กมธ.แก้ ม.190 ถกข้อสรุปวรรคสองร่างสนธิสัญญาและ กม. ประเด็นหาถ้อยคำกระชับแทนคำสิ่งแวดล้อม เด็ก ปชป.แนะ ออก พ.ร.บ.แทน ชี้ครอบคลุมมากกว่า ฝั่ง พท.ยันท้ายสุดอยู่ที่ศาล รธน. ไม่จำเป็น ที่ประชุมเล็งถกออก กม.ลูกอีกหรือไม่
วันนี้ (16 พ.ค.) การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา190 ว่าด้วยการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย ที่มีนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะการประชุม โดยมีวาระการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปในถ้อยคำวรรคสองตามร่างของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ประเด็น “หรือมีบทเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ในการคุ้มครองหรือการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงาน ที่มิใช่เรื่องความร่วมมือทางวิชาการ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา” โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่าควรหาถ้อยคำให้กระชับ ไม่กว้างขวางจนเกินไป
นายเกียรติ สิทธีอมร กรรมาธิการ เสนอให้เติมถ้อยคำในวรรคสองว่า “ที่จะต้องออกพระราชบัญญัติหรือมีบทเปลี่ยนแปลงในการคุ้มครองหรือจัดการภายในประเทศ”แทนการระบุถ้อยคำสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงาน เนื่องจากมองว่าเนื้อหาจะครอบคลุมและมีความชัดเจนมากกว่า
ด้านนายวิชาญ มีนชัยนันท์ กรรมาธิการ กล่าวว่า การจะระบุถ้อยคำเพิ่มเติมสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงานหรือไม่นั้นก็เหมือนกัน เพราะสุดท้ายก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ดังนั้นหากถ้อยคำดังกล่าวไม่ฟุ่ยเฟือยจนเกินไปเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจน เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าการพิจารณาตามวรรคสองยังมีความจำเป็นที่จะต้องออกเป็นกฎหมายลูกอีกหรือไม่
วันนี้ (16 พ.ค.) การประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา190 ว่าด้วยการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศต่อการค้าและการลงทุนของประเทศไทย ที่มีนายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ประธานคณะกรรมาธิการ ทำหน้าที่เป็นประธานคณะการประชุม โดยมีวาระการพิจารณาเพื่อหาข้อสรุปในถ้อยคำวรรคสองตามร่างของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ประเด็น “หรือมีบทเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์ ในการคุ้มครองหรือการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงาน ที่มิใช่เรื่องความร่วมมือทางวิชาการ ต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภา” โดยที่ประชุมเห็นตรงกันว่าควรหาถ้อยคำให้กระชับ ไม่กว้างขวางจนเกินไป
นายเกียรติ สิทธีอมร กรรมาธิการ เสนอให้เติมถ้อยคำในวรรคสองว่า “ที่จะต้องออกพระราชบัญญัติหรือมีบทเปลี่ยนแปลงในการคุ้มครองหรือจัดการภายในประเทศ”แทนการระบุถ้อยคำสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงาน เนื่องจากมองว่าเนื้อหาจะครอบคลุมและมีความชัดเจนมากกว่า
ด้านนายวิชาญ มีนชัยนันท์ กรรมาธิการ กล่าวว่า การจะระบุถ้อยคำเพิ่มเติมสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ หรือพลังงานหรือไม่นั้นก็เหมือนกัน เพราะสุดท้ายก็ต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ดังนั้นหากถ้อยคำดังกล่าวไม่ฟุ่ยเฟือยจนเกินไปเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องระบุไว้อย่างชัดเจน เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานจะเป็นปัญหาได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ในที่ประชุมยังตั้งข้อสังเกตเพิ่มเติมว่าการพิจารณาตามวรรคสองยังมีความจำเป็นที่จะต้องออกเป็นกฎหมายลูกอีกหรือไม่