รองโฆษกทัพบกเผยตำรวจประสานขอตัว 4 ทหาร พล.ร.9 สอบสงสัยยิง “ขวัญชัย” แล้ว ยันถ้าผิดจริงต้องให้ออก แต่ “ประยุทธ์” ไม่ได้พูดอะไร
วันนี้ (10 ก.พ.) พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะขออนุมัติศาลเพื่อออกหมายจับกุมทหารสังกัดกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ผู้ต้องสงสัยในคดียิงนายขวัญ ไพรพนา แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จ.อุดรธานีว่า เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างชั้นสืบสวนสอบสวนของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยขณะนี้ทางตำรวจได้มีหนังสือประสานมายังกองทัพบกแล้ว ซึ่งเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอความร่วมมือให้ส่งตัวไปรับทราบข้อกล่าวหา โดยเป็นกำลังพลของกองทัพบกสังกัด พล.ร.9 จำนวน 4 นาย ทั้งนี้ ทางกองทัพบกจะอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. 2544 เหมือนในหลายคดีที่ผ่านมา โดยทางหน่วยจะให้นายทหารพระธรรมนูญนำตัวไปให้ปากคำต่อสู้คดี จากนั้นคงเป็นการแก้ต่างทางคดีต่อไป ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ส่วนการควบคุมผู้ต้องสงสัยขึ้นอยู่กับข้อตกลงว่าจะให้กองทัพหรือตำรวจควบคุมตัว ส่วนการต่อสู้คดีคงเหมือนกับคดีอื่นๆ หากพบว่าทหารทำผิดส่วนตัวก็ต้องไปสู้กันในศาล เมื่อถึงที่สุดและพบว่าผิดจริงก็ต้องให้ออก อย่างไรก็ตาม ถ้าคดียังไม่สิ้นสุดก็จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายด้วย ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
วันนี้ (10 ก.พ.) พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่ตำรวจจะขออนุมัติศาลเพื่อออกหมายจับกุมทหารสังกัดกองพลทหารราบที่ 9 (พล.ร.9) ผู้ต้องสงสัยในคดียิงนายขวัญ ไพรพนา แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จ.อุดรธานีว่า เรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างชั้นสืบสวนสอบสวนของทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยขณะนี้ทางตำรวจได้มีหนังสือประสานมายังกองทัพบกแล้ว ซึ่งเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ขอความร่วมมือให้ส่งตัวไปรับทราบข้อกล่าวหา โดยเป็นกำลังพลของกองทัพบกสังกัด พล.ร.9 จำนวน 4 นาย ทั้งนี้ ทางกองทัพบกจะอำนวยความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วยการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. 2544 เหมือนในหลายคดีที่ผ่านมา โดยทางหน่วยจะให้นายทหารพระธรรมนูญนำตัวไปให้ปากคำต่อสู้คดี จากนั้นคงเป็นการแก้ต่างทางคดีต่อไป ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรม ส่วนการควบคุมผู้ต้องสงสัยขึ้นอยู่กับข้อตกลงว่าจะให้กองทัพหรือตำรวจควบคุมตัว ส่วนการต่อสู้คดีคงเหมือนกับคดีอื่นๆ หากพบว่าทหารทำผิดส่วนตัวก็ต้องไปสู้กันในศาล เมื่อถึงที่สุดและพบว่าผิดจริงก็ต้องให้ออก อย่างไรก็ตาม ถ้าคดียังไม่สิ้นสุดก็จะต้องให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายด้วย ส่วน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ไม่ได้พูดถึงเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด