ผมรู้สึกว่าการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครครั้งนี้ เป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ที่เคยมีมานับตั้งแต่กรุงเทพฯ ได้ถูกสถาปนาเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยเลย เนื้อหาสาระของการเลือกตั้งผู้ว่าฯ ถูกบิดเบือนไปหมด ความสำคัญของความโดดเด่นของผู้สมัครผู้ว่าฯ กทม.เนื้อหานโยบายของผู้สมัครแต่ละคนที่จะเป็นประโยชน์ที่จับต้องได้แก่ชาวกรุงเทพมหานครถูกมองข้ามไปหมด
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คราวนี้กลับกลายเป็นสงครามชิงเมืองหลวงของพรรคการเมืองสองพรรคโดยที่คน กทม.ที่มีสิทธิเลือกตั้งกลายเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อของพรรคเพื่อไทยที่ตกเป็นข่าวว่ามีการใช้วิชามารสารพัดงัดขึ้นมา ตั้งแต่โพลชี้นำรับจ้างหรือการดิสเครดิตพรรคคู่แข่งจนกระทั่งเรื่องฉาวดังกล่าวก็วกเข้าสู่ผู้สมัครพรรคตัวเอง และเครือข่ายจนกระโดดชิ่งหนีกันแทบไม่ทัน ขณะเดียวกันก็มีผู้ร้องเรียนว่ามีการล็อกเลขท้ายหวย ซึ่งก็ยังหน้าด้านทำได้ หรือกระทั่งตัดต่อรูปดารานักร้อง-นักมวยมาสนับสนุนพรรคตน
ทางฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่แพ้กัน ที่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคตนเองก็ไม่เป็นที่นิยมของคน กทม.จากผลงานการเป็นผู้ว่าฯ ที่ผ่านมาที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็กัดฟันส่งเพราะกลัวแกจะไปสมัครอิสระจนมาตัดคะแนนกันเอง จนในที่สุดต้องใช้ความเกลียดความกลัวมาเป็นสโลแกนเลือกตั้ง ตัดต่อภาพเหตุการณ์เผาเมืองมาโจมตีพรรคคู่แข่งและโจมตีผู้สมัครคนอื่นและคนที่ไม่ต้องการเลือกพรรคตนว่าทำให้เสียงแตกว่าทำให้กรุงเทพฯตกเป็นของพวกเผาบ้านเผาเมือง จนทำให้เกิดกระแสความหมั่นไส้พรรคประชาธิปัตย์ตีกลับจนคะแนนวูบลงทุกวันๆ
นี่คือภาพสะท้อนว่า การเมืองไทยถึงทางตันโดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเป็นการชูภาพของผู้สมัครที่เป็นปัจเจกบุคคลโดยตรงกลับกลายเป็นเรื่องระหว่างพรรคการเมืองมีความสำคัญเหนือกว่าคุณสมบัติของคนที่โดดเด่นที่จะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.
คำถามคือพรรคประชาธิปัตย์ชนะไปชาว กทม.จะได้อะไร? คำตอบคือไม่ได้อะไรนอกจากการเป็นตัวประกันระหว่างพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ที่เล่นเกมกันไปเล่นเกมกันมาก็เท่านั้น และในที่สุดความเดือดร้อนก็จะกลับมาตกอยู่ที่ชาว กทม.เสียเอง
แล้วถ้าพรรคเพื่อไทยชนะชาว กทม.จะได้อะไร? คำตอบก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้อะไรนอกจากได้แต่มองตาปริบๆ กับการกินรวบแบบไร้รอยต่อ และหน่วยงานของ กทม.ก็จะเป็นฐานสนับสนุนให้มวลชนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพรรคเพื่อไทยเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งในและนอกสภาได้สะดวกโยธินยิ่งขึ้น
สรุปคือการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ หากพรรคหนึ่งพรรคใดชนะไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรกับชาว กทม.แท้ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว และจากผลโพลผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยก็ทำท่าจะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม.เสียด้วยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีทางที่จะตีตื้นขึ้นได้จากแนวทางการหาเสียงของพรรคและพฤติกรรมผลักมิตรให้เป็นศัตรู ส่วนผู้สมัครอิสระอื่นๆ นั้นล้วนแล้วแต่มีฐานคะแนนที่จะตัดสินใจเลือกระหว่างอิสระด้วยกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และฐานเสียงเหล่านี้ล้วนไม่ยอมตกเป็นเหยื่อวิธีการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น
จุดที่น่าสนใจคือทั้งมวลชนพรรคประชาธิปัตย์และผู้ที่จะเลือกผู้สมัครอิสระมีจุดร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างซึ่งสำคัญมากกว่าสำหรับพรรคประชาธิปัตย์คือการสกัดไม่ให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ยึดฐานเลือกตั้ง กทม.ได้
ดังนั้นการปลดล็อกการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้ไม่ให้อยู่ในมือพวกเผาบ้านเผาเมืองที่ลงตัวสำหรับทุกฝ่ายคือ พรรคประชาธิปัตย์ควรแสดงสปิริตถอนตัวผู้สมัครเลือกตั้ง กทม.ในครั้งนี้แล้วประกาศสนับสนุนผู้สมัครอิสระคนใดคนหนึ่งอย่างเป็นทางการทันที สมมติว่าอาจจะเป็นคุณสุหฤท สยามวาลา ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สมัครอิสระดังกล่าวจะมีคะแนนนิยมแซงผู้สมัครพรรคเพื่อไทยอย่างทันที เพราะจะได้คะแนนนิยมจากหลายๆ ส่วน กล่าวคือ
หนึ่ง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่จะมาช่วยเทคะแนนให้ เพราะนี่คือฐานเสียงที่เอายุทธศาสตร์พรรคนำหน้าในการตัดสินใจเลือกตั้งอยู่แล้ว
สอง มีแนวโน้มว่าคะแนนเสียงของผู้สมัครอิสระคนต่างๆ จะมารวมตัวกันหากผู้สมัครอิสระรายใดรายหนึ่งมีความชัดเจนที่จะชนะในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าอาจมีการประกาศรวมทีมเป็นรองผู้ว่าฯ ดูแลด้านต่างๆ ในภายหลังซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้
หากพรรคประชาธิปัตย์เลือกวิธีนี้ มีแต่เกิดผลดีกับพรรคประชาธิปัตย์เอง ข้อแรกพรรคเพื่อไทยยึดพื้นที่กรุงเทพฯไม่ได้ ข้อสองคะแนนแฝงของพรรคประชาธิปัตย์จะมีมากขึ้นผ่านการสนับสนุนผู้สมัครอิสระ ข้อสามเป็นการปฏิรูปภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่ากล้าตัดสินใจและเป็นผู้นำริเริ่มให้ทีการปฏิรูปการเมืองจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ข้อสี่ การเลือกตั้งผู้ว่า กทม กลับมาเข้ารูปเข้ารอยตามวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็นอีกครั้ง ข้อห้าเปิดโอกาสให้คนที่มีความมุ่งมั่นมีแนวคิดใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ได้มาทำหน้าที่เป็นพ่อเมือง
แนวคิดนี้ผมว่าเป็นการวัดใจพรรคประชาธิปัตย์ และตั้งคำถามกลับไปยังมวลชนพรรคประชาธิปัตย์เองว่า ตกลงจะยอมให้พวกเผาบ้านเผาเมืองยึดกรุงเทพอันเป็นที่มั่นสุดท้ายทางการเมืองของตนหรือเปล่า? ถึงเวลาหรือยังที่พรรคการเมืองนี้และผู้สนับสนุนพรรคการเมืองนี้จะเสียสละให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะคน กทม.อย่างแท้จริง?
ถึงเวลาหรือยังที่สังคมควรจะตั้งคำถามกลับไปยังพรรคประชาธิปัตย์บ้าง เวลามีเหลือไม่มากนี่คือการพิสูจน์ภาวะผู้นำของพรรคนี้อย่างแท้จริงว่ายังพอที่จะเป็นความหวังให้กับประชาชนได้หรือเปล่า หรือจะเอาแต่ได้อย่างเดียว?
การเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.คราวนี้กลับกลายเป็นสงครามชิงเมืองหลวงของพรรคการเมืองสองพรรคโดยที่คน กทม.ที่มีสิทธิเลือกตั้งกลายเป็นเหยื่อ ไม่ว่าจะเป็นเหยื่อของพรรคเพื่อไทยที่ตกเป็นข่าวว่ามีการใช้วิชามารสารพัดงัดขึ้นมา ตั้งแต่โพลชี้นำรับจ้างหรือการดิสเครดิตพรรคคู่แข่งจนกระทั่งเรื่องฉาวดังกล่าวก็วกเข้าสู่ผู้สมัครพรรคตัวเอง และเครือข่ายจนกระโดดชิ่งหนีกันแทบไม่ทัน ขณะเดียวกันก็มีผู้ร้องเรียนว่ามีการล็อกเลขท้ายหวย ซึ่งก็ยังหน้าด้านทำได้ หรือกระทั่งตัดต่อรูปดารานักร้อง-นักมวยมาสนับสนุนพรรคตน
ทางฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่แพ้กัน ที่ตัดสินใจเลือกผู้สมัครจากพรรคตนเองก็ไม่เป็นที่นิยมของคน กทม.จากผลงานการเป็นผู้ว่าฯ ที่ผ่านมาที่ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง แต่พรรคประชาธิปัตย์ก็กัดฟันส่งเพราะกลัวแกจะไปสมัครอิสระจนมาตัดคะแนนกันเอง จนในที่สุดต้องใช้ความเกลียดความกลัวมาเป็นสโลแกนเลือกตั้ง ตัดต่อภาพเหตุการณ์เผาเมืองมาโจมตีพรรคคู่แข่งและโจมตีผู้สมัครคนอื่นและคนที่ไม่ต้องการเลือกพรรคตนว่าทำให้เสียงแตกว่าทำให้กรุงเทพฯตกเป็นของพวกเผาบ้านเผาเมือง จนทำให้เกิดกระแสความหมั่นไส้พรรคประชาธิปัตย์ตีกลับจนคะแนนวูบลงทุกวันๆ
นี่คือภาพสะท้อนว่า การเมืองไทยถึงทางตันโดยสิ้นเชิง ทั้งๆ ที่เป็นการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเป็นการชูภาพของผู้สมัครที่เป็นปัจเจกบุคคลโดยตรงกลับกลายเป็นเรื่องระหว่างพรรคการเมืองมีความสำคัญเหนือกว่าคุณสมบัติของคนที่โดดเด่นที่จะมาเป็นผู้ว่าฯ กทม.
คำถามคือพรรคประชาธิปัตย์ชนะไปชาว กทม.จะได้อะไร? คำตอบคือไม่ได้อะไรนอกจากการเป็นตัวประกันระหว่างพรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ที่เล่นเกมกันไปเล่นเกมกันมาก็เท่านั้น และในที่สุดความเดือดร้อนก็จะกลับมาตกอยู่ที่ชาว กทม.เสียเอง
แล้วถ้าพรรคเพื่อไทยชนะชาว กทม.จะได้อะไร? คำตอบก็เช่นเดียวกัน ไม่ได้อะไรนอกจากได้แต่มองตาปริบๆ กับการกินรวบแบบไร้รอยต่อ และหน่วยงานของ กทม.ก็จะเป็นฐานสนับสนุนให้มวลชนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) และพรรคเพื่อไทยเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งในและนอกสภาได้สะดวกโยธินยิ่งขึ้น
สรุปคือการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ครั้งนี้ หากพรรคหนึ่งพรรคใดชนะไม่ได้เกิดประโยชน์อะไรกับชาว กทม.แท้ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว และจากผลโพลผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทยก็ทำท่าจะได้รับเลือกเป็นผู้ว่าฯ กทม.เสียด้วยและพรรคประชาธิปัตย์ก็ไม่มีทางที่จะตีตื้นขึ้นได้จากแนวทางการหาเสียงของพรรคและพฤติกรรมผลักมิตรให้เป็นศัตรู ส่วนผู้สมัครอิสระอื่นๆ นั้นล้วนแล้วแต่มีฐานคะแนนที่จะตัดสินใจเลือกระหว่างอิสระด้วยกันอย่างชัดเจนอยู่แล้ว และฐานเสียงเหล่านี้ล้วนไม่ยอมตกเป็นเหยื่อวิธีการหาเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ทั้งสิ้น
จุดที่น่าสนใจคือทั้งมวลชนพรรคประชาธิปัตย์และผู้ที่จะเลือกผู้สมัครอิสระมีจุดร่วมกันอยู่หนึ่งอย่างซึ่งสำคัญมากกว่าสำหรับพรรคประชาธิปัตย์คือการสกัดไม่ให้พรรคเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง ยึดฐานเลือกตั้ง กทม.ได้
ดังนั้นการปลดล็อกการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งนี้ไม่ให้อยู่ในมือพวกเผาบ้านเผาเมืองที่ลงตัวสำหรับทุกฝ่ายคือ พรรคประชาธิปัตย์ควรแสดงสปิริตถอนตัวผู้สมัครเลือกตั้ง กทม.ในครั้งนี้แล้วประกาศสนับสนุนผู้สมัครอิสระคนใดคนหนึ่งอย่างเป็นทางการทันที สมมติว่าอาจจะเป็นคุณสุหฤท สยามวาลา ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สมัครอิสระดังกล่าวจะมีคะแนนนิยมแซงผู้สมัครพรรคเพื่อไทยอย่างทันที เพราะจะได้คะแนนนิยมจากหลายๆ ส่วน กล่าวคือ
หนึ่ง สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่จะมาช่วยเทคะแนนให้ เพราะนี่คือฐานเสียงที่เอายุทธศาสตร์พรรคนำหน้าในการตัดสินใจเลือกตั้งอยู่แล้ว
สอง มีแนวโน้มว่าคะแนนเสียงของผู้สมัครอิสระคนต่างๆ จะมารวมตัวกันหากผู้สมัครอิสระรายใดรายหนึ่งมีความชัดเจนที่จะชนะในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม ในครั้งนี้ ซึ่งเป็นไปได้สูงว่าอาจมีการประกาศรวมทีมเป็นรองผู้ว่าฯ ดูแลด้านต่างๆ ในภายหลังซึ่งเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายได้
หากพรรคประชาธิปัตย์เลือกวิธีนี้ มีแต่เกิดผลดีกับพรรคประชาธิปัตย์เอง ข้อแรกพรรคเพื่อไทยยึดพื้นที่กรุงเทพฯไม่ได้ ข้อสองคะแนนแฝงของพรรคประชาธิปัตย์จะมีมากขึ้นผ่านการสนับสนุนผู้สมัครอิสระ ข้อสามเป็นการปฏิรูปภาพลักษณ์ของพรรคประชาธิปัตย์ว่ากล้าตัดสินใจและเป็นผู้นำริเริ่มให้ทีการปฏิรูปการเมืองจากการเลือกตั้งครั้งนี้ ข้อสี่ การเลือกตั้งผู้ว่า กทม กลับมาเข้ารูปเข้ารอยตามวัตถุประสงค์ที่ควรจะเป็นอีกครั้ง ข้อห้าเปิดโอกาสให้คนที่มีความมุ่งมั่นมีแนวคิดใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์ได้มาทำหน้าที่เป็นพ่อเมือง
แนวคิดนี้ผมว่าเป็นการวัดใจพรรคประชาธิปัตย์ และตั้งคำถามกลับไปยังมวลชนพรรคประชาธิปัตย์เองว่า ตกลงจะยอมให้พวกเผาบ้านเผาเมืองยึดกรุงเทพอันเป็นที่มั่นสุดท้ายทางการเมืองของตนหรือเปล่า? ถึงเวลาหรือยังที่พรรคการเมืองนี้และผู้สนับสนุนพรรคการเมืองนี้จะเสียสละให้กับประเทศไทย โดยเฉพาะคน กทม.อย่างแท้จริง?
ถึงเวลาหรือยังที่สังคมควรจะตั้งคำถามกลับไปยังพรรคประชาธิปัตย์บ้าง เวลามีเหลือไม่มากนี่คือการพิสูจน์ภาวะผู้นำของพรรคนี้อย่างแท้จริงว่ายังพอที่จะเป็นความหวังให้กับประชาชนได้หรือเปล่า หรือจะเอาแต่ได้อย่างเดียว?