ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เริ่มประชุมนัดพิเศษพิจารณารับคำร้อง กกต.ขอวินิจฉัยอำนาจกำหนดวันเลือกตั้งหรือไม่ คาดมี 3 แนวทาง ชี้เร็วกว่ากำหนดเหตุพิจารณาแค่กฎหมายไม่ต้องสืบพยานเพิ่ม
วันนี้ (23 ม.ค.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเวลา 13.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ใน 2 ประเด็น คือ หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจขององค์กรใด ระหว่างผู้ร้อง กกต.กับ ครม. โดยนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก กกต. มีความเห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการกราบบังคมทูลฯ เสนอเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และเป็นผู้ที่จะต้องลงนามสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ คาดว่าผลการวินิจฉัยที่จะออกมา จะมี 3 แนวทาง คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง โดยมองว่าไม่อยู่ในกรอบอำนาจศาล หรือสั่งว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และสั่งว่าเป็นอำนาจ กกต. ในการกำหนดวันเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าเป็นอำนาจของรัฐบาล ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจรัฐบาลว่าจะดำเนินการหรือไม่ ซึ่งคาดว่าในวันนี้น่าจะเป็นการพิจารณาแนวทางในการวินิจฉัย แต่คงต้องดูด้วยว่าในคำวินิจฉัยจะมีรายละเอียดอย่างไร นอกจากการกำหนดอำนาจของทั้งสององค์กร และคำสั่งจะเป็นการเลื่อนวันเลือกตั้ง หรือวันลงคะแนนหรือไม่ ทั้งนี้ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ อาจจะเร็วกว่ากำหนด เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยในข้อกฎหมายเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการสืบพยานหรือขอเอกสารเพิ่มเติม
ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งได้ จะต้องดูในคำวินิจฉัยว่าศาลจะวินิจฉัยให้เลื่อนวันลงคะแนน หรือเลื่อนวันเลือกตั้ง ทั้งนี้หากเป็นการเลื่อนวันเลือกตั้งและมีการรับสมัครใหม่ ทุกอย่างที่ทำงานก็จะยุติลงทั้งหมดแล้วเริ่มต้นใหม่ แต่หากเลื่อนเฉพาะวันเลือกตั้ง การลงคะแนนนอกราชอาณาจักรก็ยังเก็บไว้ได้ เพราะทุกอย่างยังคงเป็นความลับ แม้จะมีการลงคะแนนแล้วบัตรเลือกตั้งยังคงเก็บไว้มานับพร้อมกันกับการนับคะแนนในวันเลือกตั้งทั่วไป
วันนี้ (23 ม.ค.) ที่ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อเวลา 13.30 น. คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีการประชุมนัดพิเศษเพื่อพิจารณาคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 214 ใน 2 ประเด็น คือ หากมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจก้าวล่วงได้ จะสามารถกำหนดวันเลือกตั้งขึ้นใหม่ได้หรือไม่ และอำนาจในการกำหนดวันเลือกตั้งเป็นอำนาจขององค์กรใด ระหว่างผู้ร้อง กกต.กับ ครม. โดยนายกรัฐมนตรี เนื่องจาก กกต. มีความเห็นว่านายกรัฐมนตรีเป็นผู้มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการกราบบังคมทูลฯ เสนอเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย ในร่าง พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และเป็นผู้ที่จะต้องลงนามสนองพระบรมราชโองการในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว
การวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ คาดว่าผลการวินิจฉัยที่จะออกมา จะมี 3 แนวทาง คือ ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้อง โดยมองว่าไม่อยู่ในกรอบอำนาจศาล หรือสั่งว่าเป็นอำนาจของรัฐบาลที่จะออก พ.ร.ฎ.กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ และสั่งว่าเป็นอำนาจ กกต. ในการกำหนดวันเลือกตั้ง แต่ทั้งนี้หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าเป็นอำนาจของรัฐบาล ก็ขึ้นอยู่กับดุลพินิจรัฐบาลว่าจะดำเนินการหรือไม่ ซึ่งคาดว่าในวันนี้น่าจะเป็นการพิจารณาแนวทางในการวินิจฉัย แต่คงต้องดูด้วยว่าในคำวินิจฉัยจะมีรายละเอียดอย่างไร นอกจากการกำหนดอำนาจของทั้งสององค์กร และคำสั่งจะเป็นการเลื่อนวันเลือกตั้ง หรือวันลงคะแนนหรือไม่ ทั้งนี้ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องนี้ อาจจะเร็วกว่ากำหนด เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยในข้อกฎหมายเท่านั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีการสืบพยานหรือขอเอกสารเพิ่มเติม
ทั้งนี้ หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าให้มีการเลื่อนการเลือกตั้งได้ จะต้องดูในคำวินิจฉัยว่าศาลจะวินิจฉัยให้เลื่อนวันลงคะแนน หรือเลื่อนวันเลือกตั้ง ทั้งนี้หากเป็นการเลื่อนวันเลือกตั้งและมีการรับสมัครใหม่ ทุกอย่างที่ทำงานก็จะยุติลงทั้งหมดแล้วเริ่มต้นใหม่ แต่หากเลื่อนเฉพาะวันเลือกตั้ง การลงคะแนนนอกราชอาณาจักรก็ยังเก็บไว้ได้ เพราะทุกอย่างยังคงเป็นความลับ แม้จะมีการลงคะแนนแล้วบัตรเลือกตั้งยังคงเก็บไว้มานับพร้อมกันกับการนับคะแนนในวันเลือกตั้งทั่วไป