เอกอัครราชทูตญี่ปุ่น นำ 8 ผู้เชี่ยวชาญ พบ ผอ.ศปภ. ลังไปสำรวจน้ำท่วม ยันพร้อมช่วยไทย ชู น้ำไม่เข้ารถไฟใต้ดินแน่ ลั่นถือโอกาสแทนคุณช่วยสึนามิ ยินดีร่วมวางแผนป้องกันระยะยาว ด้านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น แนะรัฐหาพื้นที่ชาวบ้านเป็นทางผ่านน้ำ ทำบิ๊กโปรเจกต์ในอนาคต แนะช่วยเหลือ 3 ระดับ เล็งสร้างบ่อพักน้ำสกัดท่วมนิคม
วันนี้ (31 ต.ค.) นายเซอิจิ โอจิมะ เอกอัครราชทูตทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่า ได้พาผู้เชี่ยวชาญ 8 คน มาพบ พล.ต.อ.ประชา โดยเชี่ยวชาญด้านการควบคุมน้ำท่วม การรักษาความปลอดภัยด้านสนามบิน การประปา และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งทั้ง 8 คนมาจากญี่ปุ่นได้ไปสำรวจสถานการณ์น้ำท่วม และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยด้วย สำหรับคำแนะนำของทีมผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นสามารถโทร.ไปสัมภาษณ์ได้ จะอธิบายคำแนะนำแต่ละด้าน สถานการณ์ทั่วไปในขณะนี้สถานทูตญี่ปุ่นเข้าใจว่ารัฐบาลไทยกำลังพยายามจะควบคุมสถานการณ์อย่างเต็มที่ สถานทูตญี่ปุ่นยินดีที่จะสร้างโครงการต่างๆ ที่จะช่วยเหลือประเทศไทย
“โดยในการเข้าหารือครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาพบ 7 คน อีกหนึ่งคนนั้นไม่ได้มาด้วยเพราะได้ไปตรวจการป้องกันน้ำท่วมที่นิคมบางนา จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้มาด้วย ทั้งนี้ จากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ไปสำรวจการป้องกันที่รถไฟฟ้าใต้ดิน พบว่า มาตราการที่มีการป้องกันอยู่นี้สามารถรับมือน้ำท่วมได้สูงถึง 3.5 เมตร ซึ่งเชื่อว่าจะป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดินได้แน่นอน” นายเซอิจิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ให้คำแนะนำรัฐบาลในเรื่องการฟื้นฟูอย่างไรบ้างในฐานะที่ญี่ปุ่นเคยประสบอุทกภัยมาก่อน นายเซอิจิ กล่าวว่า สำหรับการตั้งมาตรการฟื้นฟูประเทศไทยระยะยาว ญี่ปุ่นยินดีร่วมมือรัฐบาลไทยและให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและแผ่นดินไทย หลังจากวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบภัยธรรมชาติรุนแรง และได้รับความช่วยเหลือจากไทยอย่างมาก เราขอถือโอกาสนี้เพื่อจะคืนความช่วยเหลือให้แก่ชาวไทย ตอบแทนความช่วยเหลือที่คนไทยมอบให้ประชาชนชาวญี่ปุ่น ในระยะสั้นและระยะยาวญี่ปุ่นยินดีร่วมมือรัฐบาลไทยในทุกๆ ด้าน
เมื่อถามว่า รัฐบาลไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเป็นที่ปรึกษาด้านการฟื้นฟูระยะยาวหรือยัง ทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นยินดีที่จะสอนผู้เชี่ยวชาญระยะยาว นอกจากการสอนผู้เชี่ยวชาญแล้วยังยินดีที่จะเสนอความร่วมมือในการวางแผน การวางระบบการป้องกันน้ำท่วมในอนาคตที่ประเทศไทยด้วย ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านผู้เชี่ยวชาญและทุกๆ ด้าน ยินดีที่จะเสนอโครงการช่วยเหลือประเทศไทย
ทางด้าน พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า เราได้ขอบคุณในความปรารถนาดีของประเทศญี่ปุ่น โดยครั้งนี้ญี่ปุ่นได้ให้มาตรการ และส่งผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นด้านต่างๆ ในการรับมือน้ำท่วม เช่นสนามบิน รถไฟฟ้าใต้ดิน ประปา และ ไฟฟ้า ซึ่งทางรัฐบาลได้ให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านของทั้งสองประเทศได้มาพบกัน และหารือร่วมกันในการป้องกันน้ำท่วมครั้งนี้
ขณะที่ นายกิมิโอะ ทาเคยะ ที่ปรึกษาอาวุธโสองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA กล่าวถึงปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ว่า ลักษณะภูมิของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะแตกต่างกัน โดยภูมิประเทศของประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่ลุ่ม อีกทั้งกระแสน้ำมักจะรุนแรง เพราะเป็นคลื่นจากสึนามิ ในส่วนของประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้ประสบบปัญหาน้ำท่วมขังได้ง่าย และยังทำให้การระบายออกต้องใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำที่ท่วมขังที่ จ.อยุธยา รัฐบาลจำเป็นจะต้องเพิ่มช่องทางให้น้ำไหลผ่านมากขึ้น และรัฐบาลจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนในการหาพื้นที่ให้เป็นทางผ่านของน้ำ นอกจากนี้ ต้องมีแผนในการเพิ่มช่องทางในระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องทำเป็นโครงการขนาดใหญ่เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคต ขณะที่มาตรการให้การช่วยเหลือจะต้องแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยต้องเริ่มจากประชาชนที่ประสบภัยต้องพึงพาตนเองก่อน จากนั้นจึงเป็นการช่วยเหลือจากภาคชุมชน และสุดท้ายเป็นการให้การช่วยเหลือของภาครัฐ โดยการให้การช่วยเหลือที่แบ่งเป็นระดับจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น
นายกิมิโอะ กล่าวว่า ทั้งนี้ ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในบริเวณที่ประสบอุทกภัยในประเทศญี่ปุ่นจะมีการสร้างบ่อพักน้ำขึ้นมาโดยรอบ เพื่อเป็นการสกัดกั้นน้ำ ขณะที่ในเขตของชุมชนอาจจะต้องมีการนำผังเมืองมาศึกษาดูว่าพื้นที่ใดเป็นที่ลุ่มน้ำขังก็อาจจะต้องมีการเจราจรกับประชาชนในพื้นที่ปรับสร้างเป็นบ่อพักน้ำ
วันนี้ (31 ต.ค.) นายเซอิจิ โอจิมะ เอกอัครราชทูตทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย เปิดเผยภายหลังเข้าพบ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ในฐานะ ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ว่า ได้พาผู้เชี่ยวชาญ 8 คน มาพบ พล.ต.อ.ประชา โดยเชี่ยวชาญด้านการควบคุมน้ำท่วม การรักษาความปลอดภัยด้านสนามบิน การประปา และรถไฟฟ้าใต้ดิน ซึ่งทั้ง 8 คนมาจากญี่ปุ่นได้ไปสำรวจสถานการณ์น้ำท่วม และให้คำชี้แนะกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายไทยด้วย สำหรับคำแนะนำของทีมผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นสามารถโทร.ไปสัมภาษณ์ได้ จะอธิบายคำแนะนำแต่ละด้าน สถานการณ์ทั่วไปในขณะนี้สถานทูตญี่ปุ่นเข้าใจว่ารัฐบาลไทยกำลังพยายามจะควบคุมสถานการณ์อย่างเต็มที่ สถานทูตญี่ปุ่นยินดีที่จะสร้างโครงการต่างๆ ที่จะช่วยเหลือประเทศไทย
“โดยในการเข้าหารือครั้งนี้ มีผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นมาพบ 7 คน อีกหนึ่งคนนั้นไม่ได้มาด้วยเพราะได้ไปตรวจการป้องกันน้ำท่วมที่นิคมบางนา จึงเป็นที่น่าเสียดายที่ไม่ได้มาด้วย ทั้งนี้ จากที่ผู้เชี่ยวชาญได้ไปสำรวจการป้องกันที่รถไฟฟ้าใต้ดิน พบว่า มาตราการที่มีการป้องกันอยู่นี้สามารถรับมือน้ำท่วมได้สูงถึง 3.5 เมตร ซึ่งเชื่อว่าจะป้องกันน้ำท่วมรถไฟฟ้าใต้ดินได้แน่นอน” นายเซอิจิ กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ให้คำแนะนำรัฐบาลในเรื่องการฟื้นฟูอย่างไรบ้างในฐานะที่ญี่ปุ่นเคยประสบอุทกภัยมาก่อน นายเซอิจิ กล่าวว่า สำหรับการตั้งมาตรการฟื้นฟูประเทศไทยระยะยาว ญี่ปุ่นยินดีร่วมมือรัฐบาลไทยและให้คำแนะนำต่างๆ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและแผ่นดินไทย หลังจากวันที่ 11 มี.ค.ที่ผ่านมา ประเทศญี่ปุ่นได้ประสบภัยธรรมชาติรุนแรง และได้รับความช่วยเหลือจากไทยอย่างมาก เราขอถือโอกาสนี้เพื่อจะคืนความช่วยเหลือให้แก่ชาวไทย ตอบแทนความช่วยเหลือที่คนไทยมอบให้ประชาชนชาวญี่ปุ่น ในระยะสั้นและระยะยาวญี่ปุ่นยินดีร่วมมือรัฐบาลไทยในทุกๆ ด้าน
เมื่อถามว่า รัฐบาลไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเป็นที่ปรึกษาด้านการฟื้นฟูระยะยาวหรือยัง ทูตญี่ปุ่น กล่าวว่า รัฐบาลญี่ปุ่นยินดีที่จะสอนผู้เชี่ยวชาญระยะยาว นอกจากการสอนผู้เชี่ยวชาญแล้วยังยินดีที่จะเสนอความร่วมมือในการวางแผน การวางระบบการป้องกันน้ำท่วมในอนาคตที่ประเทศไทยด้วย ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านผู้เชี่ยวชาญและทุกๆ ด้าน ยินดีที่จะเสนอโครงการช่วยเหลือประเทศไทย
ทางด้าน พล.ต.อ.ประชา กล่าวว่า เราได้ขอบคุณในความปรารถนาดีของประเทศญี่ปุ่น โดยครั้งนี้ญี่ปุ่นได้ให้มาตรการ และส่งผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่นด้านต่างๆ ในการรับมือน้ำท่วม เช่นสนามบิน รถไฟฟ้าใต้ดิน ประปา และ ไฟฟ้า ซึ่งทางรัฐบาลได้ให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้านของทั้งสองประเทศได้มาพบกัน และหารือร่วมกันในการป้องกันน้ำท่วมครั้งนี้
ขณะที่ นายกิมิโอะ ทาเคยะ ที่ปรึกษาอาวุธโสองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ JICA กล่าวถึงปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย ว่า ลักษณะภูมิของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น มีลักษณะแตกต่างกัน โดยภูมิประเทศของประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่เป็นที่ลุ่ม อีกทั้งกระแสน้ำมักจะรุนแรง เพราะเป็นคลื่นจากสึนามิ ในส่วนของประเทศไทยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ทำให้ประสบบปัญหาน้ำท่วมขังได้ง่าย และยังทำให้การระบายออกต้องใช้เวลานาน อย่างไรก็ตาม ปัญหาน้ำที่ท่วมขังที่ จ.อยุธยา รัฐบาลจำเป็นจะต้องเพิ่มช่องทางให้น้ำไหลผ่านมากขึ้น และรัฐบาลจะต้องได้รับความยินยอมจากประชาชนในการหาพื้นที่ให้เป็นทางผ่านของน้ำ นอกจากนี้ ต้องมีแผนในการเพิ่มช่องทางในระยะยาว ซึ่งอาจจะต้องทำเป็นโครงการขนาดใหญ่เพื่อป้องกันปัญหาอุทกภัยในอนาคต ขณะที่มาตรการให้การช่วยเหลือจะต้องแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน โดยต้องเริ่มจากประชาชนที่ประสบภัยต้องพึงพาตนเองก่อน จากนั้นจึงเป็นการช่วยเหลือจากภาคชุมชน และสุดท้ายเป็นการให้การช่วยเหลือของภาครัฐ โดยการให้การช่วยเหลือที่แบ่งเป็นระดับจะทำให้การแก้ปัญหาทำได้ง่ายขึ้น
นายกิมิโอะ กล่าวว่า ทั้งนี้ ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในบริเวณที่ประสบอุทกภัยในประเทศญี่ปุ่นจะมีการสร้างบ่อพักน้ำขึ้นมาโดยรอบ เพื่อเป็นการสกัดกั้นน้ำ ขณะที่ในเขตของชุมชนอาจจะต้องมีการนำผังเมืองมาศึกษาดูว่าพื้นที่ใดเป็นที่ลุ่มน้ำขังก็อาจจะต้องมีการเจราจรกับประชาชนในพื้นที่ปรับสร้างเป็นบ่อพักน้ำ