒๔๕. นายอุดม ทุมโฆสิต
๒๔๖. นายอุทัย สอนหลักทรัพย์
๒๔๗. นางอุบล หลิมสกุล
๒๔๘. พลเอก เอกชัย ศรีวิลาศ
๒๔๙. นายเอกราช ช่างเหลา
๒๕๐. นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์
ทั้งนี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
ประกาศ ณ วันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗ เป็นปีที่ ๖๙ ในรัชกาลปัจจุบัน
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ
ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า จากจำนวนรายชื่อ สปช. 250 คนดังกล่าว พบว่า นายชัช ชิดชอบ อดีตประธานรัฐสภา บิดานายเนวิน ชิดชอบ ได้รับแต่งตั้งให้เป็น สปช. เช่นเดียวกับ พล.อ.ธวัชชัย สมุทรสาคร อดีตแม่ทัพภาคที่ 2 ที่ก่อนหน้านี้ได้ลาออกจากสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เนื่องจากมีคุณสมบัติต้องห้าม เพราะไปลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ในนามพรรคชาติพัฒนา โดยการชักชวนของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ แกนนำพรรค ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น สปช. เช่นกัน ส่วน พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป อดีตหัวหน้าสำนักงานมูลนิธิรัฐบุรุษและนายทหารคนสนิท พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ได้รับการแต่งตั้งเช่นกัน และ พล.อ.วิชิต ยาทิพย์ อดีตรองผู้บัญชาการทหารบก นายทหารคนสนิทของ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ได้รับการแต่งตั้งด้วย
ขณะเดียวกัน กลุ่มอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ตั้งแต่ปี 2543-2557 จำนวน 22 คน โดยเฉพาะอดีตกลุ่ม 40 ส.ว. เกือบทั้งกลุ่ม เช่น นายคำนูณ สิทธิสมาน, นางตรึงใจ บูรณสมภพ, นายประสาร มฤคพิทักษ์, นายไพบูลย์ นิติตะวัน, น.ส.รสนา โตสิตระกูล, นายวันชัย สอนศิริ, นางพรพันธุ์รรณ บุณยรัตพันธุ์, นางทัศนา บุญทอง นอกจากนี้มีอดีต ส.ว. เลือกตั้งและสรรหาปี2543-2551 อาทิ พ.ต.ท.จิตต์ ศรีโยหะ มุกดาธนพงศ์ อดีต ส.ว.มุกดาหาร, นายดิเรก ถึงฝั่ง อดีต ส.ว.นนทบุรี, นายประเสริฐ ชิตพงศ์ อดีต ส.ว.สงขลา, นายสมศักดิ์ โล่สถาพรพิพิธ อดีต ส.ว.ตรัง, พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช อดีต ส.ว.สรรหา, นายมีชัย วีระไวทยะ อดีต ส.ว.กทม. และนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีต ส.ว.กทม.
ส่วนกลุ่มอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 (กมธ.ยกร่างฯ) อาทิ น.ส.พจนีย์ ธนวรานิช อดีตรองประธาน สนช. ปี 2549, นายเสรี สุวรรณภานนท์ อดีตรองประธาน สสร., นายจุตินันท์ ภิรมย์ภักดี อดีต สสร. บิดา น.ส.จิตภัสร์ กฤดากร แกนนำ กปปส., นางจุรี วิจิตวาทการ อดีต สสร., นายพิสิฐ ลี้อาธรรม อดีต กมธ.ยกร่างรัฐธรรมนูญ, นายกงกฤช หิรัญกิจ อดีต สนช., นายวิริยะ นามศิริพงศ์พันธุ์ อดีต สนช., นายวุฒิสาร ตันไชย อดีต กมธ.ยกร่างฯ ปัจจุบันเป็นรองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า, นายสมชัย ฤชุพันธุ์ อดีต สสร. และน้องชายนายมีชัย ฤชุพันธุ์ สมาชิก คสช. อย่างไรก็ตาม คาดว่า นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า จะได้เป็นประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
อีกด้านหนึ่ง ยังพบว่า นายดุสิต เครืองาม นายกสมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย น้องชายของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นนักธุรกิจโซลาร์เซลล์ ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น สปช. ด้วย เช่นเดียวกับนายมนูญ ศิริวรรณ อดีตผู้บริหาร บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน), นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ส่วนภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวด้านพลังงาน พบว่านางสารี อ่องสมหวัง ผู้จัดการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็ได้รับการแต่งตั้ง
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มต่อต้าน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยเคลื่อนไหวในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) จำนวนมาก อาทิ นายจรัส สุวรรณมาลา อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายเจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ศาสตราภิชาน มหาวิทยาลัยรังสิต และอดีต ส.ว. กทม., นายชัยอนันต์ สมุทวณิช นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์, นายชูชัย ศุภวงศ์, นายสมบัติ ธํารงธัญวงศ์ อดีตอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า), นายพลเดช ปิ่นประทีป, นายพงศ์โพยม วาศภูติ, นายสังศิต พิริยะรังสรรค์, นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ รวมถึงนายอุดม เฟื่องฟุ้ง อดีตกรรมการ คตส. ซึ่งมีบทบาทตรวจสอบ พ.ต.ท.ทักษิณ เมื่อปี 2549 ในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก
ด้านนักวิชาการได้รับแต่งตั้งให้เป็น สปช. อีกด้วย ได้แก่ นายธรณ์ ธํารงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายวิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายวิริยะ นามศิริพงศพันธุ์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, นายวุฒิสาร ตันไชย รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า, , พล.อ.เอกชัย ศรีวิลาศ ผู้อำนวยการสำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า, นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ส่วนบุคคลในแวดวงสื่อสารมวลชน พว่ามีนายจุมพล รอดคําดี ผู้อำนวยการสถานีวิทยุจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, นายบุญเลิศ คชายุทธเดช หรือ บุญเลิศ ช้างใหญ่ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 2540 และอดีตบรรณาธิการอาวุโส หนังสือพิมพ์มติชน, นายพนา ทองมีอาคม กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กรรมการกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.), นายมานิจ สุขสมจิตร สื่อมวลชนอาวุโส, นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ อดีตกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) และอดีตรองผู้อำนวยการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ส.ส.ท.),นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด กรรมการบริหารหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นายวรวิทย์ ศรีอนันต์รักษา รองบรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น สปช.
ด้านนักการเมืองและบุคคลที่มีชื่อเสียง พบว่ามีนายดํารงค์ พิเดช อดีตอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และหัวหน้าพรรคทวงคืนผืนป่าประเทศไทย, นายพรชัย มุ่งเจริญพร นักการเมืองพรรคภูมิใจไทย จ.สุรินทร์, พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา อดีต รมช.กลาโหม ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่มีข่าวเรื่องคลิปถั่งเช่าอันโด่งดัง, นายอลงกรณ์ พลบุตร อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์, พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย, นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ อดีตทีมทนายความคดีรับจำนำข้าวของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มข้าราชการในอดีตและปัจจุบัน อาทิ นางผานิต นิติทัณฑ์ประภาศ ประธานผู้ตรวจการแผ่นดิน, นายประชา เตรัตน์, นายไพโรจน์ พรหมสาส์น อดีตรองปลัดกระทรวงมหาดไทย, นายวัลลภ พริ้งพงษ์ อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น, นายมนู เลียวไพโรจน์ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ส่วนกลุ่มเอ็นจีโอ อาทิ นายทิชา ณ นคร ผอ.ศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน บ้านกาญจนาภิเษก, นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานองค์กรต่อต้านคอรัปชั่น(ประเทศไทย) น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานมูลนิธิคุ้มครองสิทธิด้านเอดส์ นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิการจัดการน้ำแบบบูรณาการ
รายงานข่าวแจ้งว่า สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อม รับรายงานตัวสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ตั้งแต่วันที่ 8-16 ต.ค. เวลา 08.30-16.30 น. ไม่เว้นวันหยุดราชการ โดยสมาชิกฯ ต้องนำหลักฐาน ประกอบด้วย สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาใบสำคัญสมรส, สำเนาหลักฐานแสดงวุฒิการศึกษา, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส และรูปถ่าย ขนาด 1 นิ้ว จำนวน 6 รูป, ขนาด 2 นิ้ว จำนวน 6 รูป และขนาด 3 นิ้ว จำนวน 6 รูป
ทั้งนี้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้เตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อคิดเห็นการปฏิรูป 11 ด้าน ตามที่คณะทำงานเตรียมการปฏิรูปของกระทรวงกลาโหมดำเนินการ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2557 แจกให้กับ สปช. ได้ใช้ศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมการทำงาน