ปธ.กมธ.สอบทุจริต วุฒิฯ บี้ รบ.ทบทวน พ.ร.บ.มั่นคงฯ ย้อนเคยใช้กับ อพส.ลิดรอนสิทธิ์ ไม่แจงปิดกั้นจราจร หน.ชุด ตร.ไม่ชัดเจน เกิดเหตุหาคนรับผิดชอบไม่ได้ ฝาก จนท.-ปชช. รู้การจำกัดสิทธิตัวเอง “ไพบูลย์” ชี้ออก พ.ร.บ.อาจไม่ชอบด้วย กม. เหตุยังไม่ชุมนุม เชิญ “นิวัฒน์ธำรง-อดุลย์” แจง กมธ. ยัน ปชช.มีสิทธิชุมนุมสงบ ได้คุ้มครองตาม ม.62 ใช้สิทธิเพิกถอน พ.ร.บ. “ตรึงใจ” ซัด ออก กม.ก่อนชุมนุมไม่เป็น ปชต.
วันนี้ (1 ส.ค.) นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภา แถลงว่า อยากให้ทบทวนรัฐบาลทบทวนการประกาศใช่พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งราชอาณจักร พ.ศ. 2551 เพราะเมื่อครั้งการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 ที่ผ่านมาพบว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นการลิดรอนสิทธิ เพราะไม่มีประกาศเส้นทางการจราจรที่ปิดกั้นกับประชาชนล่วงหน้า รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควบคุมฝูงชนแต่ละพื้นที่ ไม่มีการกำหนดหัวหน้าชุดที่ชัดเจน เมื่อเวลาเกิดเหตุวุ่นวายจึงหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ทั้งนี้ กมธ.ตรวจสอบทุจริตอยากให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แจ้งประชาชนรับทราบถึงพื้นที่เปิดหรือปิดการสัญจรที่ชัดเจนให้ประชานรับทราบ ประชาชนจะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ปธ.กมธ.ตรวจสอบทุจริตมีความห่วงใยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และอยากให้ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่และประชาชน รับรู้ถึงการจำกัดสิทธิของตนเอง ที่จะได้รับตามระบอบประชาธิปไตย
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แถลงว่า ที่ประชุม กมธ.ตรวจสอบทุจริตฯ กล่าวถึงมติของ กมธ.ต่อการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณจักร ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มจะอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่ หรือความรับผิดชอบ ในการแก้ปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย ซึ่ง กมธ.เห็นว่า การประกาศดังกล่าว อาจมิชอบด้วยกฏหมายเพราะไม่เป็นไปตามมาตรา 55 ที่บัญญัติไว้ เพราะการชุมนุมยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีแนวโน้มที่จะใช้เวลานาน ทั้งนี้ยังเห็นว่าเรื่องดังกล่าว มีเพียง สตช.เพียงหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบดูแลการชุมนุม ดังนั้นในวันที่ 8 ส.ค.กมธ.จะเชิญนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้ประกาศ พ.ร.บ.ดังกล่าว รวมถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.เข้ามาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ
นายไพบูลย์กล่าวอีกว่า ตนอยากย้ำให้ประชาชนทราบว่า ประชาชนมีสิทธิ์ตามมาตรา 63 ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ การจำกัดสิทธิ์เสรีภาพตามวรรค 1 จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ ทั้งนี้เห็นว่าประชาชนยังมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 62 ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิติดตาม และร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริต แก่องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครอง
“การที่ประชาชนออกมามาใช้สิทธิโดยสงบปราศจากอาวุธ ต้องไม่ถูกจำกัดสิทธิ เว้นแต่จะมีกฏหมายเฉพาะบัญญัติไว้ ซึ่งหากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการถูกลิดรอนสิทธิจากรัฐบาล ย่อมมีสิทธิ์ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเพิกถอนการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงครั้งนี้ได้ ทั้งนี้ยังได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 62 ในการตรวจสอบอำนาจรัฐโดยสุจริตซึ่ง กมธ.ตรวจสอบทุจริต อยากให้ประชาชนได้ทราบข้อกฏหมายตรงนี้ด้วย” นายไพบูลย์กล่าว
ด้านนางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา กล่าวย้ำว่า เจ้าหน้าที่ควรใช้ความระมัดระวังต่อการจำกัดสิทธิของประชาชนที่ชุมนุมปราศจากอาวุธ อย่าให้เหมือน ครั้งการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ที่พบว่าเจ้าหน้าที่มีการใช้กำลังสลาย และใช้แก๊สน้ำตาเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้จากการที่รัฐบาลมีการประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง ทั้งที่ประชาชนยังไม่มีการเคลื่อนไหว โดยรองนายกฯอย่านำการชุมนุมโดยสงบ มาอ้างในการประกาศ พ.ร.บ. ซึ่งตนเห็นว่าไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
วันนี้ (1 ส.ค.) นายสาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการศึกษาตรวจสอบเรื่องทุจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภา แถลงว่า อยากให้ทบทวนรัฐบาลทบทวนการประกาศใช่พระราชบัญญัติความมั่นคงแห่งราชอาณจักร พ.ศ. 2551 เพราะเมื่อครั้งการชุมนุมขององค์การพิทักษ์สยาม เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 55 ที่ผ่านมาพบว่า การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง เป็นการลิดรอนสิทธิ เพราะไม่มีประกาศเส้นทางการจราจรที่ปิดกั้นกับประชาชนล่วงหน้า รวมถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ควบคุมฝูงชนแต่ละพื้นที่ ไม่มีการกำหนดหัวหน้าชุดที่ชัดเจน เมื่อเวลาเกิดเหตุวุ่นวายจึงหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ ทั้งนี้ กมธ.ตรวจสอบทุจริตอยากให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) แจ้งประชาชนรับทราบถึงพื้นที่เปิดหรือปิดการสัญจรที่ชัดเจนให้ประชานรับทราบ ประชาชนจะได้ไม่ทำผิดกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ปธ.กมธ.ตรวจสอบทุจริตมีความห่วงใยต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไปลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน และอยากให้ทั้งสองฝ่ายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหน้าที่และประชาชน รับรู้ถึงการจำกัดสิทธิของตนเอง ที่จะได้รับตามระบอบประชาธิปไตย
นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แถลงว่า ที่ประชุม กมธ.ตรวจสอบทุจริตฯ กล่าวถึงมติของ กมธ.ต่อการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ซึ่งมาตรา 15 บัญญัติว่า ในกรณีที่ปรากฏเหตุกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณจักร ต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมีแนวโน้มจะอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ทั้งอยู่ในอำนาจหน้าที่ หรือความรับผิดชอบ ในการแก้ปัญหาของหน่วยงานของรัฐหลายหน่วย ซึ่ง กมธ.เห็นว่า การประกาศดังกล่าว อาจมิชอบด้วยกฏหมายเพราะไม่เป็นไปตามมาตรา 55 ที่บัญญัติไว้ เพราะการชุมนุมยังไม่เกิดขึ้น ดังนั้นจึงไม่มีแนวโน้มที่จะใช้เวลานาน ทั้งนี้ยังเห็นว่าเรื่องดังกล่าว มีเพียง สตช.เพียงหน่วยงานเดียวที่รับผิดชอบดูแลการชุมนุม ดังนั้นในวันที่ 8 ส.ค.กมธ.จะเชิญนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รองนายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้ประกาศ พ.ร.บ.ดังกล่าว รวมถึง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว ผบ.ตร.เข้ามาชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ
นายไพบูลย์กล่าวอีกว่า ตนอยากย้ำให้ประชาชนทราบว่า ประชาชนมีสิทธิ์ตามมาตรา 63 ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมอย่างสงบโดยปราศจากอาวุธ การจำกัดสิทธิ์เสรีภาพตามวรรค 1 จะกระทำมิได้ เว้นแต่อาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ ทั้งนี้เห็นว่าประชาชนยังมีสิทธิ์ได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 62 ที่บัญญัติว่า บุคคลย่อมมีสิทธิติดตาม และร้องขอให้มีการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยงานรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐ บุคคลซึ่งให้ข้อมูลโดยสุจริต แก่องค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ย่อมได้รับการคุ้มครอง
“การที่ประชาชนออกมามาใช้สิทธิโดยสงบปราศจากอาวุธ ต้องไม่ถูกจำกัดสิทธิ เว้นแต่จะมีกฏหมายเฉพาะบัญญัติไว้ ซึ่งหากประชาชนที่ได้รับผลกระทบ จากการถูกลิดรอนสิทธิจากรัฐบาล ย่อมมีสิทธิ์ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองเพิกถอนการประกาศ พ.ร.บ.ความมั่นคงครั้งนี้ได้ ทั้งนี้ยังได้รับความคุ้มครองตามมาตรา 62 ในการตรวจสอบอำนาจรัฐโดยสุจริตซึ่ง กมธ.ตรวจสอบทุจริต อยากให้ประชาชนได้ทราบข้อกฏหมายตรงนี้ด้วย” นายไพบูลย์กล่าว
ด้านนางตรึงใจ บูรณสมภพ ส.ว.สรรหา กล่าวย้ำว่า เจ้าหน้าที่ควรใช้ความระมัดระวังต่อการจำกัดสิทธิของประชาชนที่ชุมนุมปราศจากอาวุธ อย่าให้เหมือน ครั้งการชุมนุมของกลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) ที่พบว่าเจ้าหน้าที่มีการใช้กำลังสลาย และใช้แก๊สน้ำตาเกินกว่าเหตุ ทั้งนี้จากการที่รัฐบาลมีการประกาศ พ.ร.บ.มั่นคง ทั้งที่ประชาชนยังไม่มีการเคลื่อนไหว โดยรองนายกฯอย่านำการชุมนุมโดยสงบ มาอ้างในการประกาศ พ.ร.บ. ซึ่งตนเห็นว่าไม่ใช่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย