ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ชี้สามารถเลื่อนเลือกตั้งได้ หากสถานการณ์บ่งชี้ว่า อาจส่งผลเสียหายต่อประเทศชาติได้ ยกปี 49 ที่ออก พ.ร.ฎ.แก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หลังศาล รธน.วินิจฉัยการเลือกตั้ง 2 เม.ย.49 เป็นโมฆะ แนะ ปธ.กกต.-นายกฯ ต้องหารือร่วมกัน เพื่อกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ พร้อมระบุชัด นายกฯ ต้องพิจารณาดำเนินการตรา พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ หาก กกต.แจ้งว่า ไม่สามารถจัดเลือกตั้งให้สุจริตและเที่ยงธรรมได้
วันนี้(24 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 214 ที่ขอให้วินิจฉัยว่า การกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่สามารถทำได้หรือไม่ และอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ เป็นอำนาจขององค์กรใด ภายหลังการพิจารณานานกว่า 7 ชั่วโมง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าว ระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สามารถกำหนดขึ้นใหม่ได้ เนื่องจากเห็นว่า บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ไม่ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นขัดขวางทำให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดเดิม ไม่อาจดำเนินการให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญได้ หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ความมั่นคงแห่งรัฐ หรือภัยพิบัติสาธารณะอันสำคัญ ก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ จากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้ตามสภาพการณ์แห่งความจำเป็น เหมือนกรณีเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในประเทศไทย เมื่อครั้งใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งวันเลือกตั้งทั่วไป ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 เป็นวันที่ 2 เม.ย. 49 ต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป พ.ศ.2549 ที่ได้กำหนดให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่เป็นวันที่ 15 ต.ค.49 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยชี้ขาดให้การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เม.ย.49 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากดำเนินการไปไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ยังมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า การกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปขึ้นใหม่นั้น เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 235 บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และวรรคสองบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ซึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีด้วย เพื่อให้บุคคลทั้งสอง เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
“ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า หากมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่จากวันเลือกตั้งทั่วไปเดิม ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายจะต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะและความเสียหายร้ายแรงมิให้เกิดแก่ประเทศชาติหรือประชาชนด้วยความสุจริตและถือประโยชน์ของประเทศชาติและสันติสุขของประชาชนเป็นสำคัญ หากมีเหตุที่จะนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงแก่ประเทศชาติหรือประชาชนอันเนื่องมาจากการจัดการเลือกตั้งทั่วไป คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ชอบที่จะต้องแจ้งให้กับนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการการเลือกตั้งในฐานะผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ”
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การวินิจฉัยเป็นการพิจารณาตามคำร้องว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ และอำนาจเป็นขององค์กรใด ซึ่งคำวินิจฉัยนี้เป็นแนวทางในวิธีปฏิบัติและเป็นคำวินิจฉัยกว้างๆ ซึ่งสุดท้ายก็แล้วแต่ 2 องค์กรที่ปรากฎตามคำร้องจะนำคำวินิจฉัยไปปฏิบัติตามหรือไม่ ส่วนรัฐบาลจะไม่มาหารือกับ กกต. หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล เพราะคำวินิจฉัยไม่ได้เป็นการไปออกคำสั่ง
ทั้งนี้มีรายงานว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ มีตุลาการฯ เข้าประชุมเพียง 8 คน ขาดนายชัช ชลวร เนื่องจากลาประชุม โดยการพิจารณาในประเด็นที่ 2 มติเสียงข้างมากดังกล่าว 7 ต่อ 1 โดย 1 เสียงข้างน้อย คือนายนุรักษ์ มาประณีต เห็นว่า เป็นอำนาจเต็มของ กกต. ที่จะเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อย่างไรก็ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐะรรมนูญที่ออกมาเชื่อว่าการพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ของนายกรัฐมตรีและประธานกกต.ที่จะต้องมีการหารือกันนั้น น่าจะยึดแนวทางเหมือนปี 2549 โดยอาจจะต้องมีการประชุมหารือกับทุกพรรคการเมือง และวันเลือกตั้งใหม่ที่จะกำหนดขึ้นนั้นก็น่าจะอยู่ในกรอบระยะเวลา 180 วัน นับแต่มีการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 56
วันนี้(24 ม.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 16.30 น. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 214 ที่ขอให้วินิจฉัยว่า การกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่สามารถทำได้หรือไม่ และอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ใหม่ เป็นอำนาจขององค์กรใด ภายหลังการพิจารณานานกว่า 7 ชั่วโมง สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าว ระบุว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า วันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป ตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร สามารถกำหนดขึ้นใหม่ได้ เนื่องจากเห็นว่า บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 108 วรรคสอง ไม่ได้บังคับเด็ดขาดว่า จะมีการกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ไม่ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุสุดวิสัยหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่นขัดขวางทำให้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปตามกำหนดเดิม ไม่อาจดำเนินการให้บรรลุผลตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญได้ หรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติ ความมั่นคงแห่งรัฐ หรือภัยพิบัติสาธารณะอันสำคัญ ก็สามารถกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ จากที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎรได้ตามสภาพการณ์แห่งความจำเป็น เหมือนกรณีเคยเกิดขึ้นมาก่อนแล้วในประเทศไทย เมื่อครั้งใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ซึ่งวันเลือกตั้งทั่วไป ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2549 เป็นวันที่ 2 เม.ย. 49 ต้องถูกกำหนดขึ้นมาใหม่ตามพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเพิ่มเติมกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไป พ.ศ.2549 ที่ได้กำหนดให้มีวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่เป็นวันที่ 15 ต.ค.49 หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยชี้ขาดให้การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เม.ย.49 ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจากดำเนินการไปไม่ถูกต้องตามที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ยังมีมติเสียงข้างมากเห็นว่า การกำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส. เป็นการทั่วไปขึ้นใหม่นั้น เป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากเห็นว่ารัฐธรรมนูญ มาตรา 235 บัญญัติให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นผู้ควบคุมและดำเนินการจัดหรือจัดให้มีการเลือกตั้ง ส.ส. ให้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม และวรรคสองบัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และการได้มาซึ่งส.ว. ซึ่งจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยชอบด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2556 มาตรา 5 ก็บัญญัติให้ประธานกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีด้วย เพื่อให้บุคคลทั้งสอง เป็นผู้รับผิดชอบการจัดการเลือกตั้งทั่วไป ให้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม ตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
“ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า หากมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่จากวันเลือกตั้งทั่วไปเดิม ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นผู้รักษาการตามกฎหมายจะต้องร่วมกันดำเนินการเพื่อป้องกันภัยพิบัติสาธารณะและความเสียหายร้ายแรงมิให้เกิดแก่ประเทศชาติหรือประชาชนด้วยความสุจริตและถือประโยชน์ของประเทศชาติและสันติสุขของประชาชนเป็นสำคัญ หากมีเหตุที่จะนำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงแก่ประเทศชาติหรือประชาชนอันเนื่องมาจากการจัดการเลือกตั้งทั่วไป คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ชอบที่จะต้องแจ้งให้กับนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อให้พิจารณาดำเนินการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งทั่วไปขึ้นใหม่ตามอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการการเลือกตั้งในฐานะผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร ที่จะต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อให้การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดีตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ”
นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า การวินิจฉัยเป็นการพิจารณาตามคำร้องว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ และอำนาจเป็นขององค์กรใด ซึ่งคำวินิจฉัยนี้เป็นแนวทางในวิธีปฏิบัติและเป็นคำวินิจฉัยกว้างๆ ซึ่งสุดท้ายก็แล้วแต่ 2 องค์กรที่ปรากฎตามคำร้องจะนำคำวินิจฉัยไปปฏิบัติตามหรือไม่ ส่วนรัฐบาลจะไม่มาหารือกับ กกต. หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องของรัฐบาล เพราะคำวินิจฉัยไม่ได้เป็นการไปออกคำสั่ง
ทั้งนี้มีรายงานว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ มีตุลาการฯ เข้าประชุมเพียง 8 คน ขาดนายชัช ชลวร เนื่องจากลาประชุม โดยการพิจารณาในประเด็นที่ 2 มติเสียงข้างมากดังกล่าว 7 ต่อ 1 โดย 1 เสียงข้างน้อย คือนายนุรักษ์ มาประณีต เห็นว่า เป็นอำนาจเต็มของ กกต. ที่จะเป็นผู้กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อย่างไรก็ตามคำวินิจฉัยศาลรัฐะรรมนูญที่ออกมาเชื่อว่าการพิจารณากำหนดวันเลือกตั้งใหม่ ของนายกรัฐมตรีและประธานกกต.ที่จะต้องมีการหารือกันนั้น น่าจะยึดแนวทางเหมือนปี 2549 โดยอาจจะต้องมีการประชุมหารือกับทุกพรรคการเมือง และวันเลือกตั้งใหม่ที่จะกำหนดขึ้นนั้นก็น่าจะอยู่ในกรอบระยะเวลา 180 วัน นับแต่มีการยุบสภาเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. 56