“สมชัย” รับไม่แน่ใจการเสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.เลือกตั้งใหม่ ขัด รธน.ม.108 หรือไม่ เผยจะไม่จัดให้มีการลงคะแนนกลัวกระทบเลือกตั้ง ส.ว. ขณะที่ เลขาฯ กกต.เชื่อออก พ.ร.ฎ.ใหม่ไม่ขัด กม.ใด คาดอย่าช้าส่งหนังสือถึงรัฐบาลได้ไม่เกิน 12 ก.พ.
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า การแก้ปัญหา 28 เขตจังหวัดทางภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร กกต.ได้มติเสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐบาลต้องตัดสินใจซึ่งในเรื่องข้อกฎหมายก็ไม่ทราบว่าจะไปขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ที่กำหนดให้วันเลือกตั้งทำได้เพียงครั้งเดียวหรือไม่ แต่ในแง่ของกฎหมาย กกต.ไม่มีอำนาจไปกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นมาเองเพราะเป็นอำนาจของรัฐบาล
ทั้งนี้ กกต.ก็ต้องเดินหน้าจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในเขตที่ไม่สามารถลงคะแนนได้ ในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะมี 7 จังหวัด ที่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มี.ค. ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะเลื่อนออกไปหรือไม่ แต่ กกต.ก็จะไม่จัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วงเดือน มี.ค. เพราะหากจัดเลือกตั้งในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันเกรงว่าจะทำให้เกิดปัญหาจนทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เลย
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า หนังสือที่ กกต.จะเสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการร่างหนังสือดังกล่าว โดยคาดว่าน่าจะเสนอเข้าที่ประชุม กกต.เพื่อให้เซ็นลงนามได้ภายในวันที่ 10 หรือ 11 ก.พ. และคาดว่าหนังสือดังกล่าวน่าจะส่งไปยังรัฐบาลอย่างช้าที่สุดก็ไม่น่าเกินวันที่ 12 ก.พ. นี้
อย่างไรก็ตาม ในหนังสือนี้ กกต.ไม่ได้กำหนดว่าจะให้การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันใด เป็นเพียงหนังสือที่แสดงความเห็นว่ารัฐบาลสามารถออกเป็น พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งเป็นเพียงหลักการเท่านั้น ส่วนถ้าหากรัฐบาลเห็นชอบในการออก พ.ร.ฎ. ก็ต้องมาคุยเรื่องกำหนดวันอีกครั้ง ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายของสำนักงาน กกต.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าการออก พ.ร.ฎ. เพื่อแก้ไขปัญหา 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายในข้อใด ไม่ว่าจะเป็นตัวรัฐธรรมนูญ หรือพ.ร.บ.เลือกตั้งก็ตาม อีกทั้งฝ่ายสำนักงาน กกต.ก็ไม่ได้มองว่าจะเป็นการออกซ้ำกับ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ถ้าทำแล้วขัดกฎหมาย กกต.ก็คงไม่ทำ
ส่วนแนวคิดเรื่องการออกเป็น พ.ร.ฎ.เพื่อแก้ปัญหา 28 เขตนั้น ทางสำนักงานได้คิดล่วงหน้าไว้ตั้งนานแล้ว ส่วนที่มีการถกเถียงว่าทำได้หรือไม่ได้นั้น ก็เป็นความเห็นของนักกฎหมายที่อาจตีความข้อกฎหมายในหลายๆ ทาง
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารงานเลือกตั้ง กล่าวว่า การแก้ปัญหา 28 เขตจังหวัดทางภาคใต้ที่ไม่มีผู้สมัคร กกต.ได้มติเสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ โดยรัฐบาลต้องตัดสินใจซึ่งในเรื่องข้อกฎหมายก็ไม่ทราบว่าจะไปขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 ที่กำหนดให้วันเลือกตั้งทำได้เพียงครั้งเดียวหรือไม่ แต่ในแง่ของกฎหมาย กกต.ไม่มีอำนาจไปกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นมาเองเพราะเป็นอำนาจของรัฐบาล
ทั้งนี้ กกต.ก็ต้องเดินหน้าจัดให้มีการลงคะแนนเลือกตั้งใหม่ในเขตที่ไม่สามารถลงคะแนนได้ ในวันที่ 2 ก.พ. ที่ผ่านมา ซึ่งการประเมินเบื้องต้นคาดว่าจะมี 7 จังหวัด ที่สามารถจัดการเลือกตั้งได้ อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้ง ส.ว. ที่จะมีขึ้นในวันที่ 30 มี.ค. ยังไม่สามารถตอบได้ว่าจะเลื่อนออกไปหรือไม่ แต่ กกต.ก็จะไม่จัดเลือกตั้ง ส.ส. ในช่วงเดือน มี.ค. เพราะหากจัดเลือกตั้งในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกันเกรงว่าจะทำให้เกิดปัญหาจนทำให้ไม่สามารถจัดการเลือกตั้งได้เลย
นายภุชงค์ นุตราวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า หนังสือที่ กกต.จะเสนอให้รัฐบาลออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่นั้น ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างกระบวนการร่างหนังสือดังกล่าว โดยคาดว่าน่าจะเสนอเข้าที่ประชุม กกต.เพื่อให้เซ็นลงนามได้ภายในวันที่ 10 หรือ 11 ก.พ. และคาดว่าหนังสือดังกล่าวน่าจะส่งไปยังรัฐบาลอย่างช้าที่สุดก็ไม่น่าเกินวันที่ 12 ก.พ. นี้
อย่างไรก็ตาม ในหนังสือนี้ กกต.ไม่ได้กำหนดว่าจะให้การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันใด เป็นเพียงหนังสือที่แสดงความเห็นว่ารัฐบาลสามารถออกเป็น พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ ซึ่งเป็นเพียงหลักการเท่านั้น ส่วนถ้าหากรัฐบาลเห็นชอบในการออก พ.ร.ฎ. ก็ต้องมาคุยเรื่องกำหนดวันอีกครั้ง ทั้งนี้ ฝ่ายกฎหมายของสำนักงาน กกต.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้วว่าการออก พ.ร.ฎ. เพื่อแก้ไขปัญหา 28 เขต ที่ไม่มีผู้สมัครนั้น ไม่เป็นการขัดต่อกฎหมายในข้อใด ไม่ว่าจะเป็นตัวรัฐธรรมนูญ หรือพ.ร.บ.เลือกตั้งก็ตาม อีกทั้งฝ่ายสำนักงาน กกต.ก็ไม่ได้มองว่าจะเป็นการออกซ้ำกับ พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ. ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ ถ้าทำแล้วขัดกฎหมาย กกต.ก็คงไม่ทำ
ส่วนแนวคิดเรื่องการออกเป็น พ.ร.ฎ.เพื่อแก้ปัญหา 28 เขตนั้น ทางสำนักงานได้คิดล่วงหน้าไว้ตั้งนานแล้ว ส่วนที่มีการถกเถียงว่าทำได้หรือไม่ได้นั้น ก็เป็นความเห็นของนักกฎหมายที่อาจตีความข้อกฎหมายในหลายๆ ทาง