รักษาการโฆษกฯ ยันรัฐบาลให้ความสำคัญแก้ปัญหายาเสพติด ยกเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมบำบัดผู้เสพ คืนคนดีสู่สังคม เล็งทำโครงการ “1 อำเภอ 1 ศูนย์ฟื้นฟู” รองรับยุทธศาสตร์เอาชนะยาเสพติด
วันนี้ (4 มี.ค.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม “รวมพลังคน D.A.R.E.สู้ภัยยาเสพติด” ที่สนามศุภชลาศัยว่า โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของรัฐบาล ในการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ และเตรียมผลักดันต่อให้เป็นวาระแห่งภูมิภาค ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่า แม้รัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่จะต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการปราบปราม การป้องกัน แต่ไปไกลกว่านั้นโดยมีมาตรการแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เช่นการจับตา เฝ้าระวังการลักลอบนำยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบในการผลิต
รักษาการโฆษกฯ กล่าวด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลดำเนินการควบคู่ไปด้วยอย่างเข้มข้น คือการบำบัดผู้เสพ คืนคนดีสู่สังคมไทย เช่นโครงการ การดำเนินงานลดผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเชิงรุก โดยเน้นระบบสมัครใจเป็นหลัก “1 อำเภอ 1 ศูนย์ฟื้นฟู” รองรับยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ซึ่งมีตัวเลขจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดภาคสมัครใจ ในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา สูงถึง 62,539 คน แบ่งเป็น ค่ายพลังแผ่นดิน (บำบัดในชุมชน) ทั่วประเทศ 30,119 คน บำบัดในสถานบำบัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 32,420 คน
วันนี้ (4 มี.ค.) นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรักษาราชการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังเข้าร่วมกิจกรรม “รวมพลังคน D.A.R.E.สู้ภัยยาเสพติด” ที่สนามศุภชลาศัยว่า โครงการนี้เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของรัฐบาล ในการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด ด้วยการกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ และเตรียมผลักดันต่อให้เป็นวาระแห่งภูมิภาค ดังนั้นขอให้ทุกฝ่ายสบายใจได้ว่า แม้รัฐบาลจะบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่จะต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม ที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้แก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการปราบปราม การป้องกัน แต่ไปไกลกว่านั้นโดยมีมาตรการแก้ไขปัญหาการรั่วไหลของสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติดทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน เช่นการจับตา เฝ้าระวังการลักลอบนำยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนประกอบในการผลิต
รักษาการโฆษกฯ กล่าวด้วยว่า สิ่งหนึ่งที่รัฐบาลดำเนินการควบคู่ไปด้วยอย่างเข้มข้น คือการบำบัดผู้เสพ คืนคนดีสู่สังคมไทย เช่นโครงการ การดำเนินงานลดผู้เสพ ผู้ติดยาเสพติดเชิงรุก โดยเน้นระบบสมัครใจเป็นหลัก “1 อำเภอ 1 ศูนย์ฟื้นฟู” รองรับยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ซึ่งมีตัวเลขจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดภาคสมัครใจ ในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา สูงถึง 62,539 คน แบ่งเป็น ค่ายพลังแผ่นดิน (บำบัดในชุมชน) ทั่วประเทศ 30,119 คน บำบัดในสถานบำบัด สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 32,420 คน