ทีดีอาร์ไอเผยโมเดลปฏิรูป เสนอสภาปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง แล้วให้ทำงานต่อเนื่องไปถึงหลังเลือกตั้ง โยน ส.ส.ร.บรรจุการปฏิรูปไว้ในรัฐธรรมนูญ และให้รัฐธรรมนูญใหม่ต้องได้เสียงข้างมากแบบ 2 ใน 3 เพิ่มอำนาจต่อรอง
วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงแนวทางการปฎิรูปประเทศภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยระบุว่า การปฏิรูปเป็นเรื่องดี แต่ข้อเสนอที่เห็นเกือบทุกข้อเสนอมีจุดอ่อน 2 ประการคือ
(ก) ไม่ได้มีที่มาจากประชาชนเท่าที่ควร หากเป็นเช่นนี้การปฏิรูปที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้รับการยอมรับและนำไปสู่การชุมนุมของอีกฝ่ายในที่สุด กลายเป็นวงจรความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุด
(ข) ไม่มีสภาพบังคับตามกฏหมาย ส่วนใหญ่เป็นเพียงการทำสัตยาบันว่ารัฐบาลน่าจะ “พิจารณา” ข้อเสนอปฏิรูป ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามประชาชนก็ต้องออกมาชุมนุมทวงถามอยู่เรื่อยๆ
นายสมชัย ให้ข้อเสนอแนะการปฏิรูปประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยสรุปจากข้อเสนอแนะ “ข้อเสนอทางออกประเทศไทย...ผ่านข้อตกลงประกอบการยุบสภา” ที่เคยเสนอไว้ก่อนแล้ว แต่ปรับให้มีสภาปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง แล้วให้ทำงานต่อเนื่องไปถึงหลังเลือกตั้ง แต่มีหน้าที่เพียงให้ข้อเสนอเท่านั้น
โดยสุดท้ายองค์กรที่ตัดสินใจว่าจะปฏิรูปอย่างไรควรกลับไปที่ตัวแทนประชาชน ในที่นี้คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ที่มีสัดส่วนสมาชิกตามที่ประชาชนทั้งประเทศเลือกมา ส.ส.ร.จะทำการบรรจุการปฏิรูปไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีสภาพบังคับสูงสุดตามกฏหมาย
และเพื่อตอบโจทย์ผู้ชุมนุมปัจจุบัน ให้รัฐธรรมนูญใหม่ต้องได้เสียงข้างมากแบบ Super Majority คือ 2 ใน 3 เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้มีการปฏิรูปตามแนวทางเสียงส่วนน้อยด้วย เช่น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คอร์รัปชัน และอื่นๆ
วันนี้ (16 ธ.ค.) นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงแนวทางการปฎิรูปประเทศภายใต้ระบบประชาธิปไตยโดยระบุว่า การปฏิรูปเป็นเรื่องดี แต่ข้อเสนอที่เห็นเกือบทุกข้อเสนอมีจุดอ่อน 2 ประการคือ
(ก) ไม่ได้มีที่มาจากประชาชนเท่าที่ควร หากเป็นเช่นนี้การปฏิรูปที่เกิดขึ้นอาจไม่ได้รับการยอมรับและนำไปสู่การชุมนุมของอีกฝ่ายในที่สุด กลายเป็นวงจรความขัดแย้งที่ไม่สิ้นสุด
(ข) ไม่มีสภาพบังคับตามกฏหมาย ส่วนใหญ่เป็นเพียงการทำสัตยาบันว่ารัฐบาลน่าจะ “พิจารณา” ข้อเสนอปฏิรูป ถ้ารัฐบาลไม่ทำตามประชาชนก็ต้องออกมาชุมนุมทวงถามอยู่เรื่อยๆ
นายสมชัย ให้ข้อเสนอแนะการปฏิรูปประเทศภายใต้ระบอบประชาธิปไตย โดยสรุปจากข้อเสนอแนะ “ข้อเสนอทางออกประเทศไทย...ผ่านข้อตกลงประกอบการยุบสภา” ที่เคยเสนอไว้ก่อนแล้ว แต่ปรับให้มีสภาปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง แล้วให้ทำงานต่อเนื่องไปถึงหลังเลือกตั้ง แต่มีหน้าที่เพียงให้ข้อเสนอเท่านั้น
โดยสุดท้ายองค์กรที่ตัดสินใจว่าจะปฏิรูปอย่างไรควรกลับไปที่ตัวแทนประชาชน ในที่นี้คือสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ หรือ ส.ส.ร.ที่มีสัดส่วนสมาชิกตามที่ประชาชนทั้งประเทศเลือกมา ส.ส.ร.จะทำการบรรจุการปฏิรูปไว้ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีสภาพบังคับสูงสุดตามกฏหมาย
และเพื่อตอบโจทย์ผู้ชุมนุมปัจจุบัน ให้รัฐธรรมนูญใหม่ต้องได้เสียงข้างมากแบบ Super Majority คือ 2 ใน 3 เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองให้มีการปฏิรูปตามแนวทางเสียงส่วนน้อยด้วย เช่น การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ คอร์รัปชัน และอื่นๆ