xs
xsm
sm
md
lg

รัฐประเมินน้ำท่วม อุตฯ เจ๊งกว่า 8 แสนล้าน-ตกงาน 6.6 แสนคน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

แฟ้มภาพ
รัฐบาลสรุปน้ำท่วมกระทบโรงงานเกือบ 1 หมื่นแห่ง มูลค่าความเสียหายกว่า 8 แสนล้านบาท แรงงานเคว้งอีกว่า 6.6 แสนคน เฉพาะ 7 นิคมฯ ใหญ่เจ๊งแล้ว 2.37 แสนล้านบาท จีดีพีภาคอุตสาหกรรมทั้งปีลด 1.9 เปอร์เซนต์ คาดตลอดปี 54 โตแค่ 0.1-1.1 เปอร์เซนต์


ที่อากาศยานดอนเมือง วันนี้ (25 ต.ค.) นายชลิตรัตน์ จันทรุเบกษา รองโฆษกประสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงสถานการณ์ความเสียหายภาคอุตสาหกรรมจากเหตุอุทกภัยที่เกิดขึ้นว่า ได้ส่งผลกระทบต่อโรงงานทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรมประมาณ 9,859 โรงงาน มูลค่าการลงทุนกว่า 8 แสนล้านบาท ครอบคลุมเขตอุทกภัยร้ายแรงจำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง อุทัยธานี นนทบุรี และปทุมธานี ทำให้มีผู้ใช้แรงงานได้รับผลกระทบกว่า 6.6 แสนคน รวมถึงได้สร้างความเสียหายให้แก่เครื่องจักร วัตถุดิบ และสินค้าคงคลังอีกเป็นจำนวนมาก

นายชลิตรัตน์ กล่าวต่อว่า โดยเฉพาะใน 7 นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ได้แก่ นิคมสหรัตนคร นิคมไฮเทค นิคมบางปะอิน นิคมโรจนะ นิคมแฟคตอรี่แลนด์ นิคมนวนคร และนิคมบางกะดี มีจำนวนโรงงานได้รับความเสียหาย 838 โรง จำนวนคนงาน 3.82 แสนคน มูลค่าความเสียหายโดยตรงกว่า 237,410 ล้านบาท โดยในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ประกอบการได้มีการทำประกันภัย แต่ยังไม่สามารถระบุประเภทความคุ้มครองได้รวม 396 ราย วงเงินประกันรวม 257,589 ล้านบาท และใน จ.ปทุมธานี จำนวน 249 ราย วงเงินรวม 199,185 ล้านบาท

สำหรับผลกระทบทางอ้อมต่อมูลค่าการผลิตของปี 2554 นายชลิตรัตน์ กล่าวว่า เบื้องต้นจากการประเมินคาดว่ามูลค่าการผลิตจะลดลงในไตรมาสที่ 4 คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3.28 แสนล้านบาท ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ภาคอุตสาหกรรมในปี 2554 ลดลง 1.9 เปอร์เซนต์ จากที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่าตลอดทั้งปีจะขยายตัว 2 - 3 เปอร์เซนต์ เหลือ 0.1 - 1.1 เปอร์เซนต์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการฟื้นฟูความเสียหายว่าสามารถทำได้อย่างรวดเร็วหรือไม่ ซึ่งหากฟื้นฟูได้ช้าอาจส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อเนื่องอีกมาก

ครม.อนุมัติงบ 8 หมื่นล้านแนวทางฟื้นฟูผู้ประสบภัย

นางฐิติมา ฉายแสง โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. ได้พิจารณา ความเห็นชอบในแนวทางการช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ 1.การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า 2. การช่วยเหลือระหว่างที่ระดับน้ำในพื้นที่ยังท่วมสูง 3.การฟื้นฟูภายหลังน้ำลดแล้ว 4.การปรับโครงสร้างถาวร โดยทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่จะช่วยการฟื้นฟูเยียวยาไปในทิศทางเดียวกันและมีระบบซึ่งส่วนราชการต่าง ๆ ได้เสนอแนวทางและแผนการดำเนินงานช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและฟื้นฟูอย่างเป็นทางการมา 18 กระทรวง ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดอยู่ในวงเงิน 81,506 ล้านบาท โดยเป็นการแบ่งงานตามสัดส่วนของแต่ละกระทรวงที่เสนอมา ซึ่งเป็นรูปแบบกิจกรรมในศูนย์อพยพ 1-6 สัปดาห์ เช่น การแก้ไขปัญหาน้ำเน่าเสีย การฝึกอบรมอาชีพ การเฝ้าระวังโรคระบาด การฟื้นฟูโบราณสถาน การช่วยเหลือครูนักเรียน การช่วยช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรม การช่วยเหลือผู้ใช้แรงงาน การบูรณะซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม การบริหารจัดการน้ำ แนวทางดูแลกระจายควบคุมราคาสินค้าและบริการ การเงิน การคลัง การตั้งเป้าหมายเศรษฐกิจมหาภาค
กำลังโหลดความคิดเห็น