เศรษฐีรีสอร์ต “วังน้ำเขียว” ร้องสื่อขอความเป็นธรรมโดนรื้อรีสอร์ต โวยประกาศแนวเขตอุทยานฯ ทับพื้นที่หมู่บ้านที่มีครอบครองอยู่ก่อนแล้ว
ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (15 ส.ค.) ชาวบ้านที่ครอบครองบ้านพักและรีสอร์ตในพื้นที่ ต.ไทยสามัคคี และ ต.นาดี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา กว่า 20 คนมารวมตัวกันบริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนกรณีการบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน
โดย นายมโน คูรัตน์ ตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า การประกาศแนวเขตอุทยานฯ ปี พ.ศ. 2524 เป็นการประกาศทับพื้นที่หมู่บ้านที่มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนแล้วกว่า 80 หมู่บ้าน โดยมีการนำความเจริญเข้าสู่พื้นที่ทั้งสาธารณูปโภคพื้นฐาน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอำเภอหนึ่งอีกด้วย ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวจะประกาศเป็นเขตอุทยานฯ ไม่ได้ จึงถือว่าผิดกฎหมายตั้งแต่แรก ซึ่งต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงและปักแนวเขตใหม่เมื่อ พ.ศ. 2543 โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ แต่ยังไม่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงยังไม่สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ปัจจุบันจึงยังคงใช้แนวเขตเดิมของ พ.ศ. 2524 เช่นเดิม
นายมโนกล่าวว่า ทางกรมอุทยานฯ ประกาศแนวเขตผิด เพราะในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตชุมชนที่ถือเป็นเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งไม่สามารถประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้แน่นอน ส่วนการปรับปรุงแนวเขตอุทยานที่ยังคงยืดเยื้อและยังไม่ผ่าน ครม.นั้น ตนตั้งข้อสังเกตว่าจะมีเหตุผลอื่นแอบแฝง เช่น การลดพื้นที่ป่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือการลดพื้นที่ป่าจะทำให้งบประมาณที่จะเข้ามาฟื้นฟูป่าลดน้อยลงจึงยังไม่มีการนำเรื่องเข้า ครม. แต่ตนเองก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน
นอกจากนี้ การใช้แนวเขตของ พ.ศ. 2524 ที่ตนเชื่อว่าไม่ถูกต้องนั้น ทำให้เมื่อมีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม กลุ่มชาวบ้านหรือผู้ประกอบการไม่มีทางชนะคดีแน่นอน แต่หากมีการใช้แนวหลักเขตในปี 2543 ตนมั่นใจว่าไม่มีชาวบ้านหรือผู้ประกอบการบุกรุกพื้นที่ดังกล่าวเลย รวมทั้งการเข้ารื้อถอนรีสอร์ตของกรมอุทยานฯ ที่ผ่านมาเชื่อว่ามีการเลือกปฏิบัติ
“การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ ผมดำเนินการตามกฎหมายและจ่ายภาษีอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน และมีหลักฐานซึ่งเป็นเอกสารที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐ ยืนยันได้ว่ากลุ่มของผมซื้อขายพื้นที่ดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการเข้ามาครอบครองที่ดินเพราะเชื่อว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายและยึดตามแนวเขตที่ถูกต้อง คือ หลักเขตที่กำหนดขึ้นในปี 2543 ในขณะที่ทางกรมอุทยานฯ กลับไม่มีการประกาศแนวเขตของพื้นที่อุทยานฯ อย่างชัดเจน ซึ่งการประกาศแนวเขตควรได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องและแจ้งให้สาธารณชนทราบ”
นายมโนกล่าวว่า ที่ผ่านมานั้นกลุ่มของตนได้ร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติฯ และผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีการตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงตั้งแต่เดือน พ.ค.แล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้งที่มีรายงานสรุปข้อเท็จจริงจากผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วว่ากรณีดังกล่าวนั้นเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นจึงเดินทางมาเพื่อชี้แจงให้สื่อมวลชนทราบข้อเท็จจริงของฝ่ายตนบ้าง
ที่ทำเนียบรัฐบาล วันนี้ (15 ส.ค.) ชาวบ้านที่ครอบครองบ้านพักและรีสอร์ตในพื้นที่ ต.ไทยสามัคคี และ ต.นาดี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา กว่า 20 คนมารวมตัวกันบริเวณประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอชี้แจงข้อเท็จจริงต่อสื่อมวลชนกรณีการบุกรุกอุทยานแห่งชาติทับลาน
โดย นายมโน คูรัตน์ ตัวแทนชาวบ้านกล่าวว่า การประกาศแนวเขตอุทยานฯ ปี พ.ศ. 2524 เป็นการประกาศทับพื้นที่หมู่บ้านที่มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนแล้วกว่า 80 หมู่บ้าน โดยมีการนำความเจริญเข้าสู่พื้นที่ทั้งสาธารณูปโภคพื้นฐาน และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอำเภอหนึ่งอีกด้วย ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวจะประกาศเป็นเขตอุทยานฯ ไม่ได้ จึงถือว่าผิดกฎหมายตั้งแต่แรก ซึ่งต่อมามีการแก้ไขปรับปรุงและปักแนวเขตใหม่เมื่อ พ.ศ. 2543 โดยผ่านขั้นตอนต่างๆ แต่ยังไม่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จึงยังไม่สามารถประกาศใช้เป็นกฎหมายได้ ปัจจุบันจึงยังคงใช้แนวเขตเดิมของ พ.ศ. 2524 เช่นเดิม
นายมโนกล่าวว่า ทางกรมอุทยานฯ ประกาศแนวเขตผิด เพราะในพื้นที่ดังกล่าวเป็นเขตชุมชนที่ถือเป็นเขตพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งไม่สามารถประกาศเป็นเขตอุทยานแห่งชาติได้แน่นอน ส่วนการปรับปรุงแนวเขตอุทยานที่ยังคงยืดเยื้อและยังไม่ผ่าน ครม.นั้น ตนตั้งข้อสังเกตว่าจะมีเหตุผลอื่นแอบแฝง เช่น การลดพื้นที่ป่าจะทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง หรือการลดพื้นที่ป่าจะทำให้งบประมาณที่จะเข้ามาฟื้นฟูป่าลดน้อยลงจึงยังไม่มีการนำเรื่องเข้า ครม. แต่ตนเองก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่ชัดเจน
นอกจากนี้ การใช้แนวเขตของ พ.ศ. 2524 ที่ตนเชื่อว่าไม่ถูกต้องนั้น ทำให้เมื่อมีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม กลุ่มชาวบ้านหรือผู้ประกอบการไม่มีทางชนะคดีแน่นอน แต่หากมีการใช้แนวหลักเขตในปี 2543 ตนมั่นใจว่าไม่มีชาวบ้านหรือผู้ประกอบการบุกรุกพื้นที่ดังกล่าวเลย รวมทั้งการเข้ารื้อถอนรีสอร์ตของกรมอุทยานฯ ที่ผ่านมาเชื่อว่ามีการเลือกปฏิบัติ
“การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนต่างๆ ผมดำเนินการตามกฎหมายและจ่ายภาษีอย่างถูกต้องทุกขั้นตอน และมีหลักฐานซึ่งเป็นเอกสารที่ออกให้โดยหน่วยงานของรัฐ ยืนยันได้ว่ากลุ่มของผมซื้อขายพื้นที่ดังกล่าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย และการเข้ามาครอบครองที่ดินเพราะเชื่อว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายและยึดตามแนวเขตที่ถูกต้อง คือ หลักเขตที่กำหนดขึ้นในปี 2543 ในขณะที่ทางกรมอุทยานฯ กลับไม่มีการประกาศแนวเขตของพื้นที่อุทยานฯ อย่างชัดเจน ซึ่งการประกาศแนวเขตควรได้รับการยอมรับจากผู้เกี่ยวข้องและแจ้งให้สาธารณชนทราบ”
นายมโนกล่าวว่า ที่ผ่านมานั้นกลุ่มของตนได้ร้องเรียนไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติฯ และผู้ตรวจการแผ่นดินให้มีการตรวจพิสูจน์ข้อเท็จจริงตั้งแต่เดือน พ.ค.แล้ว แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้า ทั้งที่มีรายงานสรุปข้อเท็จจริงจากผู้ตรวจการแผ่นดินแล้วว่ากรณีดังกล่าวนั้นเกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่รัฐ ดังนั้นจึงเดินทางมาเพื่อชี้แจงให้สื่อมวลชนทราบข้อเท็จจริงของฝ่ายตนบ้าง