กมธ.ถกแก้ ม.68 ปชป.ยัน แก้ รธน.ต้องเพิ่มสิทธิ ปชช.ไม่ใช่เพิ่มอำนาจรัฐ ลดการตรวจสอบ อึดอัดลดอำนาจศาล รธน.ชี้ ลดถ่วงดุลอำนาจบิดเบือน รธน.ที่ประชุมยังไร้ข้อสรุป กมธ.ยังเห็นต่าง แต่พร้อมใจหนุนให้อัยการพิจารณาก่อน
วันนี้ (1 พ.ค.) ที่ห้อง 219 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่…พ.ศ…(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237) มีนายดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน โดยกรรมาธิการได้ซักถามนายวิรัตน์ กัลยาศิริ กรรมาธิการ ในฐานะผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการ แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายขัดมาตรา 68 หรือไม่ โดยนายวิรัตน์ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญทำได้ แต่หลักในการแก้ไขต้องเพิ่มสิทธิประชาชน ลดอำนาจรัฐ แต่กลายเป็นว่าขณะนี้เรากำลังลดอำนาจประชาชน ลดอำนาจศาล และลดการตรวจสอบ หากเสียงข้างมากจะลงเหวแล้วไม่มีการตรวจสอบบ้านเมืองอาจหายนะได้ ตนรู้สึกอึดอัดในการลดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้มีอำนาจวินิจฉัย และตัดสิทธิ์ประชาชนไม่ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพราะเท่ากับเป็นการบิดเบือนเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง และยังเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบถ่วงดุล
จากนั้นได้พิจารณาหลักการและเหตุผล และพิจารณารายมาตรา โดยกรรมาธิการได้เสนอแก้ไขในมาตราที่ 3 วรรค 1, 2, 3 กันอย่างกว้างขวาง โดยการประชุมในวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปและยังไม่มีการลงมติ เนื่องจากคณะกรรมาธิการยังมีความเห็นต่าง จึงเลื่อนไปลงมติในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้กรรมาธิการได้เห็นในแนวทางเดียวกันว่า จะให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาก่อน แต่ปัญหาอยู่ที่กรอบเวลาในการพิจารณาของอัยการสูงสุด และถ้อยคำที่จะใช้เพราะมีผู้เสนอจำนวนมาก
วันนี้ (1 พ.ค.) ที่ห้อง 219 อาคารรัฐสภา 2 มีการประชุมคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่…พ.ศ…(แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 68 และมาตรา 237) มีนายดิเรก ถึงฝั่ง เป็นประธาน โดยกรรมาธิการได้ซักถามนายวิรัตน์ กัลยาศิริ กรรมาธิการ ในฐานะผู้ร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยการ แก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เข้าข่ายขัดมาตรา 68 หรือไม่ โดยนายวิรัตน์ กล่าวว่า การแก้รัฐธรรมนูญทำได้ แต่หลักในการแก้ไขต้องเพิ่มสิทธิประชาชน ลดอำนาจรัฐ แต่กลายเป็นว่าขณะนี้เรากำลังลดอำนาจประชาชน ลดอำนาจศาล และลดการตรวจสอบ หากเสียงข้างมากจะลงเหวแล้วไม่มีการตรวจสอบบ้านเมืองอาจหายนะได้ ตนรู้สึกอึดอัดในการลดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญไม่ให้มีอำนาจวินิจฉัย และตัดสิทธิ์ประชาชนไม่ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง เพราะเท่ากับเป็นการบิดเบือนเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง และยังเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญในการตรวจสอบถ่วงดุล
จากนั้นได้พิจารณาหลักการและเหตุผล และพิจารณารายมาตรา โดยกรรมาธิการได้เสนอแก้ไขในมาตราที่ 3 วรรค 1, 2, 3 กันอย่างกว้างขวาง โดยการประชุมในวันนี้ยังไม่มีข้อสรุปและยังไม่มีการลงมติ เนื่องจากคณะกรรมาธิการยังมีความเห็นต่าง จึงเลื่อนไปลงมติในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้กรรมาธิการได้เห็นในแนวทางเดียวกันว่า จะให้อัยการสูงสุดเป็นผู้พิจารณาก่อน แต่ปัญหาอยู่ที่กรอบเวลาในการพิจารณาของอัยการสูงสุด และถ้อยคำที่จะใช้เพราะมีผู้เสนอจำนวนมาก