กมธ.แก้รธน. ม.190 ถกมาตรา 4 วรรค 3 และ 4 ฝ่ายค้านเสนอเพิ่มกรอบเจรจา ด้านรองเลขาฯ กฤษฎีกา รับเขียนเยียวยาลงในบทเฉพาะกาลไม่ได้ ต้องเป็นกฏหมายลูก
วันนี้ (23 พ.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา190 ว่าด้วยการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย ที่มีนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะการประชุม เพื่อพิจารณาแก้ไขในมาตรา 190 วรรคสามและวรรคสี่และมาตรา 4
โดยที่ประชุมได้ถกเถียงถึงมาตรา 4 ระบุว่า “ในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีทางด้านการค้าหรือการลงทุน ให้เสนอกรอบการเจรจาเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภา ผลการศึกษาถึงประโยชน์และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบด้วย ทั้งนี้ตามความเหมาะสม” ซึ่งในการประชุมครั้งที่ผ่านมาวรรคดังกล่าวได้รับมติเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่จากที่ประชุมแล้ว แต่เมื่อนายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ กรรมาธิการซีกฝ่ายค้าน เสนอให้เพิ่มคำว่า “กรอบเจรจา” ลงไป ขณะที่นายเกียรติ สิทธีอมร กรรมาธิการ ก็ติดใจเรื่อง “การเยียวยา” ด้วย ดังนั้นที่ประชุมจึงนำวรรคดังกล่าวมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
ด้านนายนิพนธ์ ฮะกีมี รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวชี้แจงต่อสาเหตุที่ไม่เพิ่มเติมคำว่า “เยียวยา” ว่าเรื่องการเยียวยาไม่สามารถเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลได้ เพราะรัฐบาลต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเยียวยา ซึ่งรัฐบาลดำเนินการเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว โดยจะต้องออกเป็นกฎหมายลูกเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน ส่วนประเด็นอื่นๆ นั้นจะเพิ่มเติมหรือตัดถ้อยคำใดออกไป ทางสำนักงานกฤษฎีกาไม่ขัดข้อง
วันนี้ (23 พ.ค.) ที่รัฐสภา การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา190 ว่าด้วยการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย ที่มีนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะการประชุม เพื่อพิจารณาแก้ไขในมาตรา 190 วรรคสามและวรรคสี่และมาตรา 4
โดยที่ประชุมได้ถกเถียงถึงมาตรา 4 ระบุว่า “ในกรณีที่เป็นหนังสือสัญญาที่มีบทให้เปิดเสรีทางด้านการค้าหรือการลงทุน ให้เสนอกรอบการเจรจาเพื่อขอความเห็นชอบของรัฐสภา ผลการศึกษาถึงประโยชน์และผลกระทบของหนังสือสัญญาดังกล่าวต่อรัฐสภาเพื่อทราบด้วย ทั้งนี้ตามความเหมาะสม” ซึ่งในการประชุมครั้งที่ผ่านมาวรรคดังกล่าวได้รับมติเห็นชอบจากเสียงส่วนใหญ่จากที่ประชุมแล้ว แต่เมื่อนายอภิชาติ ศักดิเศรษฐ์ กรรมาธิการซีกฝ่ายค้าน เสนอให้เพิ่มคำว่า “กรอบเจรจา” ลงไป ขณะที่นายเกียรติ สิทธีอมร กรรมาธิการ ก็ติดใจเรื่อง “การเยียวยา” ด้วย ดังนั้นที่ประชุมจึงนำวรรคดังกล่าวมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
ด้านนายนิพนธ์ ฮะกีมี รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวชี้แจงต่อสาเหตุที่ไม่เพิ่มเติมคำว่า “เยียวยา” ว่าเรื่องการเยียวยาไม่สามารถเขียนไว้ในบทเฉพาะกาลได้ เพราะรัฐบาลต้องมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการเยียวยา ซึ่งรัฐบาลดำเนินการเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว โดยจะต้องออกเป็นกฎหมายลูกเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ให้ชัดเจน ส่วนประเด็นอื่นๆ นั้นจะเพิ่มเติมหรือตัดถ้อยคำใดออกไป ทางสำนักงานกฤษฎีกาไม่ขัดข้อง