xs
xsm
sm
md
lg

กมธ.ปรองดองซีก พท.รุมบี้กองทัพต้นเหตุขัดแย้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

คณะกรรมธิการเพื่อพิจารณาศึกษาหาแนวทางการสร้างการปรองดองแ่ห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน โดยที่ประชุม พร้อมด้วย พล.ท.อักษรา เกิดผล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายอุดหนุน ตัวแทน ผบ.ทบ.มาร่วมประชุมแทน เพื่อรับฟังการกล่าวอ้างของ นายณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ ว่ากลุ่ม นปช.ไม่มีแผนที่จะ้ล้มเจ้า โดยมีผู้แทนจากญี่ปุ่นเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ด้วย ที่้ห้อง 3701 อาคารัฐสภา 3 (10 ม.ค.)
วงประชุม กมธ.ปรองดอง จากซีกเพื่อไทยสวมบทเด็กเกเร สบโอกาสไล่บี้กองทัพ จากเหตุการณ์ 19 ก.ย.รับประหาร ต้นตอความขัดแย้งในสังคม ด้าน “ผช.เสธ.ทบ” ยันทหารทำหน้าที่ปกป้อง 3 สถาบันหลักของชาติ ด้าน “ไอ้เต้น” สุมไฟลั่นจะลากผู้เกี่ยวข้องมารับโทษ กร้าวไม่ให้ทหารยุ่งเกี่ยวการเมือง

วันนี้ (10 ม.ค.) ที่รัฐสภา ได้มีการการประชุมกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคมาตุภูมิ เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และนางปิยะมาน เตชะไพบูลย์ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เข้าหารือและให้ข้อมูลเพื่อเสนอแนะแนวทางที่ทำให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ไม่ได้ร่วมประชุม แต่ได้ส่ง พล.ท.อักษรา เกิดผล ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายอุดหนุน มาร่วมประชุมแทน

สำหรับบรรยากาศการประชุมได้เป็นไปอย่างตึงเครียด เนื่องจาก กมธ.ปรองดอง ฝั่งพรรคเพื่อไทย และพรรคภูมิใจไทย ได้ย้ำถึงปัจจัยของความขัดแย้งทางการเมืองที่ผ่านมานับตั้งแต่หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 ว่า เพราะกองทัพได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น จากเดิมที่ทำหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง โดยนายศุภชัย ใจสมุทร ส.ส.พรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า จากประวัติความขัดแย้งการเมืองที่ผ่านมาพบว่ากองทัพเข้ามามีบทบาทสำคัญและได้กลายเป็นคู่ขัดแย้งทางการเมือง ตนอยากถามกองทัพจะมีแนวทางแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร

ขณะที่ นายนิกร จำนง กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า ตนมองว่ากองทัพไม่ใช่คู่ขัดแย้งทางการเมือง แต่ทหารถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐ โดยบางครั้งสามารถยุติขัดแย้งได้ และบางครั้งได้กลายเป็นแผลเป็นกับสังคม ซึ่งแผลเป็นที่เกิดขึ้น เช่นเหตุการณ์ 14 ต.ค.16 เหตุการณ์ในเดือน พ.ค.35 และกรณีผู้เสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค.53 จำนวน 91 ศพ ก็จะถูกนำมาอ้างอิงเพื่อนำไปสู่ความขัดแย้งรอบใหม่ ดังนั้นประเด็นดังกล่าวกองทัพจะมีวิธีเยียวยาอย่างไร

ด้าน นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ กมธ.ในโควตาพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า ตนไม่เชื่อว่ากองทัพจะกลายเป็นเครื่องมือทางการเมืองของฝ่ายใด เพราะที่ผ่านมาเห็นว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมาย อีกทั้งไม่เชื่อว่าการชุมนุมของประชาชนแกนนำแต่ละสีจะสามารถระดมคนเข้ามาร่วม รวมถึงการว่าจ้างคนมาร่วมชุมนุม ดังนั้นตนมองว่าที่ผ่านมาจำเป็นต้องลืมอดีตและหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน ไม่ใช่ใช้การปฏิเสธ หรือโยนสวะให้พ้นมือ รวมถึงมาเริ่มต้นกันใหม่ ตนขอถามว่าในเบื้องต้นทางกองทัพมีแนวทางสร้างความปรองดองอย่างไรบ้าง

หลังจากนั้น พล.ท.อักษราได้ชี้แจงว่า ในทางความมั่นคง ทางทหารมองว่าเป็นรักษาสถาบันชาติ ศาสนา สละพระมหากษัตริย์ ซึ่งขณะนี้ทหารได้ลงพื้นที่เพื่อปลูกฝังแนวคิด แต่ยอมรับว่าในพื้นที่ได้มีการบิดเบือนละปลูกฝังแนวคิดอื่นผ่านทางสื่อ อย่างไรก็ตาม จากกาารลงพื้นที่ของทหารพบว่า ความมั่นคงในความหมายภาคประชาสังคมนั้นเป็นความมั่นคงในแง่ของสิทธิพลเมือง การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม และการตอบสนองที่ถูกใจ ทั้งนี้ตนยืนยันว่ากองทัพไม่ใช่คู่ขัดแย้งทางการเมือง และไม่ต้องการให้เกิดความรุนแรง ที่ผ่านมาทหารออกมาเพราะปฏิบัติหน้าที่ เป็นฝ่ายสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจ และยืนยันว่าทำตามกฎหมาย และยืนอยู่ข้างประชาชน แต่ยอมรับว่ามีส่วนที่พยายามดึงกองทัพไปเป็นคู่ขัดแย้ง ส่วนการเสนอแนะแนวทางปรองดองใดนั้นตนไม่ขอออกความเห็น ส่วนความผิดในทางกฎหมายขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำตัดสินของศาล คาดว่าในเดือน ก.พ.55 จะมีความชัดเจน

จากนั้น นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ส.ส.พรรคเพื่อไทย และแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในฐานะ กมธ.ปรองดอง กล่าวว่า ตนไม่เห็นด้วยที่จะให้ลืมเรื่องในอดีต เพราะจะกระทบต่อกระบวนการสร้างการเรียนรู้ของประชาชน ดังนั้นมองว่าต้องทำความเข้าใจว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นจะมีทางป้องกันอย่างไร สำหรับความขัดแย้งทางการเมืองขณะนี้ ตนมองว่ามาจากโครงสร้าง ไม่ใช่ตัวบุคคล หรือพรรคการเมือง ทั้งนี้กองทัพต้องยอมรับความจริงด้วยว่าหลังจากการรัฐประหาร 19 ก.ย.49 กองทัพเป็นปัจจัยสำคัญต่อสถานการณ์การเมืองไทย

“ทุกฝ่ายเห็นตรงกันว่าความปรองดองเกิดได้ หากฝ่ายการเมืองเข้ามาร่วมรับผิดชอบ ผมในฐานะต้องโทษคดีอาญา มีโทษสูงสุดถึงประหารชีวิต อยากเห็นคนที่ทำผิดมาร่วมรับผิดชอบ ในทางกระบวนการยุติธรรม และฝ่ายอื่นๆควรแสดงเจตนารมย์เช่นนี้ด้วย” นายณัฐวุฒิกล่าวในที่ประชุม

นายณัฐวุฒิกล่าวต่อว่า กองทัพต้องเปิดใจรับฟัง และควรเดินหน้าหารือถึงแนวทางป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้น และตนขอความกรุณากองทัพ อย่าแสดงความเห็นทางการเมือง และของให้ระวังในการวางบทบาทเพราะสถานะของกองทัพขณะนี้เป็นเรื่องมั่นคงไม่ใช่ต้องบทบาททางการเมือง

จากนั้น นางปิยะมานกล่าวในที่ประชุมว่า ที่ผ่านมาภาคธุรกิจท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากการชุมนุมทางการเมืองมาก แต่สามารถฟื้นตัวได้เร็ว ทั้งนี้ขอฝาก กมธ.ปรองดอง ไปยังผู้นำในรัฐบาลด้วยว่า ก่อนที่จะให้ข่าวใดๆ ขอให้คิดถึงผลกระทบด้วย เช่น เมื่อช่วงวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ มีผู้ใหญ่ในรัฐบาลให้ข่าวว่าจะมีระเบิด ทำให้นักท่องเที่ยวงดเดินทางมาเฉลิมฉลองในประเทศไทยจำนวนมาก


กำลังโหลดความคิดเห็น