เลขาฯ ศาลรัฐธรรมนูญ ยันศาลไม่เกี่ยวแก้รัฐธรรมนูญ โยนคนทำดูกฎหมายเอา ชี้จะรับคำร้องหากมีผู้ฟ้องรัฐไม่ทำประชามติอยู่ที่ดุลพินิจตุลาการ ลั่นศาลพร้อมใช้กฎหมายเยียวยาปัญหา เชื่อไม่ทำวุ่นแน่ ปัดทำกระบวนการล่าช้าหากมีคนร้อง
วันนี้ (4 ธ.ค.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่มีนายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา เป็นประธาน ระบุจะเดินหน้างลงมติวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมจะทำประชามติภายหลังยกร่างเสร็จเรียบร้อย ซึ่งอาจไม่ตรงกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้ก่อนหน้านี้ว่า ถ้าเป็นเรื่องคำวินิจฉัยของศาล คงบอกรายละเอียดไม่ได้ แต่หากเป็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ระบุถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้ว คิดว่าฝ่ายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงต้องดูรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวข้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ส่วนถ้ารัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการทำประชามติ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยก่อนหน้านี้ อาจทำให้มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกนั้น นายเชาวนะ เห็นว่า เรื่องนี้เป็นความคิดเห็นของผู้ที่จะมายื่นร้อง โดยจะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญในการยื่นร้อง แต่เรื่องการใช้สิทธิในการยื่นผ่านศาลรัฐธรรมนูญนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการที่จะพิจารณารับคำร้องหรือไม่ จึงจะไปคิดล่วงหน้าว่าจะมีผู้เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้คงไม่ได้
“กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ศาลฯ คงไม่ไปก้าวล่วง เพราะเป็นเรื่องของผู้ที่มีหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ซึ่งต้องกลับไปดูรัฐธรรมนูญว่าได้
บัญญัติกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้อย่างไรบ้าง ส่วนจะเกิดปัญหาตามมาอีกหรือไม่นั้น ผมเห็นว่า ความเห็นต่างทางการเมือง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีปัญหาใดๆ ที่เข้ามาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฯ ก็จะดำเนินการแก้ไข และเยียวยาปัญหาตามกระบวนการของศาลฯ โดยจะเป็นการยึดตามกฎหมายเป็นหลัก และเชื่อว่ามาตรการเยียวยาจากศาลฯ คงไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงแน่ ส่วนมาตรการเยียวยาทางการเมือง ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมือง ซึ่งมีความแตกต่างกัน” นายเชาวนะ กล่าว
เมื่อถามว่า หากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาอีก จะส่งผลทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล่าช้าหรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า เรื่องล่าช้า หรือเร็วไม่ได้อยู่ในกระบวนการนี้ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่การพิจารณาของศาลฯ อยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนตามปกติตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะศาลฯ มีความเป็นอิสระ ยึดตามหลักฎหมาย ไม่ได้เข้าไปยุ่งกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว
วันนี้ (4 ธ.ค.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ที่มีนายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา เป็นประธาน ระบุจะเดินหน้างลงมติวาระ 3 เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ พร้อมจะทำประชามติภายหลังยกร่างเสร็จเรียบร้อย ซึ่งอาจไม่ตรงกับที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีคำวินิจฉัยไว้ก่อนหน้านี้ว่า ถ้าเป็นเรื่องคำวินิจฉัยของศาล คงบอกรายละเอียดไม่ได้ แต่หากเป็นเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น มีบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญที่ระบุถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้อยู่แล้ว คิดว่าฝ่ายที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ คงต้องดูรัฐธรรมนูญแล้ว อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญไม่เกี่ยวข้องในการแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
ส่วนถ้ารัฐบาลเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยไม่มีการทำประชามติ ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยก่อนหน้านี้ อาจทำให้มีผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกนั้น นายเชาวนะ เห็นว่า เรื่องนี้เป็นความคิดเห็นของผู้ที่จะมายื่นร้อง โดยจะใช้ช่องทางตามรัฐธรรมนูญในการยื่นร้อง แต่เรื่องการใช้สิทธิในการยื่นผ่านศาลรัฐธรรมนูญนั้น คงต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของตุลาการที่จะพิจารณารับคำร้องหรือไม่ จึงจะไปคิดล่วงหน้าว่าจะมีผู้เห็นด้วย หรือไม่เห็นด้วยในการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้คงไม่ได้
“กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น ศาลฯ คงไม่ไปก้าวล่วง เพราะเป็นเรื่องของผู้ที่มีหน้าที่ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ซึ่งต้องกลับไปดูรัฐธรรมนูญว่าได้
บัญญัติกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้อย่างไรบ้าง ส่วนจะเกิดปัญหาตามมาอีกหรือไม่นั้น ผมเห็นว่า ความเห็นต่างทางการเมือง ถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีปัญหาใดๆ ที่เข้ามาสู่ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฯ ก็จะดำเนินการแก้ไข และเยียวยาปัญหาตามกระบวนการของศาลฯ โดยจะเป็นการยึดตามกฎหมายเป็นหลัก และเชื่อว่ามาตรการเยียวยาจากศาลฯ คงไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงแน่ ส่วนมาตรการเยียวยาทางการเมือง ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายการเมือง ซึ่งมีความแตกต่างกัน” นายเชาวนะ กล่าว
เมื่อถามว่า หากมีผู้ร้องเรียนเข้ามาอีก จะส่งผลทำให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ล่าช้าหรือไม่ นายเชาวนะ กล่าวว่า เรื่องล่าช้า หรือเร็วไม่ได้อยู่ในกระบวนการนี้ เรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่การพิจารณาของศาลฯ อยู่แล้ว ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนตามปกติตามรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ เพราะศาลฯ มีความเป็นอิสระ ยึดตามหลักฎหมาย ไม่ได้เข้าไปยุ่งกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่แล้ว