กสม.ออกแถลงการณ์ประณามเหตุระเบิดใส่ม็อบ กปปส.บรรทัดทอง แนะแกนนำ-ตำรวจร่วมกันดูแลความปลอดภัย ต้องหาตัวคนผิดอย่างรวดเร็ว มีองค์กรที่สาม-บุคคลเข้าร่วม แนะรัฐดูแลไม่ให้รุนแรง เยียวยาตามหลักมนุษยธรรม แกนนำต้องรับผิดชอบความปลอดภัยของสื่อ คำนึงถึงสิทธิเด็กและสตรี วอนสองฝ่ายเจรจา
วันนี้ (19 ม.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ ประณามการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์การชุมนุมของ กปปส.เมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าจากการเดินรณรงค์เพื่อชักชวนให้ประชาชนมาร่วมการชุมนุม เกิดเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง โดยใช้ระเบิดสังหาร อาวุธสงครามที่บริเวณถนนบรรทัดทอง จนกระทั่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 39 ราย และเสียชีวิต จำนวน 1 ราย ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงสูงสุด ที่ผ่านมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุมมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อีกทั้งได้เน้นย้ำข้อวิตก กังวล และห่วงใยต่อสถานการณ์ที่จะเกิดความรุนแรงขึ้น โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดแนวทางสันติในการแก้ปัญหา เคารพสิทธิซึ่งกันและกันมาโดยตลอด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอประณามการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและญาติมิตรในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเหตุการณ์เหล่านี้ยังดำเนินต่อไป คาดว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง และความแตกร้าวยิ่งขึ้นในสังคมไทย จนยากที่จะเยียวยา อันเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายไม่ปรารถนา
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนแก่ทุกฝ่ายเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และการใช้อำนาจของรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนคำนึงและสมควรดำเนินการตามข้อที่ควรปฏิบัติ โดย 1. ผู้จัดการชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทำงานร่วมกันในการสร้างระบบการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่การชุมนุม ตลอดจนมาตรการต่างๆ ในการเฝ้าระวังและป้องปรามผู้ไม่หวังดีที่ก่อสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชุมนุม หรือต่อผู้ชุมนุมขณะกำลังเคลื่อนขบวน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีล่าสุด การปาระเบิดเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่บริเวณถนนบรรทัดทอง ทำให้เกิดมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังในจุดเสี่ยงต่างๆ ในบริเวณโดยรอบ เช่น ตึกสูง อาคารร้าง บริเวณสะพานลอย รถไฟฟ้า และสกายวอล์ค เป็นต้น
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินคดีผู้กระทำความผิดก่ออาชญากรรมโดยอาวุธร้ายแรงต่อผู้ชุมนุมอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยต้องได้รับความร่วมมือจากผู้จัดการชุมนุม และควรมีองค์กรหรือบุคคลที่สามเข้าร่วม เพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันในการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องดำเนินการสืบสวน และสอบสวน เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีเพื่อลงโทษตามกฎหมายในทุกเหตุการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรงที่มีการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สิน โดยแถลงให้ประชาชนได้รับทราบถึงข้อเท็จจริง และความคืบหน้าให้สาธารณชนได้รับรู้เป็นระยะโดยเร็ว
3. รัฐบาลต้องดูแลและป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ไม่ว่าความรุนแรงจะเกิดจากผู้ใด รัฐบาลจะปัดความรับผิดชอบมิได้ ต้องปฏิบัติภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย และเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยจะต้องหลีกเลี่ยงและป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นอีก
4. ผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดชอบในหลักประกันความปลอดภัยต่อการทำงานของสื่อมวลชนในที่ชุมนุม เพื่อมิให้มีการทำร้ายต่อสื่อมวลชน อันเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน
5. ผู้จัดการชุมนุมทุกกลุ่มทุกฝ่าย ต้องคำนึงถึงสิทธิเด็กและสตรีในการแสดงความเห็นบนเวทีไม่ควรใช้คำพูดและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการข่มขู่คุกคามเด็กหรือเยาวชนที่ปราศรัยบนเวที 6. รัฐบาลจะต้องให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ การเยียวยาผู้เสียหาย ผู้บาดเจ็บ และผู้ที่เสียชีวิตจากกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้เป็นมาตรฐานเพื่อให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม โดยการให้หลักประกันว่าจะให้ความเป็นธรรมและเยียวยาทุกฝ่าย ทั้งในรูปเงินช่วยเหลือ การฟื้นฟู การช่วยเหลืออื่นๆ และการเยียวยาด้านจิตใจโดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายได้ใช้สติโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก หยุดการเผชิญหน้าและหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ทางออกที่ดีที่สุดคือกลับมาสู่การเจรจาโดยเร็วเพื่อนำความสงบและสันติสุขคืนสู่ประเทศไทย
วันนี้ (19 ม.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ ประณามการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์การชุมนุมของ กปปส.เมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยเห็นว่าจากการเดินรณรงค์เพื่อชักชวนให้ประชาชนมาร่วมการชุมนุม เกิดเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง โดยใช้ระเบิดสังหาร อาวุธสงครามที่บริเวณถนนบรรทัดทอง จนกระทั่งมีผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 39 ราย และเสียชีวิต จำนวน 1 ราย ถือว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงสูงสุด ที่ผ่านมาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุมมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อีกทั้งได้เน้นย้ำข้อวิตก กังวล และห่วงใยต่อสถานการณ์ที่จะเกิดความรุนแรงขึ้น โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยึดแนวทางสันติในการแก้ปัญหา เคารพสิทธิซึ่งกันและกันมาโดยตลอด
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ขอประณามการกระทำดังกล่าวว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง และขอแสดงความเสียใจต่อผู้สูญเสียและญาติมิตรในเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ซึ่งหากเหตุการณ์เหล่านี้ยังดำเนินต่อไป คาดว่าจะนำไปสู่ความรุนแรง และความแตกร้าวยิ่งขึ้นในสังคมไทย จนยากที่จะเยียวยา อันเป็นสิ่งที่ประชาชนชาวไทยทุกฝ่ายไม่ปรารถนา
ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนแก่ทุกฝ่ายเกี่ยวกับการใช้สิทธิและเสรีภาพในการชุมนุม และการใช้อำนาจของรัฐเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนคำนึงและสมควรดำเนินการตามข้อที่ควรปฏิบัติ โดย 1. ผู้จัดการชุมนุมและเจ้าหน้าที่ตำรวจต้องทำงานร่วมกันในการสร้างระบบการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่การชุมนุม ตลอดจนมาตรการต่างๆ ในการเฝ้าระวังและป้องปรามผู้ไม่หวังดีที่ก่อสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ชุมนุม หรือต่อผู้ชุมนุมขณะกำลังเคลื่อนขบวน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีล่าสุด การปาระเบิดเข้าใส่ผู้ชุมนุมที่บริเวณถนนบรรทัดทอง ทำให้เกิดมีผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บ ทั้งนี้ ต้องระมัดระวังในจุดเสี่ยงต่างๆ ในบริเวณโดยรอบ เช่น ตึกสูง อาคารร้าง บริเวณสะพานลอย รถไฟฟ้า และสกายวอล์ค เป็นต้น
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องดำเนินคดีผู้กระทำความผิดก่ออาชญากรรมโดยอาวุธร้ายแรงต่อผู้ชุมนุมอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ โดยต้องได้รับความร่วมมือจากผู้จัดการชุมนุม และควรมีองค์กรหรือบุคคลที่สามเข้าร่วม เพื่อให้เกิดความไว้วางใจซึ่งกันและกันในการนำผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องดำเนินการสืบสวน และสอบสวน เพื่อหาตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีเพื่อลงโทษตามกฎหมายในทุกเหตุการณ์ที่มีการใช้ความรุนแรงที่มีการสูญเสียชีวิต บาดเจ็บ และทรัพย์สิน โดยแถลงให้ประชาชนได้รับทราบถึงข้อเท็จจริง และความคืบหน้าให้สาธารณชนได้รับรู้เป็นระยะโดยเร็ว
3. รัฐบาลต้องดูแลและป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง เพื่อให้การชุมนุมเป็นไปอย่างสงบเรียบร้อย ไม่ว่าความรุนแรงจะเกิดจากผู้ใด รัฐบาลจะปัดความรับผิดชอบมิได้ ต้องปฏิบัติภายใต้กรอบแห่งกฎหมาย และเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล โดยจะต้องหลีกเลี่ยงและป้องกันมิให้เกิดสถานการณ์ความรุนแรงที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นอีก
4. ผู้จัดการชุมนุมต้องรับผิดชอบในหลักประกันความปลอดภัยต่อการทำงานของสื่อมวลชนในที่ชุมนุม เพื่อมิให้มีการทำร้ายต่อสื่อมวลชน อันเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของสื่อมวลชน
5. ผู้จัดการชุมนุมทุกกลุ่มทุกฝ่าย ต้องคำนึงถึงสิทธิเด็กและสตรีในการแสดงความเห็นบนเวทีไม่ควรใช้คำพูดและเนื้อหาที่ไม่เหมาะสม ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือการข่มขู่คุกคามเด็กหรือเยาวชนที่ปราศรัยบนเวที 6. รัฐบาลจะต้องให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ การเยียวยาผู้เสียหาย ผู้บาดเจ็บ และผู้ที่เสียชีวิตจากกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ที่วางไว้เป็นมาตรฐานเพื่อให้เป็นไปตามหลักมนุษยธรรม โดยการให้หลักประกันว่าจะให้ความเป็นธรรมและเยียวยาทุกฝ่าย ทั้งในรูปเงินช่วยเหลือ การฟื้นฟู การช่วยเหลืออื่นๆ และการเยียวยาด้านจิตใจโดยไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจึงขอวิงวอนให้ทุกฝ่ายได้ใช้สติโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติเป็นหลัก หยุดการเผชิญหน้าและหยุดการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ ทางออกที่ดีที่สุดคือกลับมาสู่การเจรจาโดยเร็วเพื่อนำความสงบและสันติสุขคืนสู่ประเทศไทย