องค์กรสตรี แถลงกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หวังส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตผู้หญิงยากไร้ ให้ทัดเทียมคนเมือง เตือนรัฐอย่าทำเพื่อตอบแทนเสียงตามนโยบายประชานิยม พร้อมยื่น 5 ข้อเสนอ แก่นายกฯ
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย คณะกรรมการเครือข่ายพลังสตรีเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาสตรีแห่งชาติ สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ มูลนิธิเพื่อนหญิงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าวเรื่อง เสียงของผู้หญิงต่อกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โดย นางสุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมีประชากรหญิงมากกว่าชาย 1,100,000 คน กว่า 50% อยู่ภายในชนบท และไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคน เป็นประชากรหญิงที่ยากไร้ มีรายได้น้อย ซึ่งโดยรวมแล้วประชากรหญิงของไทยอยู่ในกลุ่มที่ควรจะได้รับการพัฒนาศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยกองทุนสตรีเป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยให้สตรีกลุ่มที่ต้องการการได้รับการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิต เพื่อให้ได้รับโอกาสทัดเทียมกับเพื่อนผู้หญิงในสังคม แต่มีข้อกังวลว่ารัฐบาลจะผลักดันให้การจัดตั้งกองทุนสตรีเป็นไปเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทย ดังนั้น เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯและองค์กรภาคีเครือข่าย จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาว่า การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของสตรีจะต้องไม่ใช่กองทุนที่ตั้งขึ้นเพียงเพื่อการหาคะแนนเสียง เพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ไม่ใช่กองทุนต่างตอบแทนคะแนนเสียงที่ได้รับ ไม่ใช่กองทุนของสตรีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่กองทุนกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายประชานิยม ไม่ใช่กองทุนที่โยนลงไปในหมู่สตรีเพื่อให้เกิดความแตกแยก แบ่งพวกแบ่งเหล่า และต้องไม่ใช่กองทุนที่ใช้เงินภาษีจากประชาชนที่ถูกนำมาใช้เพียงเพื่อทำให้ผู้หญิงอ่อนแอพึ่งพิงอำนาจเงินและวัตถุมากขึ้น และไม่ใช่หนี้กองทุนที่ไม่มีวันจะชดใช้ได้หมด
นางสุธาดา กล่าวต่อว่า เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯขอเสนอหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนสตรีเพื่อผู้หญิง 5 ข้อต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.เครือข่ายสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยสตรีที่อยู่ในภาวะยากลำบากและขาดโอกาสได้รับการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตเพื่อให้ได้รับโอกาสทัดเทียมกันกับในสังคม 2.กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่รัฐบาลจะจัดตั้งขึ้นต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมโอกาสและบทบาทของสตรี เพื่อความเสมอภาคและความเป็นธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีที่อยู่ในภาวะยากลำบากและขาดโอกาสเท่านั้น ไม่ใช่กองทุนเพื่อหวังผลในการหาเสียงหรือหวังผลได้ทางการเมือง หรือเป็นไปเพื่อการปล่อยเงินกู้เพื่อส่งเสริมนโยบายประชานิยม 3.การบริหารจัดการกองทุนฯจะต้องบริหารโดยให้มีคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน 4.การบริหารการใช้เงินของกองทุนฯต้องบริหารอยู่บนหลักของการกระจายอำนาจ โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีกลไกกำกับดูแล และ 5.เพื่อให้เกิดการพัฒนาบทบาทสตรีอย่างยั่งยืน รัฐบาลต้องเร่งรัดให้ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศฉบับประชาชน และร่าง พ.ร.บ.กองทุนส่งเสริมการพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตสตรีแห่งชาติเป็นกฎหมายภายใน 90 วัน นับแต่เมื่อรัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแล้ว
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมประเทศไทย คณะกรรมการเครือข่ายพลังสตรีเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สภาสตรีแห่งชาติ สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ มูลนิธิเพื่อนหญิงร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดแถลงข่าวเรื่อง เสียงของผู้หญิงต่อกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี
โดย นางสุธาดา เมฆรุ่งเรืองกุล ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯ กล่าวว่า ประเทศไทยมีประชากรหญิงมากกว่าชาย 1,100,000 คน กว่า 50% อยู่ภายในชนบท และไม่ต่ำกว่า 6 ล้านคน เป็นประชากรหญิงที่ยากไร้ มีรายได้น้อย ซึ่งโดยรวมแล้วประชากรหญิงของไทยอยู่ในกลุ่มที่ควรจะได้รับการพัฒนาศักยภาพทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม โดยกองทุนสตรีเป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยให้สตรีกลุ่มที่ต้องการการได้รับการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิต เพื่อให้ได้รับโอกาสทัดเทียมกับเพื่อนผู้หญิงในสังคม แต่มีข้อกังวลว่ารัฐบาลจะผลักดันให้การจัดตั้งกองทุนสตรีเป็นไปเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแนวนโยบายประชานิยมของพรรคเพื่อไทย ดังนั้น เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯและองค์กรภาคีเครือข่าย จึงขอให้รัฐบาลพิจารณาว่า การจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตของสตรีจะต้องไม่ใช่กองทุนที่ตั้งขึ้นเพียงเพื่อการหาคะแนนเสียง เพื่อให้ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง ไม่ใช่กองทุนต่างตอบแทนคะแนนเสียงที่ได้รับ ไม่ใช่กองทุนของสตรีกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ไม่ใช่กองทุนกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายประชานิยม ไม่ใช่กองทุนที่โยนลงไปในหมู่สตรีเพื่อให้เกิดความแตกแยก แบ่งพวกแบ่งเหล่า และต้องไม่ใช่กองทุนที่ใช้เงินภาษีจากประชาชนที่ถูกนำมาใช้เพียงเพื่อทำให้ผู้หญิงอ่อนแอพึ่งพิงอำนาจเงินและวัตถุมากขึ้น และไม่ใช่หนี้กองทุนที่ไม่มีวันจะชดใช้ได้หมด
นางสุธาดา กล่าวต่อว่า เครือข่ายผู้หญิงพลิกโฉมฯขอเสนอหลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนสตรีเพื่อผู้หญิง 5 ข้อต่อ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ดังนี้ 1.เครือข่ายสนับสนุนการจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเป็นหนึ่งกลไกสำคัญที่จะช่วยสตรีที่อยู่ในภาวะยากลำบากและขาดโอกาสได้รับการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตเพื่อให้ได้รับโอกาสทัดเทียมกันกับในสังคม 2.กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีที่รัฐบาลจะจัดตั้งขึ้นต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมโอกาสและบทบาทของสตรี เพื่อความเสมอภาคและความเป็นธรรมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของสตรีที่อยู่ในภาวะยากลำบากและขาดโอกาสเท่านั้น ไม่ใช่กองทุนเพื่อหวังผลในการหาเสียงหรือหวังผลได้ทางการเมือง หรือเป็นไปเพื่อการปล่อยเงินกู้เพื่อส่งเสริมนโยบายประชานิยม 3.การบริหารจัดการกองทุนฯจะต้องบริหารโดยให้มีคณะกรรมการที่มีตัวแทนจากทุกภาคส่วน 4.การบริหารการใช้เงินของกองทุนฯต้องบริหารอยู่บนหลักของการกระจายอำนาจ โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยมีกลไกกำกับดูแล และ 5.เพื่อให้เกิดการพัฒนาบทบาทสตรีอย่างยั่งยืน รัฐบาลต้องเร่งรัดให้ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมโอกาสและความเสมอภาคระหว่างเพศฉบับประชาชน และร่าง พ.ร.บ.กองทุนส่งเสริมการพัฒนาบทบาทและคุณภาพชีวิตสตรีแห่งชาติเป็นกฎหมายภายใน 90 วัน นับแต่เมื่อรัฐบาลได้ประกาศจัดตั้งกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีแล้ว