ปธ.อนุฯ กมธ.ป้องกันลวงแรงงานไทยไปต่างแดน หวั่นชาวบ้านถูกหลอกหลังตกงาน จี้ก.แรงงานใช้กฎหมายเข้มงวด ตั้ง ขรก.เกษียณนั่งอาสาสมัครแรงงานประจำตำบลกุนซือกฏหมาย
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่รัฐสภา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น และประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันการหลอกลวงคนไปทำงานต่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัดดิการสังคม วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่า ตนกังวลว่าแรงงานไทยที่ตกงานจากสถานการณ์น้ำท่วมจะถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ จึงต้องการเรียกร้องไปยังกระทรวงแรงงานใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเข้มงวด พร้อมแนะนำให้ตั้งผู้เกษียณอายุของกระทรวงแรงงานที่มีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครแรงงานประจำตำบล หรือ อสร.จะสามารถช่วยเป็นที่ปรึกษาในด้านกฎหมายให้แก่แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายประเสริฐกล่าวต่อว่า จากข้อมูลของกรมสวัดดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กสร. เมื่อเดือน ม.ค. 2555 พบว่า มีแรงงานที่ประสบภับน้ำท่วมถูกเลิกจ้างกว่า 30,000 คนในขณะนี้ และจะเพิ่มมากขึ้นไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมเพราะเป็นช่วงที่บริษัทญี่ปุ่นปิดงบบัญชีประจำปี เกรงว่าพิษเศรษฐกิจ จะทำให้แรงงานสนใจไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพ อ้างตนเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับจากกรมการจัดหางานหลอกลวงให้ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาคนงานภาคอีสาน และภาคเหนือจะถูกหลอกมากที่สุด
นายประเสริฐยังกล่าวต่อว่า ปัญหาที่ชาวบ้านถูกหลอกเพราะสายหรือนายหน้าเถื่อนทำงานเชิงรุก โดยจะเข้าไปเชิญชวนถึงในหมู่บ้าน ขณะที่ภาครัฐยังทำงานเชิงรับ แม้จะมีสายด่วนของกรมการจัดหางานไว้คอยบริการชาวบ้าน หรือ อสร.กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัด แต่ก็ยังไม่ทันการ ทั้งนี้ หากจะมีการเปิดศุนย์บริการส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอีก 25 ศูนย์ใน 25 จังหวัดในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็นับเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม ปัญหาการหลอกลวงแรงงานมีความซับซ้อนยากที่ประชาชนจะเข้าใจ หากกระทรวงแรงงานจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้เกษียณอายุของกระทรวงแรงงานเป็นที่ปรึกษาประจำศูนย์มากกว่าเป็นพวกจิตอาสา ก็จะทำให้การคุ้มครองแรงงานไทยไม่ให้ถูกหลอกลวงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วันนี้ (6 ก.พ.) ที่รัฐสภา นายประเสริฐ ประคุณศึกษาพันธ์ ส.ว.ขอนแก่น และประธานคณะอนุกรรมาธิการป้องกันการหลอกลวงคนไปทำงานต่างประเทศ ในคณะกรรมาธิการแรงงานและสวัดดิการสังคม วุฒิสภา กล่าวถึงกรณีสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นว่า ตนกังวลว่าแรงงานไทยที่ตกงานจากสถานการณ์น้ำท่วมจะถูกหลอกไปทำงานต่างประเทศ จึงต้องการเรียกร้องไปยังกระทรวงแรงงานใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานอย่างเข้มงวด พร้อมแนะนำให้ตั้งผู้เกษียณอายุของกระทรวงแรงงานที่มีจิตอาสาเป็นอาสาสมัครแรงงานประจำตำบล หรือ อสร.จะสามารถช่วยเป็นที่ปรึกษาในด้านกฎหมายให้แก่แรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายประเสริฐกล่าวต่อว่า จากข้อมูลของกรมสวัดดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือ กสร. เมื่อเดือน ม.ค. 2555 พบว่า มีแรงงานที่ประสบภับน้ำท่วมถูกเลิกจ้างกว่า 30,000 คนในขณะนี้ และจะเพิ่มมากขึ้นไปจนถึงสิ้นเดือนมีนาคมเพราะเป็นช่วงที่บริษัทญี่ปุ่นปิดงบบัญชีประจำปี เกรงว่าพิษเศรษฐกิจ จะทำให้แรงงานสนใจไปทำงานต่างประเทศมากขึ้น เปิดโอกาสให้มิจฉาชีพ อ้างตนเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับจากกรมการจัดหางานหลอกลวงให้ไปทำงานต่างประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาคนงานภาคอีสาน และภาคเหนือจะถูกหลอกมากที่สุด
นายประเสริฐยังกล่าวต่อว่า ปัญหาที่ชาวบ้านถูกหลอกเพราะสายหรือนายหน้าเถื่อนทำงานเชิงรุก โดยจะเข้าไปเชิญชวนถึงในหมู่บ้าน ขณะที่ภาครัฐยังทำงานเชิงรับ แม้จะมีสายด่วนของกรมการจัดหางานไว้คอยบริการชาวบ้าน หรือ อสร.กระจายอยู่ทั่วทุกจังหวัด แต่ก็ยังไม่ทันการ ทั้งนี้ หากจะมีการเปิดศุนย์บริการส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศอีก 25 ศูนย์ใน 25 จังหวัดในอีก 2 เดือนข้างหน้าก็นับเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตาม ปัญหาการหลอกลวงแรงงานมีความซับซ้อนยากที่ประชาชนจะเข้าใจ หากกระทรวงแรงงานจะจ่ายเบี้ยเลี้ยงแก่ผู้เกษียณอายุของกระทรวงแรงงานเป็นที่ปรึกษาประจำศูนย์มากกว่าเป็นพวกจิตอาสา ก็จะทำให้การคุ้มครองแรงงานไทยไม่ให้ถูกหลอกลวงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น