ม็อบต้านอุโมงค์แยกมไหสวรรย์ ร้องมหาดไทย ค้าน กทม.ผลาญงบ 1,000 ล้านเพื่อสร้างทางลอดเพื่อแก้ปัญหาจรจา ห่วงกระทบสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โวยไม่ขอประชาพิจารณ์ภาคปชช.ก่อนเข้าข่ายขัด รธน.
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่กระทรวงมหาดไทย นางสาวธนนันท์ เชี่ยวชาญพานิชย์ ตัวแทนกลุ่มคนไม่เอาอุโมงค์ลอดแยกมไหสวรรย์ ได้ยื่นหนังสื่อร้องเรียน คัดค้านโครงการก่อสร้างทางลอดถนนตากสินกับถนนรัชดาภิเษก (อุโมงค์ลอดแยกมไหสวรรย์) ของกรุงเทพมหานคร ต่อ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย
ทั้งนี้ นางสาวธนนันท์ กล่าวว่า เนื่องด้วย กทม.ได้มีการดำเนินการโครงการดังกล่าว บริเวณจุดตัดถนนรัชดา กว้าง 17 เมตร ยาว 1,500 เมตร วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 700 วัน โดยบอกว่าที่ต้องทำเพื่อแก้ปัญหาการจราจร แต่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นห่วงผลกระทบด้านสุขภาพ วิถีชีวิต และ สิ่งแวดล้อม ในระหว่างและหลังการก่อสร้าง เนื่องจากมีชาวบ้านอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวหลายชุมชน รวมถึงเป็นการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชนอย่างไม่คุ้มค่าเกือบ 1,000 ล้านบาทด้วย ดังนั้น จึงอยากให้ รมว.มหาดไทย ตรวจสอบก่อนที่ กทม.จะดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกมไหสวรรย์ เพราะ กทม.ไม่เคยมาสอบถามความเห็นประชาชนในชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างก่อน ทำให้ประชาชนไม่มีส่วนร่วมและยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 57 และ มาตรา 67 วรรค 2 อีกด้วย
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่กระทรวงมหาดไทย นางสาวธนนันท์ เชี่ยวชาญพานิชย์ ตัวแทนกลุ่มคนไม่เอาอุโมงค์ลอดแยกมไหสวรรย์ ได้ยื่นหนังสื่อร้องเรียน คัดค้านโครงการก่อสร้างทางลอดถนนตากสินกับถนนรัชดาภิเษก (อุโมงค์ลอดแยกมไหสวรรย์) ของกรุงเทพมหานคร ต่อ นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รมว.มหาดไทย
ทั้งนี้ นางสาวธนนันท์ กล่าวว่า เนื่องด้วย กทม.ได้มีการดำเนินการโครงการดังกล่าว บริเวณจุดตัดถนนรัชดา กว้าง 17 เมตร ยาว 1,500 เมตร วงเงินประมาณ 1,000 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 700 วัน โดยบอกว่าที่ต้องทำเพื่อแก้ปัญหาการจราจร แต่ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวมีความเป็นห่วงผลกระทบด้านสุขภาพ วิถีชีวิต และ สิ่งแวดล้อม ในระหว่างและหลังการก่อสร้าง เนื่องจากมีชาวบ้านอาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวหลายชุมชน รวมถึงเป็นการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งมาจากภาษีของประชาชนอย่างไม่คุ้มค่าเกือบ 1,000 ล้านบาทด้วย ดังนั้น จึงอยากให้ รมว.มหาดไทย ตรวจสอบก่อนที่ กทม.จะดำเนินการก่อสร้างอุโมงค์ลอดแยกมไหสวรรย์ เพราะ กทม.ไม่เคยมาสอบถามความเห็นประชาชนในชุมชนที่จะได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างก่อน ทำให้ประชาชนไม่มีส่วนร่วมและยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 57 และ มาตรา 67 วรรค 2 อีกด้วย