สะเก็ดไฟ
5 มีนาคม วันนักข่าวผ่านไปแล้วอย่างเงียบเชียบ หรืออาจจะเรียกว่า “เดียวดาย” คิดกันง่ายๆ วันที่ 1 พ.ค.ที่เป็น “วันแรงงาน” ยังดูว่าผู้คนจะตื่นเต้นมากกว่า เพราะอย่างน้อยวันแรงงานเราจะได้เห็นผู้ใช้แรงงานออกมายืนหยัดเรียกร้องสิทธิของตัวเองกันอย่างเข้มข้น
แต่เราไม่เคยเห็นนักข่าวใช้วันนักข่าวมาทบทวนการทำหน้าที่ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมเพิ่มเติมกว่าที่เป็นอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมืองมีความขัดแย้งสูง สังคมขาดองค์ความรู้ที่จะตัดสินเรื่องราวถูกผิดชั่วดี แต่ถูกชี้นำจากการบิดเบือนความจริงหรือวาระในใจของคนบางกลุ่มที่ต้องการกำหนดทิศทางใหม่ให้กับประเทศ
ในโอกาสนี้จึงเป็นเรื่องดีที่สื่อมวลชนที่ยังมีสำนึกรับผิดชอบต่อแผ่นดินเกิดของตัวเองจะได้ลองทบทวนการทำหน้าที่ของตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง และกำหนดบทบาทให้สื่อมวลชนเป็นหนึ่งในองคาพยพที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศนี้ไปอย่างถูกทิศถูกทาง ไม่ใช่ทำตัวเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ทำหน้าที่รายงานเรื่องราวต่างๆ เท่านั้น
อย่างแรกที่เพื่อนสื่อมวลชนน่าจะลองทบทวนดู คือ เราให้คุณค่ากับเรื่องของบทบรรณาธิการว่าเป็นหัวใจสำคัญในการบอกทิศทางของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ แต่น่าแปลกใจที่บทบรรณาธิการดังกล่าว กลับถูกซุกไว้ในซอกหลืบของหนังสือพิมพ์ที่ไม่สะดุดตาชวนให้ผู้คนอ่านแต่อย่างใด
ทั้งที่บทบรรณาธิการจำนวนไม่น้อยมีคุณค่าในการนำเสนอความเห็นที่เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง แต่น่าเสียดายที่มีประชาชนน้อยเต็มทีจะเหลือบสายตาไปอ่านบทบรรณาธิการที่ทรงคุณค่าเหล่านั้น เพราะพื้นที่หน้าสามซึ่งเปรียบเสมือนทำเลทองถูกใช้ไปเพื่อธุรกิจการข่าวมากกว่าจะใช้พื้นที่เพื่อเพิ่มพูนปัญญาให้กับประชาชน
เราจึงเห็นหน้า 3 ของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ อวยคนชั่ว เอื้อทรราช ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างโจ๋งครึ่ม ที่น่าเศร้าคือ บทความหากินเหล่านี้กลับได้พื้นที่ดีมีคนอ่าน แตกต่างจากบทบรรณาธิการโดยสิ้นเชิง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการสลับสับเปลี่ยนพื้นที่ให้บทบรรณาธิการมีที่ยืนอย่างเหมาะสมในหน้าหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก คือ ความล้มเหลวของโพลสำนักต่าง ๆ ที่หน้าแหกกันเป็นแถวจากการสำรวจความเห็นประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และยังสะท้อนถึงปัญหาคนทำโพลว่ามีวาระทางการเมืองซ่อนเร้น แอบเอางานวิชาการไปทำมาหากินอย่างไม่อายฟ้าอายดินด้วย
ประเด็นที่สื่อมวลชนไม่ควรจะมองข้ามไปคือ “โพลถูกสร้างโดยสื่อ” ถามว่าถ้าสื่อมวลชนได้บทสรุปแล้วว่า ทั้งเอแบคโพลล์ หรือสวนดุสิต ล้วนไร้ความน่าเชื่อถือ ขาดความขลังทางวิชาการ เพราะขังตัวเองไว้ใน “ถังแห่งผลประโยชน์” จนไม่สามารถตะเกียกตะกายออกมาได้
สื่อมวลชนก็ต้องบอยคอต ไม่ให้คุณค่ากับนักฉวยโอกาสที่เอางานวิชาการมาหากิน ด้วยการไม่นำเสนอข่าวโพลรับใช้การเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง
คงไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ที่สื่อมวลชนจะมานั่งก่นด่าหรือเรียกหาความรับผิดชอบจาก เอแบคโพลหรือสวนดุสิตโพล เพราะเห็นกันชัดเจนอยู่แล้วว่า อย่างหนาห้าห่วง ในทางกลับกันสื่อมวลชนควรจะเริ่มต้นจากตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ในวิสัยที่สามารถทำได้ทันที คือ การเลิกนำเสนอข่าวโพลจากทั้งสองสำนัก โดยก้าวข้ามความคิดที่ว่ามันเป็นประเด็นข่าวที่เล่นได้ไปเสีย แต่ต้องคิดว่าข่าวจากสำนักโพลเหล่านี้สร้างประโยชน์ใดๆ ต่อสาธารณะหรือไม่
ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเมือง แค่ผลสำรวจที่ว่าวัยรุ่นเตรียมเสียสาวในวันวาเลนไทน์ วิญญูชนก็พึงจะตัดสินได้ว่ามิใช่สิ่งที่จรรโลงใจหรือยกระดับสังคมแต่อย่างใด แล้วทำไมสื่อมวลชนยังนำเสนอข่าวเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่มองแบบฉาบฉวยว่าเป็นประเด็นที่เล่นได้โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจกลายเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดตามมา
ยิ่งในขณะนี้มีความชัดเจนอย่างที่สุดว่า บุคลากรที่ทำโพลนั้นมีความเชื่อมโยงอยู่กับอำนาจรัฐทั้งรับจ๊อบและตำแหน่งตามที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประเคนให้ ในขณะที่บางคนก็รับใช้เกินขอบเขตความวิชาการไปมาก
สื่อมวลชนจึงควรทำหน้าที่เป็นประตูเปิดปิดกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารก่อนที่จะไปถึงประชาชนว่า ข่าวไหนดี ข่าวไหนเน่า ไม่ใช่ปล่อยไปทั้งของดีของเสีย เมื่อโพลมันเน่าเชื่อถือไม่ได้ก็เลิกยัดเยียดให้ประชาชนเสพของเน่าได้แล้ว
เอาพื้นที่หน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ไปลงข่าวที่ให้ประโยชน์กับประชาชน สะท้อนถึงปัญหาของประเทศให้มากขึ้นจะดีกว่า หากทำได้เชื่อเถอะว่าบรรดาโพลสำนักต่างๆ จะมีการขยับปรับเปลี่ยนกลับเข้าสู่ความเป็นวิชาการมากขึ้น เพราะถ้าสื่อมวลชนไม่ให้ค่า กลุ่มคนที่หากินกับงานวิชาการก็หมดช่องทางเหมือนกัน
5 มีนาคม วันนักข่าวผ่านไปแล้วอย่างเงียบเชียบ หรืออาจจะเรียกว่า “เดียวดาย” คิดกันง่ายๆ วันที่ 1 พ.ค.ที่เป็น “วันแรงงาน” ยังดูว่าผู้คนจะตื่นเต้นมากกว่า เพราะอย่างน้อยวันแรงงานเราจะได้เห็นผู้ใช้แรงงานออกมายืนหยัดเรียกร้องสิทธิของตัวเองกันอย่างเข้มข้น
แต่เราไม่เคยเห็นนักข่าวใช้วันนักข่าวมาทบทวนการทำหน้าที่ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมเพิ่มเติมกว่าที่เป็นอยู่
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่บ้านเมืองมีความขัดแย้งสูง สังคมขาดองค์ความรู้ที่จะตัดสินเรื่องราวถูกผิดชั่วดี แต่ถูกชี้นำจากการบิดเบือนความจริงหรือวาระในใจของคนบางกลุ่มที่ต้องการกำหนดทิศทางใหม่ให้กับประเทศ
ในโอกาสนี้จึงเป็นเรื่องดีที่สื่อมวลชนที่ยังมีสำนึกรับผิดชอบต่อแผ่นดินเกิดของตัวเองจะได้ลองทบทวนการทำหน้าที่ของตัวเองให้สอดคล้องกับสถานการณ์บ้านเมือง และกำหนดบทบาทให้สื่อมวลชนเป็นหนึ่งในองคาพยพที่จะร่วมขับเคลื่อนประเทศนี้ไปอย่างถูกทิศถูกทาง ไม่ใช่ทำตัวเป็นแค่ผู้สังเกตการณ์ทำหน้าที่รายงานเรื่องราวต่างๆ เท่านั้น
อย่างแรกที่เพื่อนสื่อมวลชนน่าจะลองทบทวนดู คือ เราให้คุณค่ากับเรื่องของบทบรรณาธิการว่าเป็นหัวใจสำคัญในการบอกทิศทางของหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับ แต่น่าแปลกใจที่บทบรรณาธิการดังกล่าว กลับถูกซุกไว้ในซอกหลืบของหนังสือพิมพ์ที่ไม่สะดุดตาชวนให้ผู้คนอ่านแต่อย่างใด
ทั้งที่บทบรรณาธิการจำนวนไม่น้อยมีคุณค่าในการนำเสนอความเห็นที่เป็นคุณประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง แต่น่าเสียดายที่มีประชาชนน้อยเต็มทีจะเหลือบสายตาไปอ่านบทบรรณาธิการที่ทรงคุณค่าเหล่านั้น เพราะพื้นที่หน้าสามซึ่งเปรียบเสมือนทำเลทองถูกใช้ไปเพื่อธุรกิจการข่าวมากกว่าจะใช้พื้นที่เพื่อเพิ่มพูนปัญญาให้กับประชาชน
เราจึงเห็นหน้า 3 ของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ อวยคนชั่ว เอื้อทรราช ด้วยการบิดเบือนข้อเท็จจริงอย่างโจ๋งครึ่ม ที่น่าเศร้าคือ บทความหากินเหล่านี้กลับได้พื้นที่ดีมีคนอ่าน แตกต่างจากบทบรรณาธิการโดยสิ้นเชิง เป็นไปได้หรือไม่ที่จะมีการสลับสับเปลี่ยนพื้นที่ให้บทบรรณาธิการมีที่ยืนอย่างเหมาะสมในหน้าหนังสือพิมพ์
นอกจากนี้ ประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันมาก คือ ความล้มเหลวของโพลสำนักต่าง ๆ ที่หน้าแหกกันเป็นแถวจากการสำรวจความเห็นประชาชนในการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง และยังสะท้อนถึงปัญหาคนทำโพลว่ามีวาระทางการเมืองซ่อนเร้น แอบเอางานวิชาการไปทำมาหากินอย่างไม่อายฟ้าอายดินด้วย
ประเด็นที่สื่อมวลชนไม่ควรจะมองข้ามไปคือ “โพลถูกสร้างโดยสื่อ” ถามว่าถ้าสื่อมวลชนได้บทสรุปแล้วว่า ทั้งเอแบคโพลล์ หรือสวนดุสิต ล้วนไร้ความน่าเชื่อถือ ขาดความขลังทางวิชาการ เพราะขังตัวเองไว้ใน “ถังแห่งผลประโยชน์” จนไม่สามารถตะเกียกตะกายออกมาได้
สื่อมวลชนก็ต้องบอยคอต ไม่ให้คุณค่ากับนักฉวยโอกาสที่เอางานวิชาการมาหากิน ด้วยการไม่นำเสนอข่าวโพลรับใช้การเมืองที่ไม่สร้างสรรค์ในประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง
คงไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ที่สื่อมวลชนจะมานั่งก่นด่าหรือเรียกหาความรับผิดชอบจาก เอแบคโพลหรือสวนดุสิตโพล เพราะเห็นกันชัดเจนอยู่แล้วว่า อย่างหนาห้าห่วง ในทางกลับกันสื่อมวลชนควรจะเริ่มต้นจากตัวเองเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ในวิสัยที่สามารถทำได้ทันที คือ การเลิกนำเสนอข่าวโพลจากทั้งสองสำนัก โดยก้าวข้ามความคิดที่ว่ามันเป็นประเด็นข่าวที่เล่นได้ไปเสีย แต่ต้องคิดว่าข่าวจากสำนักโพลเหล่านี้สร้างประโยชน์ใดๆ ต่อสาธารณะหรือไม่
ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเมือง แค่ผลสำรวจที่ว่าวัยรุ่นเตรียมเสียสาวในวันวาเลนไทน์ วิญญูชนก็พึงจะตัดสินได้ว่ามิใช่สิ่งที่จรรโลงใจหรือยกระดับสังคมแต่อย่างใด แล้วทำไมสื่อมวลชนยังนำเสนอข่าวเหล่านี้ ถ้าไม่ใช่มองแบบฉาบฉวยว่าเป็นประเด็นที่เล่นได้โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่อาจกลายเป็นการสร้างค่านิยมที่ผิดตามมา
ยิ่งในขณะนี้มีความชัดเจนอย่างที่สุดว่า บุคลากรที่ทำโพลนั้นมีความเชื่อมโยงอยู่กับอำนาจรัฐทั้งรับจ๊อบและตำแหน่งตามที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ประเคนให้ ในขณะที่บางคนก็รับใช้เกินขอบเขตความวิชาการไปมาก
สื่อมวลชนจึงควรทำหน้าที่เป็นประตูเปิดปิดกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารก่อนที่จะไปถึงประชาชนว่า ข่าวไหนดี ข่าวไหนเน่า ไม่ใช่ปล่อยไปทั้งของดีของเสีย เมื่อโพลมันเน่าเชื่อถือไม่ได้ก็เลิกยัดเยียดให้ประชาชนเสพของเน่าได้แล้ว
เอาพื้นที่หน้ากระดาษหนังสือพิมพ์ไปลงข่าวที่ให้ประโยชน์กับประชาชน สะท้อนถึงปัญหาของประเทศให้มากขึ้นจะดีกว่า หากทำได้เชื่อเถอะว่าบรรดาโพลสำนักต่างๆ จะมีการขยับปรับเปลี่ยนกลับเข้าสู่ความเป็นวิชาการมากขึ้น เพราะถ้าสื่อมวลชนไม่ให้ค่า กลุ่มคนที่หากินกับงานวิชาการก็หมดช่องทางเหมือนกัน