เผย 4 แนวทาง คำนวณค่าใช้จ่ายผู้สมัคร ส.ว.ชงที่ประชุม กกต.พิจารณา 26 ก.พ.นี้ ชี้หากยึดตามเขตเลือกตั้ง ส.ส.จะพุ่งสูงถึง 33 ล้านบาท หากยึดตามเขต ส.ส.แต่ละจังหวัดได้ไม่เท่ากัน อีกด้านหนึ่งยึดตามสัดส่วนของผู้ว่าฯ กทม. และ นายก อบจ.หาเสียงทั่วจังหวัด
วันนี้ (26 ก.พ.) รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า สำหรับแนวทางที่สำนักงาน กกต.เตรียมที่จะเสนอให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาในวันพรุ่งนี้ (27 ก.พ.) เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ว่า มีทั้งหมดด้วยกัน 4 แนวทาง คือ 1.ยึดตามเขตเลือกตั้งของ ส.ส. มาคูณด้วยจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ซึ่งแนวทางนี้ถือเป็นแนวทางเดิมที่เคยปฏิบัติมาตามกฎหมายเก่า ที่คำนวณตามเขตเลือกตั้งที่แบ่งเป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ (แบบพวง) เช่น เดิมในกรุงเทพฯ มีเพียง 12 เขต แต่ปัจจุบันในกรุงเทพฯ มีเขตเพิ่มขึ้นถึง 33 เขต หากคำนวณตามวิธีเดิม ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงถึง 33 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป
แนวทางที่ 2 คือ ยึดตามเขต ส.ส.ในแต่ละจังหวัด ว่า หากจังหวัดใดมีเขต ส.ส.มาก ก็จะแบ่งตามอัตราส่วน โดยแบ่งเป็น 1-4 เขต จะได้เงินค่าใช้จ่ายในจังหวัดเท่ากับ 1 ล้านบาท ดังนั้น จึงทำให้ในแต่ละจังหวัดจะได้ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด ส่วนแนวทางที่ 3 จะยึดตามจำนวนหน่วยเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ซึ่งคำนวณตามผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในแต่ละหน่วยเลือกตั้ง มาคูณด้วย 500 บาทต่อหน่วยเลือกตั้ง สมมติว่าเขตเลือกตั้งหนึ่งมี 1,000 หน่วย นำมาคูณด้วย 500 บาท จะเท่ากับว่าได้ค่าใช้จ่ายจำนวน 500,000 บาท
สำหรับแนวทางที่ 4 นั้น จะยึดตามสัดส่วนของผู้ว่าฯ กทม.และ นายก อบจ.ซึ่งเป็นการหาเสียงทั่วทั้งจังหวัด โดยยึดหลักจังหวัดในการคำนวณ ซึ่งหากจังหวัดใหญ่ก็จะได้ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงมากและจังหวัดเล็กก็จะได้ลดลงไป ทั้งนี้ ในแต่ละจังหวัดมีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงไว้แล้ว ซึ่งหาก กกต.ยึดตามแนวทางนี้ก็สามารถดำเนินการได้ทันที
วันนี้ (26 ก.พ.) รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ระบุว่า สำหรับแนวทางที่สำนักงาน กกต.เตรียมที่จะเสนอให้ที่ประชุม กกต.พิจารณาในวันพรุ่งนี้ (27 ก.พ.) เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ว.ว่า มีทั้งหมดด้วยกัน 4 แนวทาง คือ 1.ยึดตามเขตเลือกตั้งของ ส.ส. มาคูณด้วยจำนวนเงิน 1 ล้านบาท ซึ่งแนวทางนี้ถือเป็นแนวทางเดิมที่เคยปฏิบัติมาตามกฎหมายเก่า ที่คำนวณตามเขตเลือกตั้งที่แบ่งเป็นแบบเขตใหญ่เรียงเบอร์ (แบบพวง) เช่น เดิมในกรุงเทพฯ มีเพียง 12 เขต แต่ปัจจุบันในกรุงเทพฯ มีเขตเพิ่มขึ้นถึง 33 เขต หากคำนวณตามวิธีเดิม ก็จะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงถึง 33 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงเกินไป
แนวทางที่ 2 คือ ยึดตามเขต ส.ส.ในแต่ละจังหวัด ว่า หากจังหวัดใดมีเขต ส.ส.มาก ก็จะแบ่งตามอัตราส่วน โดยแบ่งเป็น 1-4 เขต จะได้เงินค่าใช้จ่ายในจังหวัดเท่ากับ 1 ล้านบาท ดังนั้น จึงทำให้ในแต่ละจังหวัดจะได้ค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละจังหวัด ส่วนแนวทางที่ 3 จะยึดตามจำนวนหน่วยเลือกตั้งในแต่ละจังหวัด ซึ่งคำนวณตามผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่อยู่ในแต่ละหน่วยเลือกตั้ง มาคูณด้วย 500 บาทต่อหน่วยเลือกตั้ง สมมติว่าเขตเลือกตั้งหนึ่งมี 1,000 หน่วย นำมาคูณด้วย 500 บาท จะเท่ากับว่าได้ค่าใช้จ่ายจำนวน 500,000 บาท
สำหรับแนวทางที่ 4 นั้น จะยึดตามสัดส่วนของผู้ว่าฯ กทม.และ นายก อบจ.ซึ่งเป็นการหาเสียงทั่วทั้งจังหวัด โดยยึดหลักจังหวัดในการคำนวณ ซึ่งหากจังหวัดใหญ่ก็จะได้ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงมากและจังหวัดเล็กก็จะได้ลดลงไป ทั้งนี้ ในแต่ละจังหวัดมีการคำนวณค่าใช้จ่ายในการหาเสียงไว้แล้ว ซึ่งหาก กกต.ยึดตามแนวทางนี้ก็สามารถดำเนินการได้ทันที