ปธ.เครือข่ายเกษตรกรสถาบันเกษตรกรด้านยางพาราฯ ยื่น ส.ว.ปราจีนฯ แก้ พ.ร.บ.การยางฯ อ้างมติผู้นำทั่วประเทศขอเลิกจำกัดขนาดอุตสาหกรรม เพิ่มผู้ทรงคุณวุฒิเป็น 14 คน และมาจากภาค ปชช.ด้วย และหนุนวงเงินตั้งธนาคารสวนยางเพื่อความเข้มแข็ง
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายสวัสดิ์ ลาดปาละ ประธานเครือข่ายเกษตรกรสถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร ระดับประดับเทศ เข้ายื่นหนังสือต่อนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.ปราจีนบุรี ในฐานะประธานกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย เรื่องขอแก้ไข พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย หลังจากเครือข่ายเกษตรกรฯ ได้ประชุมผู้นำเครือข่ายระดับประเทศไทยมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ จ.นครศรีธรรมราช และวันที่ 19 มี.ค. ที่ จ.ลำปาง จนมีมติร่วมกันถึงการพิจาณาการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ดังนี้ 1. ในส่วนการแก้ไขที่ระบุว่าจะมีการส่งเสริมให้เครือข่ายเกษตรกรต่างๆ ทั่วประเทศ สามารถร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้นั้น เป็นการจำกัดสิทธิของพี่น้องเกษตกรจึงขอให้แก้ไขเป็นไม่จำกัดขนาดอุตสาหกรรม
2. มาตรา 17 (3) ว่าด้วยการจัดสรรตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนที่มาจากการแต่ตั้งของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอให้แก้ไขเป็น 14 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรฯ ทั้ง 4 ภาค ภาคละ 2 คน ผู้ประกอบกิจการยาง 3 คน และบุคคลที่มีความชำนาญพิเศษ 3 คน 3. มาตรา49 (3) กองทุนส่งเสริมยางพาราสำหรับสำหรับผู้ประกอบการ และเกษตรกร สำหรับส่งเสริมการวิจัยด้านต่างๆ ในวงเงินร้อยละ 20 ขอให้แก้ไขเป็น ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมงานวิจัย ร้อยละ 3 ส่วนร้อยละ 17 ใช้ในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางเกิดความเข้มแข็งในการรวมกลุ่ม ด้านนายวิชาญกล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมาธิการต่อไป
วันนี้ (25 มี.ค.) ที่รัฐสภา นายสวัสดิ์ ลาดปาละ ประธานเครือข่ายเกษตรกรสถาบันเกษตรกรด้านยางพาราครบวงจร ระดับประดับเทศ เข้ายื่นหนังสือต่อนายวิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ ส.ว.ปราจีนบุรี ในฐานะประธานกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย เรื่องขอแก้ไข พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย หลังจากเครือข่ายเกษตรกรฯ ได้ประชุมผู้นำเครือข่ายระดับประเทศไทยมาแล้ว 2 ครั้ง เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ จ.นครศรีธรรมราช และวันที่ 19 มี.ค. ที่ จ.ลำปาง จนมีมติร่วมกันถึงการพิจาณาการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ดังนี้ 1. ในส่วนการแก้ไขที่ระบุว่าจะมีการส่งเสริมให้เครือข่ายเกษตรกรต่างๆ ทั่วประเทศ สามารถร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อมได้นั้น เป็นการจำกัดสิทธิของพี่น้องเกษตกรจึงขอให้แก้ไขเป็นไม่จำกัดขนาดอุตสาหกรรม
2. มาตรา 17 (3) ว่าด้วยการจัดสรรตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 คนที่มาจากการแต่ตั้งของ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอให้แก้ไขเป็น 14 คน โดยมาจากการเลือกตั้งโดยสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรฯ ทั้ง 4 ภาค ภาคละ 2 คน ผู้ประกอบกิจการยาง 3 คน และบุคคลที่มีความชำนาญพิเศษ 3 คน 3. มาตรา49 (3) กองทุนส่งเสริมยางพาราสำหรับสำหรับผู้ประกอบการ และเกษตรกร สำหรับส่งเสริมการวิจัยด้านต่างๆ ในวงเงินร้อยละ 20 ขอให้แก้ไขเป็น ค่าใช้จ่ายในการส่งเสริมงานวิจัย ร้อยละ 3 ส่วนร้อยละ 17 ใช้ในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดตั้งธนาคารสวนยาง เพื่อให้เกษตรกรชาวสวนยางเกิดความเข้มแข็งในการรวมกลุ่ม ด้านนายวิชาญกล่าวว่า จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การประชุมของคณะกรรมาธิการต่อไป