รองโฆษกทัพบก จวกสื่อจ้อด่ากองทัพไม่ปกป้องกำลังพลบ่อนทำลายกำลังใจ ยันตั้งทีมดูแลอยู่ ไม่ได้เพิกเฉย โอด ทบ.ได้งบน้อยทำยุทโธปกรณ์ไม่ทันสมัย
วันนี้ (17 ก.ค.) พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก (ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงเนื่องจากมีสื่อบางฉบับได้นำเสนอข่าวเชิงตำหนิว่ากองทัพบกไม่ดูแลกำลังพล ไม่ปกป้องเกียรติยศของกองทัพว่า ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงตามที่สื่อบางสำนักได้นำเสนอ การนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวอาจส่งผลให้สังคมภายนอกทั่วไปเข้าใจผิด ทั้งยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นศรัทธาหน่วยงานและกำลังพลในกองทัพอีกด้วย ทั้งนี้ ทบ.ได้มีการตั้งคณะทำงานมาดำเนินการรับผิดชอบดูแลคดีทางการเมืองดูแลกำลังพล โดยในขณะนี้คดีส่วนใหญ่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ถูกกระทำ หรือคดีการไต่สวนชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการเสียชีวิต โดยผลสรุปของคำสั่งศาลก็จะยังคงไม่กระทบต่อตัว เจ้าหน้าที่ทหาร ผู้ปฏิบัติเพราะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
“ความข้องเกี่ยวในทางคดีการเสียชีวิตของการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 ของกำลังพล ทบ. มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ในส่วนแรกคดีการไต่สวนคดีชันสูตรพลิกศพ ที่เจ้าหน้าที่ทหารจะต้องถูกเชิญไปให้ปากคำในฐานะพยาน โดยคณะทำงาน ทบ.ก็ดูแลอำนวยความสะดวกให้ทั้งในเรื่องข้อมูลและเรื่องทางธุรการ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับกำลังพลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีในส่วนที่สองคือคดีที่เจ้าหน้าที่ทหารถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ทบ. ได้ให้คณะทำงานประสานงานกับครอบครัวและญาติกำลังพลอยู่เป็นระยะ รวมทั้งยังคงติดตามทวงถามความคืบหน้าในทางคดีกับเจ้าพนักงานที่รับผิดชอบอยู่ตลอด ไม่ได้มีการปล่อยละเลยเพิกเฉยจากการติดตามเรื่องในทางคดี อย่างที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ กองทัพบกเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและเชื่อว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจะทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากอคติ ด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่อย่างแท้จริง” รองโฆษก ทบ.ระบุ
รองโฆษกกองทัพบกยังให้สัมภาษณ์กรณีเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ของกองทัพบกว่า ในด้านพัฒนากองทัพยังคงได้รับน้อยกว่าที่เสนอประมาณการไปทุกครั้งทุกปี ทำให้มีผลกระทบต่อการทำให้กองทัพมีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทโธปกรณ์หลักหลายรายการชำรุดเนื่องจากใช้งานมานานมากจำเป็นต้องซ่อมคืนสภาพเพื่อให้ใช้การได้ แต่ยังคงต้องใช้เวลาในการจัดหา ซึ่งก็จะเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกฯ เริ่มจากมีคณะกรรมการกำหนดความต้องการ และให้ผู้ขายมานำเสนอให้คณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์ได้พิจารณาเลือก จึงจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อด้วยความยุติธรรมและโปร่งใสทุกขั้นตอน มีกระบวนการตรวจสอบภายทั้งจากหน่วยงานใน ทบ. และจากหน่วยงานภายนอกเช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เช่นเดียวกับงบประมาณของกระทรวง ทบวง กรมอื่นทุกประการ สำหรับระบบการจัดหาบางรายการมีความแตกต่างจากหน่วยงานอื่นๆ คือ ยุทโธปกรณ์หลักที่ต้องจัดหาจากต่างประเทศ ต้องใช้เวลาในการผลิต จึงจำเป็นต้องแบ่งการจัดสรรงบให้ตรงกับการส่งมอบ 3-5 ปี องค์ประกอบสำคัญของการพิจารณาจัดหาฯ จะต้องตรงกับแผนการพัฒนากองทัพที่กำหนดในห้วง 5-10 ปี ว่ากองทัพต้องการอะไรใหม่ จะซ่อมบำรุงอะไร ต้องการจะจำหน่ายอะไรที่หมดสภาพ ทุกอย่างมีแผนงานที่ชัดเจน จะไม่จัดหาตามความพอใจหรือการมีผลประโยชน์แฝงใดๆ ทั้งสิ้น
“สิ่งที่ให้ความสำคัญที่สุด คือ คำนึงถึงความปลอดภัยของกำลังพล สิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จัดหามา ต้องมีการรับรองความปลอดภัยและได้มาตรฐานจากองค์กรสากล สิ่งอุปกรณ์บางอย่างจำเป็นต้องจัดหามาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว และใช้งานอยู่ในต่างประเทศ นำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศสถานการณ์ในประเทศไทย บางอย่างถ้ามีปัญหาก็จะต้องรีบแก้ไขให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่อยากให้บุคคลใดได้กล่าวอ้างถึงผลประโยชน์ในขณะที่ไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงหรือไม่ได้มีกระบวนการตรวจสอบที่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้กองทัพเสียหายได้” รองโฆษก ทบ.ระบุ
พ.อ.วินธัยกล่าวว่า เหตุที่มีอัตราส่วนสูงเกิน 60% ในข้อเท็จจริงแล้ว อัตราเต็มของกำลังพล ทบ. มีมากกว่า 4 แสนนาย ปัจจุบันบรรจุเพียง 70% หรือประมาณ 2.6 แสนนาย มีนายทหาร 10% นายสิบ 40% พลทหาร 50% เหตุที่บรรจุนายทหาร นายสิบเต็มไม่ได้ เนื่องจากมีค่าตอบแทน งบสวัสดิการ บ้านพัก ค่ารักษาพยาบาลที่จะต้องตามมาอีกจำนวนมาก จึงทำให้การบรรจุทหารกองประจำการ ซึ่งมาจากการเกณฑ์ทหารยังมีความจำเป็นอยู่ และการมีทหารเกณฑ์ นอกจากจะช่วยลดงบฯ ค่าใช้จ่ายแล้ว ยังจะทำให้ประชาชนชายไทยที่ได้เข้าสู่ระบบถูกปลูกฝังระเบียบวินัย เพิ่มการเรียนรู้การฝึกวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออนาคตของชาติ นอกจากนี้ ด้านงบดำเนินงาน เนื่องจากภารกิจ ทบ.มี 2 ประการ คือ เตรียมกำลัง และใช้กำลัง ยามปกติ ต้องฝึกต้องพัฒนาและบริหารจัดการกำลังพลให้มีความพร้อม และเรียนรู้งานที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก เช่น งานพิทักษ์ปกป้องป่าไม้ งานป้องกันปราบปรามยาเสพติด งานป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
วันนี้ (17 ก.ค.) พ.อ.วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก (ทบ.) ให้สัมภาษณ์ถึงเนื่องจากมีสื่อบางฉบับได้นำเสนอข่าวเชิงตำหนิว่ากองทัพบกไม่ดูแลกำลังพล ไม่ปกป้องเกียรติยศของกองทัพว่า ขอชี้แจงว่าไม่เป็นความจริงตามที่สื่อบางสำนักได้นำเสนอ การนำเสนอข่าวในลักษณะดังกล่าวอาจส่งผลให้สังคมภายนอกทั่วไปเข้าใจผิด ทั้งยังเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจ และความเชื่อมั่นศรัทธาหน่วยงานและกำลังพลในกองทัพอีกด้วย ทั้งนี้ ทบ.ได้มีการตั้งคณะทำงานมาดำเนินการรับผิดชอบดูแลคดีทางการเมืองดูแลกำลังพล โดยในขณะนี้คดีส่วนใหญ่เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นคดีอาญาที่เจ้าหน้าที่ถูกกระทำ หรือคดีการไต่สวนชันสูตรพลิกศพหาสาเหตุการเสียชีวิต โดยผลสรุปของคำสั่งศาลก็จะยังคงไม่กระทบต่อตัว เจ้าหน้าที่ทหาร ผู้ปฏิบัติเพราะเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
“ความข้องเกี่ยวในทางคดีการเสียชีวิตของการชุมนุมทางการเมืองเมื่อปี 53 ของกำลังพล ทบ. มีอยู่ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ ในส่วนแรกคดีการไต่สวนคดีชันสูตรพลิกศพ ที่เจ้าหน้าที่ทหารจะต้องถูกเชิญไปให้ปากคำในฐานะพยาน โดยคณะทำงาน ทบ.ก็ดูแลอำนวยความสะดวกให้ทั้งในเรื่องข้อมูลและเรื่องทางธุรการ เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระให้กับกำลังพลที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดีในส่วนที่สองคือคดีที่เจ้าหน้าที่ทหารถูกทำร้ายจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ทบ. ได้ให้คณะทำงานประสานงานกับครอบครัวและญาติกำลังพลอยู่เป็นระยะ รวมทั้งยังคงติดตามทวงถามความคืบหน้าในทางคดีกับเจ้าพนักงานที่รับผิดชอบอยู่ตลอด ไม่ได้มีการปล่อยละเลยเพิกเฉยจากการติดตามเรื่องในทางคดี อย่างที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ กองทัพบกเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรมและเชื่อว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมจะทำหน้าที่ด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากอคติ ด้วยความรับผิดชอบในหน้าที่อย่างแท้จริง” รองโฆษก ทบ.ระบุ
รองโฆษกกองทัพบกยังให้สัมภาษณ์กรณีเรื่องงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ของกองทัพบกว่า ในด้านพัฒนากองทัพยังคงได้รับน้อยกว่าที่เสนอประมาณการไปทุกครั้งทุกปี ทำให้มีผลกระทบต่อการทำให้กองทัพมีความทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งยุทโธปกรณ์หลักหลายรายการชำรุดเนื่องจากใช้งานมานานมากจำเป็นต้องซ่อมคืนสภาพเพื่อให้ใช้การได้ แต่ยังคงต้องใช้เวลาในการจัดหา ซึ่งก็จะเป็นไปตามระเบียบสำนักนายกฯ เริ่มจากมีคณะกรรมการกำหนดความต้องการ และให้ผู้ขายมานำเสนอให้คณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์ได้พิจารณาเลือก จึงจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อด้วยความยุติธรรมและโปร่งใสทุกขั้นตอน มีกระบวนการตรวจสอบภายทั้งจากหน่วยงานใน ทบ. และจากหน่วยงานภายนอกเช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.), สำนักงานคณะกรรมการการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เช่นเดียวกับงบประมาณของกระทรวง ทบวง กรมอื่นทุกประการ สำหรับระบบการจัดหาบางรายการมีความแตกต่างจากหน่วยงานอื่นๆ คือ ยุทโธปกรณ์หลักที่ต้องจัดหาจากต่างประเทศ ต้องใช้เวลาในการผลิต จึงจำเป็นต้องแบ่งการจัดสรรงบให้ตรงกับการส่งมอบ 3-5 ปี องค์ประกอบสำคัญของการพิจารณาจัดหาฯ จะต้องตรงกับแผนการพัฒนากองทัพที่กำหนดในห้วง 5-10 ปี ว่ากองทัพต้องการอะไรใหม่ จะซ่อมบำรุงอะไร ต้องการจะจำหน่ายอะไรที่หมดสภาพ ทุกอย่างมีแผนงานที่ชัดเจน จะไม่จัดหาตามความพอใจหรือการมีผลประโยชน์แฝงใดๆ ทั้งสิ้น
“สิ่งที่ให้ความสำคัญที่สุด คือ คำนึงถึงความปลอดภัยของกำลังพล สิ่งอุปกรณ์ต่างๆ ที่จัดหามา ต้องมีการรับรองความปลอดภัยและได้มาตรฐานจากองค์กรสากล สิ่งอุปกรณ์บางอย่างจำเป็นต้องจัดหามาจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว และใช้งานอยู่ในต่างประเทศ นำมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศสถานการณ์ในประเทศไทย บางอย่างถ้ามีปัญหาก็จะต้องรีบแก้ไขให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่าที่สุด ไม่อยากให้บุคคลใดได้กล่าวอ้างถึงผลประโยชน์ในขณะที่ไม่มีข้อมูลข้อเท็จจริงหรือไม่ได้มีกระบวนการตรวจสอบที่ถูกต้อง เพราะอาจทำให้กองทัพเสียหายได้” รองโฆษก ทบ.ระบุ
พ.อ.วินธัยกล่าวว่า เหตุที่มีอัตราส่วนสูงเกิน 60% ในข้อเท็จจริงแล้ว อัตราเต็มของกำลังพล ทบ. มีมากกว่า 4 แสนนาย ปัจจุบันบรรจุเพียง 70% หรือประมาณ 2.6 แสนนาย มีนายทหาร 10% นายสิบ 40% พลทหาร 50% เหตุที่บรรจุนายทหาร นายสิบเต็มไม่ได้ เนื่องจากมีค่าตอบแทน งบสวัสดิการ บ้านพัก ค่ารักษาพยาบาลที่จะต้องตามมาอีกจำนวนมาก จึงทำให้การบรรจุทหารกองประจำการ ซึ่งมาจากการเกณฑ์ทหารยังมีความจำเป็นอยู่ และการมีทหารเกณฑ์ นอกจากจะช่วยลดงบฯ ค่าใช้จ่ายแล้ว ยังจะทำให้ประชาชนชายไทยที่ได้เข้าสู่ระบบถูกปลูกฝังระเบียบวินัย เพิ่มการเรียนรู้การฝึกวิชาชีพ ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออนาคตของชาติ นอกจากนี้ ด้านงบดำเนินงาน เนื่องจากภารกิจ ทบ.มี 2 ประการ คือ เตรียมกำลัง และใช้กำลัง ยามปกติ ต้องฝึกต้องพัฒนาและบริหารจัดการกำลังพลให้มีความพร้อม และเรียนรู้งานที่ไม่ใช่หน้าที่หลัก เช่น งานพิทักษ์ปกป้องป่าไม้ งานป้องกันปราบปรามยาเสพติด งานป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ