xs
xsm
sm
md
lg

“รสนา” งัดประกาศเขต ศก.จำเพาะตบปาก “ไพรินทร์” ยกเมฆท่อก๊าซฯในทะเลเป็นของ ปตท.

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร (แฟ้มภาพ)
“รสนา” แย้ง ซีอีโอ ปตท. มั่วมโนท่อส่งก๊าซฯในทะเลเป็นของ ปตท. ยกประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ประกอบความเห็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริต ยันแม้ท่อส่งก๊าซฯวางอยู่เลยระยะ 12 ไมล์ทะเล ก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของชาติ เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติเขต 200 ไมล์ทะเล เป็นไหล่ทวีปซึ่งเป็นอธิปไตยของประเทศเจ้าของไหล่ทวีปนั้น

วันนี้ (23ส.ค.) น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล ด้วยการยกความเห็นของที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริต ประกอบกับเอกสารประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะ เพื่อโต้แย้งคำให้สัมภาษณ์ของนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ซีอีโอ ปตท. เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2557 ที่ว่า “ท่อส่งก๊าซฯในทะเลไม่ได้ใช้อำนาจมหาชนในการรอนสิทธิ์ และไม่มีกฎหมายไทยบังคับใช้ได้เกิน 12 ไมล์ทะเล ดังนั้น ท่อส่งก๊าซฯในทะเลจึงเป็นของ ปตท...”

น.ส.รสนา ระบุว่า ได้หารือประเด็นนี้กับอดีตรองประธานศาลฎีกา เพราะท่านเคยเป็นที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา เกี่ยวกับประเด็นพื้นที่ 200 ไมล์ทะเลที่เป็นพื้นที่ไหล่ทวีป ท่านตอบดิฉันว่า

“ผมเคยให้ความเห็นไว้ในสมัยที่ผมเป็นที่ปรึกษาฯว่า แม้ว่าท่อวางอยู่เลยระยะ 12 ไมล์ทะเล ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจก็ยังเป็นสาธารณสมบัติของชาติ เพราะตามกฎบัตรสหประชาชาติเขต 200 ไมล์ทะเล เป็นไหล่ทวีปซึ่งเป็นอธิปไตยของประเทศเจ้าของไหล่ทวีปนั้นๆ ดังนั้น เมื่อท่อดังกล่าววางอยู่ในรัศมีไหล่ทวีปของประเทศไทย ท่อเหล่านั้นจึงเป็นสมบัติของชาติ จนบัดนี้ผมก็ยังยืนยันความเห็นเดิมอยู่ครับ”

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันไม่สับสนไปกับข้อมูลที่ซีอีโอ ปตท. สื่อสารผ่านสื่อกระแสหลักโดยขาดข้อมูลที่ถูกต้อง มีเอกสารประกาศเขตเศรษฐกิจจำเพาะเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2524 ข้อ 1 ระบุว่า “เขตเศรษฐกิจจำเพาะของราชอาณาจักรไทย ได้แก่ บริเวณที่อยู่ถัดออกไปจากทะเลอาณาเขตของราชอาณาจักรไทย มีความกว้าง 200 ไมล์ทะเล...”

ข้อ 2 จำกัดความเขตเศรษฐกิจจำเพาะ ว่า มีสิทธิอธิปไตยที่จะแสวงหาผลประโยชน์ จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติทั้งบนทะเลและใต้ทะเล ตลอดจนเสรีภาพในการเดินเรือและการบินผ่าน การวางสายเคเบิลและต่อใต้น้ำ ให้เป็นไปตามกฎหมายระหว่างประเทศ



กำลังโหลดความคิดเห็น