ที่ประชุมศาลรัฐธรรมนูญนัดผู้ร้องแก้รัฐธรรมนูญล้มล้างการปกครองนำพยานไต่สวน 5 ก.ค. และให้ผู้ถูกร้องนำพยานไต่สวน 6 ก.ค. ด้านโฆษกเผย หนังสือ “จตุพร" อยู่ในสารบบสำนักงานแล้ว ส่วนกรณี “เรืองไกร” ฟ้อง ปชป.แย่งเก้าอี้ประธานสภา คาดชงที่ประชุมพิจารณาใน 15 วัน
วันนี้ (27 มิ.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วันนี้ที่ประชุมได้พิจารณากรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ โดยมีคำสั่งนัดคู่กรณีฝ่ายผู้ร้อง ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กับพวก ผู้ร้องที่ 1 นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ 2 นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ ผู้ร้องที่ 3 นายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่ 4 และนายบวร ยสินธร และคณะ ผู้ร้องที่ 5 ให้นำพยานบุคคลเข้าไต่สวนในวันพฤหัสบดีที่ 5 ก.ค. ตั้งแต่เวลา 09.30 น. และให้ฝ่ายผู้ถูกร้องที่ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 1 คณะรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องที่ 2 พรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 พรรคชาติไทยพัฒนา ผู้ถูกร้องที่ 4 นายสุนัย จุลพงศธร และคณะ ผู้ถูกร้องที่ 5 และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะ ผู้ถูกร้องที่ 6 นำพยานบุคคลเข้าไต่สวนในศุกร์ที่ 6 ก.ค.ตั้งแต่เวลา 09.30 น.เป็นต้นไป
ด้าน นายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ยื่นหนังสือสอบถามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกรณีที่ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยืนถอนประกันตนเองว่า ขณะนี้หนังสือดังกล่าวยังอยู่ในสารบบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องรายงานไปตามขั้นตอนและลำดับชั้นบังคับบัญชา เป็นลักษณะเช่นเดียวกันกับหนังสืออื่นที่ร้องมายังสำนักงานฯ ซึ่งก็ต้องใช้เวลากว่าเรื่องจะเข้าไปถึงนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นคำร้องให้ตรวจสอบ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ดึงเก้าอี้ประธานสภาลงจากบัลลังก์ เป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ และมีประเด็นย่อย คือ คุณสมบัติของนายวสันต์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเรื่องนี้ขณะนี้ทราบว่าเรื่องยังอยู่ที่สำนักบริหารกลาง และเมื่อเข้าสู่กระบวนการก็จะมีการแต่งตั้งตุลาการประจำคดีขึ้นมาเพื่อตรวจสอบเรื่อง และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมตุลาการฯ ภายใน 15 วัน โดยในที่ประชุมคณะตุลาการฯ ก็จะมีมติออกมาว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่
วันนี้ (27 มิ.ย.) สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้ออกเอกสารข่าวระบุว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้วันนี้ที่ประชุมได้พิจารณากรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ โดยมีคำสั่งนัดคู่กรณีฝ่ายผู้ร้อง ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม กับพวก ผู้ร้องที่ 1 นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ 2 นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ ผู้ร้องที่ 3 นายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่ 4 และนายบวร ยสินธร และคณะ ผู้ร้องที่ 5 ให้นำพยานบุคคลเข้าไต่สวนในวันพฤหัสบดีที่ 5 ก.ค. ตั้งแต่เวลา 09.30 น. และให้ฝ่ายผู้ถูกร้องที่ประกอบด้วย นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ผู้ถูกร้องที่ 1 คณะรัฐมนตรี ผู้ถูกร้องที่ 2 พรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 3 พรรคชาติไทยพัฒนา ผู้ถูกร้องที่ 4 นายสุนัย จุลพงศธร และคณะ ผู้ถูกร้องที่ 5 และนายภราดร ปริศนานันทกุล และคณะ ผู้ถูกร้องที่ 6 นำพยานบุคคลเข้าไต่สวนในศุกร์ที่ 6 ก.ค.ตั้งแต่เวลา 09.30 น.เป็นต้นไป
ด้าน นายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้ยื่นหนังสือสอบถามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ถึงกรณีที่ทางสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญยืนถอนประกันตนเองว่า ขณะนี้หนังสือดังกล่าวยังอยู่ในสารบบของสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ต้องรายงานไปตามขั้นตอนและลำดับชั้นบังคับบัญชา เป็นลักษณะเช่นเดียวกันกับหนังสืออื่นที่ร้องมายังสำนักงานฯ ซึ่งก็ต้องใช้เวลากว่าเรื่องจะเข้าไปถึงนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ
ส่วนกรณีที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ได้ยื่นคำร้องให้ตรวจสอบ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ที่ได้ดึงเก้าอี้ประธานสภาลงจากบัลลังก์ เป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตามมาตรา 68 ของรัฐธรรมนูญ และมีประเด็นย่อย คือ คุณสมบัติของนายวสันต์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และนายชัช ชลวร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าเรื่องนี้ขณะนี้ทราบว่าเรื่องยังอยู่ที่สำนักบริหารกลาง และเมื่อเข้าสู่กระบวนการก็จะมีการแต่งตั้งตุลาการประจำคดีขึ้นมาเพื่อตรวจสอบเรื่อง และเสนอเข้าสู่ที่ประชุมตุลาการฯ ภายใน 15 วัน โดยในที่ประชุมคณะตุลาการฯ ก็จะมีมติออกมาว่าจะรับไว้พิจารณาหรือไม่