วัดฝีมือกันไปแล้ว สำหรับการแก้ไขวิกฤตอุทกภัยครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของรัฐบาลหุ่นเชิด นายกรัฐมนตรีโคลนนิ่ง ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ผลปรากฏว่า สอบตกแบบไม่ต้องขอดูคะแนนกันเลย เพราะคนดูคือคนไทยทั้งที่ต้องประสบกับภัยพิบัติด้วยตัวเอง และที่รอดพ้น ปลอดภัย แต่เป็นทุกข์ไปกับชะตากรรมของเพื่อนร่วมชาติ เห็นจะจะกับตาตัวเองเลยว่า ไม่มีทั้งความตั้งใจ ไม่มีทั้งฝีมือที่จะแก้ไขปัญหา สอบซ่อมกี่ครั้งๆ ก็ไม่ผ่าน
หลังน้ำลด รัฐบาลมีโอกาสแก้ตัวพิสูจน์ฝืมืออีกครั้งว่าจะมีน้ำยาในการฟื้นฟูประเทศที่เสียหายย่อยยับ ให้สมกับคำร่ำลือว่า ทั้งผู้นำและรัฐมนตรีหลายๆ คนเป็นนักบริหารจัดการมืออาชีพ ที่เน้นการลงมือทำ มากกว่าเล่นสำนวนตีโวหารหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ทุกครั้งที่เกิดอุทภภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นทันทีคือ บ้านเรือน ที่ถูกน้ำท่วม ทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหาย สูญหาย การเสียชีวิต บาดเจ็บ โรงเรียน วัด ถนน สะพาน สาธาณูปโภคพื้นฐานต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดความรุนแรงของน้ำท่วม
ความเสียหายลำดับต่อมา คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทั้งกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินความเสียหายคิดเป็นตัวเงิน 6-8 หมื่นล้านบาท และจะทำให้จีดีพีในปีนี้ ลดลง 0.6-0.9%
น้ำท่วมหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบคือ ภาคเกษตร ที่พื้นที่เพาะปลูกถูกน้ำท่วม พืชผลที่ยังไมได้เก็บเกี่ยวเสียหาย น้ำท่วมครั้งนี้ ซึ่งครอบคลุมถึง 40 จังหวัด ประเมินว่ามีพื้นที่การเกษตรเสียหายมากกว่า 2.4 ล้านไร่
แต่น้ำท่วมครั้งนี้ นอกจากเรือกสวนไร่นาได้รับความเสียภายแล้ว โรงงานอุตสาหกรรม หลายร้อยแห่งถูกน้ำท่วมหนัก จนเครื่องจักรเสียหายต้องปิดโรงงาน หยุดการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่พังไปแล้ว และในจังหวัดปทุมธานี ที่อยู่ในภาวะ 50/50
นิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นฐานการผลิตสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของนักลงทุนต่างชาติ โดยฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนญี่ปุ่น เพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ถือว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญพื้นที่หนึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ และเป็นเครื่องจักรใหญ่ในการขับเคลือนเศรษฐกิจไทยในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
เป็นครั้งแรกที่ฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงถึงขั้นพังพินาศจากอุทกภัย ผลกระทบที่ตามมาเป็นลูกโซ่ นอกเหนือจากผลกระทบต่อการส่งออกแล้ว คือ การจ้างงาน โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม พระนครศรีอยุธยา และปทุมธนี เป็นแหล่งสร้างงานขนาดใหญ่มาก ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมคาดว่าจะมีผู้ต้องตกงานมากกว่า 120,000 คน และไม่มีใครรู้ว่าโรงงานที่ปิดตัวไปจะเริ่มเดินเครื่องได้อีกเมื่อไร
แรงงานที่สูญหายไปอย่างต่ำแสนกว่าคนนี้ หมายถึงมูลค่าการบริโภคจำนวนไม่น้อย ที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจไปด้วย จนกว่าจะมีการสร้างานขึ้นมาทดแทนกันใหม่
ผลกระทบที่มีความหมายมากที่สุด ซึ่งอาจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องเหนื่อย คือจะถูกมองว่ามีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจว่าจะคงฐานการผลิตไว้ที่ประเทศไทยหรือไม่ หรือจะย้ายไปที่ประเทศใกล้เคียง
ที่ผ่านมา ปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน นอกเหนือจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ค่าจ้างแรงงาน ตลาดในประเทศ สถานการณ์การเมืองแล้ว ก็คือ ประเทศไทยค่อนข้างจะปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการ แก้ไขสถานการณ์ของรัฐบาล อาจจะทำให้นักลงทุนต่างชาติ มองประเทศไทยแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเรื่อง การใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตก็ได้
น้ำลดสู่ระดับปกติเมื่อใด ผลกระทบทางเศรษฐกิจเหล่านี้จะก่อตัวขึ้นเป็นวิกฤติเศรษฐกิจย่อมๆทันที หากรัฐบาลดูเบาสถานการณ์ แก้ปัญหาแบบมือสมัครเล่น เหมือนการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ จะถึงขั้นแพ้น็อกทันที ไมทันได้พา นช.กลับบ้าน
หลังน้ำลด รัฐบาลมีโอกาสแก้ตัวพิสูจน์ฝืมืออีกครั้งว่าจะมีน้ำยาในการฟื้นฟูประเทศที่เสียหายย่อยยับ ให้สมกับคำร่ำลือว่า ทั้งผู้นำและรัฐมนตรีหลายๆ คนเป็นนักบริหารจัดการมืออาชีพ ที่เน้นการลงมือทำ มากกว่าเล่นสำนวนตีโวหารหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
ทุกครั้งที่เกิดอุทภภัย ความเสียหายที่เกิดขึ้นทันทีคือ บ้านเรือน ที่ถูกน้ำท่วม ทรัพย์สินของประชาชนที่เสียหาย สูญหาย การเสียชีวิต บาดเจ็บ โรงเรียน วัด ถนน สะพาน สาธาณูปโภคพื้นฐานต่างๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับขนาดความรุนแรงของน้ำท่วม
ความเสียหายลำดับต่อมา คือ ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ทั้งกระทรวงการคลัง สภาพัฒน์ และธนาคารแห่งประเทศไทย ประเมินความเสียหายคิดเป็นตัวเงิน 6-8 หมื่นล้านบาท และจะทำให้จีดีพีในปีนี้ ลดลง 0.6-0.9%
น้ำท่วมหลายๆ ครั้งที่ผ่านมา ภาคเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบคือ ภาคเกษตร ที่พื้นที่เพาะปลูกถูกน้ำท่วม พืชผลที่ยังไมได้เก็บเกี่ยวเสียหาย น้ำท่วมครั้งนี้ ซึ่งครอบคลุมถึง 40 จังหวัด ประเมินว่ามีพื้นที่การเกษตรเสียหายมากกว่า 2.4 ล้านไร่
แต่น้ำท่วมครั้งนี้ นอกจากเรือกสวนไร่นาได้รับความเสียภายแล้ว โรงงานอุตสาหกรรม หลายร้อยแห่งถูกน้ำท่วมหนัก จนเครื่องจักรเสียหายต้องปิดโรงงาน หยุดการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่พังไปแล้ว และในจังหวัดปทุมธานี ที่อยู่ในภาวะ 50/50
นิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้เป็นฐานการผลิตสินค้าชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ของนักลงทุนต่างชาติ โดยฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนญี่ปุ่น เพื่อส่งออกไปขายยังต่างประเทศ ถือว่าเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ที่สำคัญพื้นที่หนึ่งของภาคอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ และเป็นเครื่องจักรใหญ่ในการขับเคลือนเศรษฐกิจไทยในรอบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
เป็นครั้งแรกที่ฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกได้รับความเสียหายอย่างรุนแรงถึงขั้นพังพินาศจากอุทกภัย ผลกระทบที่ตามมาเป็นลูกโซ่ นอกเหนือจากผลกระทบต่อการส่งออกแล้ว คือ การจ้างงาน โรงงานในนิคมอุตสาหกรรม พระนครศรีอยุธยา และปทุมธนี เป็นแหล่งสร้างงานขนาดใหญ่มาก ในเบื้องต้นกระทรวงอุตสาหกรรมคาดว่าจะมีผู้ต้องตกงานมากกว่า 120,000 คน และไม่มีใครรู้ว่าโรงงานที่ปิดตัวไปจะเริ่มเดินเครื่องได้อีกเมื่อไร
แรงงานที่สูญหายไปอย่างต่ำแสนกว่าคนนี้ หมายถึงมูลค่าการบริโภคจำนวนไม่น้อย ที่จะหายไปจากระบบเศรษฐกิจไปด้วย จนกว่าจะมีการสร้างานขึ้นมาทดแทนกันใหม่
ผลกระทบที่มีความหมายมากที่สุด ซึ่งอาจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นเรื่องที่ประเทศไทยต้องเหนื่อย คือจะถูกมองว่ามีความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติในสายตาของนักลงทุนต่างชาติ ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งในการตัดสินใจว่าจะคงฐานการผลิตไว้ที่ประเทศไทยหรือไม่ หรือจะย้ายไปที่ประเทศใกล้เคียง
ที่ผ่านมา ปัจจัยหนึ่งที่เป็นแรงจูงใจให้นักลงทุนต่างประเทศเข้ามาลงทุน นอกเหนือจากที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ นโยบายส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล ค่าจ้างแรงงาน ตลาดในประเทศ สถานการณ์การเมืองแล้ว ก็คือ ประเทศไทยค่อนข้างจะปลอดภัยจากภัยธรรมชาติ
น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ ซึ่งรวมไปถึงการบริหารจัดการ แก้ไขสถานการณ์ของรัฐบาล อาจจะทำให้นักลงทุนต่างชาติ มองประเทศไทยแตกต่างไปจากเดิม ซึ่งอาจจะมีผลต่อการตัดสินใจเรื่อง การใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตก็ได้
น้ำลดสู่ระดับปกติเมื่อใด ผลกระทบทางเศรษฐกิจเหล่านี้จะก่อตัวขึ้นเป็นวิกฤติเศรษฐกิจย่อมๆทันที หากรัฐบาลดูเบาสถานการณ์ แก้ปัญหาแบบมือสมัครเล่น เหมือนการบริหารจัดการปัญหาน้ำท่วมในขณะนี้ จะถึงขั้นแพ้น็อกทันที ไมทันได้พา นช.กลับบ้าน