ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย โร่ร้องรัฐปรับค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาททั่วประเทศ ตามที่เพื่อไทยใช้หาเสียง ด้าน นักศึกษา ธรรมศาสตร์ เกษตร บูรพา รามฯ โผล่จี้ จบป.ตรี เงินเดือนหมื่นห้า
วันนี้ (7 ต.ค.) ที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรม ได้เดินมาเข้ายื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้พิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ตามที่พรรคเพื่อไทยได้รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ว่า จะดำเนินการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศทันที รวมถึงนโยบายผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ทำให้ผู้ใช้แรงงานพึงพอใจกับนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลกลับลดเป้าหมายของนโยบาย เพราะแรงกดดันของผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง และประกาศจะใช้นโยบายเฉพาะ 7 จังหวัด คือ กรุงเทพ ปริมณฑล และ จ.ภูเก็ต และขณะนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศว่าจะมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศหรือไม่ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย 6 สภาและ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ขอแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และสนับสนุนผลักดันให้ดำเนินการนโยบายดังกล่าวจนประสบผลสำเร็จ เพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ขณะเดียวกัน บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ เครือข่ายนักศึกษา 4 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา และซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันงานที่มีคุณค่า 7 ตุลาคม โดยระบุว่ารัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทและการมีงานทำเมื่อจบการศึกษา รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้อที่ 87 และ 98 บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ ที่ว่าความสงบสุขที่ยืนยาวจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้ใช้แรงงานได้รับการดูแลที่ดี รัฐบาลต้องควบคุมดูแลกำหนดมาตราการณ์ต่างๆเพื่อให้ราคาสินค้ามีความเป็นธรรม และรัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและฟรี ตั้งแต่เกิดจนจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล มวลชนประมาณ1,000คนได้มีการปิดการจราจรตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ จนถึงแยกมิสกวันเกือบทั้งหมด โดยเหลือไว้ให้รถสามารถวิ่งได้เพียง1ช่องทางส่งผลให้การจราจรบริเวณดังกล่าวติดขัดตั้งแต่ช่วงเช้า
วันนี้ (7 ต.ค.) ที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล นายมนัส โกศล ประธานองค์การแรงงานแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยกลุ่มเครือข่ายแรงงานเพื่อการปฏิรูปค่าจ้างที่เป็นธรรม ได้เดินมาเข้ายื่นหนังสือถึงน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ผ่านทางกองรับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล เพื่อเรียกร้องให้พิจารณาปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ ตามที่พรรคเพื่อไทยได้รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ว่า จะดำเนินการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศทันที รวมถึงนโยบายผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีได้รับเงินเดือน 15,000 บาท ทำให้ผู้ใช้แรงงานพึงพอใจกับนโยบายดังกล่าว
ทั้งนี้ รัฐบาลกลับลดเป้าหมายของนโยบาย เพราะแรงกดดันของผู้ประกอบการจำนวนหนึ่ง และประกาศจะใช้นโยบายเฉพาะ 7 จังหวัด คือ กรุงเทพ ปริมณฑล และ จ.ภูเก็ต และขณะนี้ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศว่าจะมีการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศหรือไม่ องค์การแรงงานแห่งประเทศไทย ซึ่งประกอบไปด้วย 6 สภาและ 1 สหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ ขอแสดงจุดยืนเรียกร้องให้ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันทั่วประเทศ และสนับสนุนผลักดันให้ดำเนินการนโยบายดังกล่าวจนประสบผลสำเร็จ เพื่อความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ขณะเดียวกัน บริเวณสะพานชมัยมรุเชษฐ์ เครือข่ายนักศึกษา 4 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย กลุ่มสะพานสูง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กลุ่มเสรีนนทรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มลูกชาวบ้าน มหาวิทยาลัยบูรพา และซุ้มเหมราช มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ร่วมออกแถลงการณ์เพื่อเรียกร้องรัฐบาลเนื่องในโอกาสวันงานที่มีคุณค่า 7 ตุลาคม โดยระบุว่ารัฐบาลต้องปฏิบัติตามนโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทและการมีงานทำเมื่อจบการศึกษา รัฐบาลต้องรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ข้อที่ 87 และ 98 บนพื้นฐานของวิสัยทัศน์ ที่ว่าความสงบสุขที่ยืนยาวจะเกิดขึ้นได้ ถ้าผู้ใช้แรงงานได้รับการดูแลที่ดี รัฐบาลต้องควบคุมดูแลกำหนดมาตราการณ์ต่างๆเพื่อให้ราคาสินค้ามีความเป็นธรรม และรัฐบาลต้องปฏิรูปการศึกษาให้มีคุณภาพและฟรี ตั้งแต่เกิดจนจบปริญญาตรีเป็นอย่างน้อย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศด้านหน้าทำเนียบรัฐบาล มวลชนประมาณ1,000คนได้มีการปิดการจราจรตั้งแต่บริเวณเชิงสะพานชมัยมรุเชษฐ์ จนถึงแยกมิสกวันเกือบทั้งหมด โดยเหลือไว้ให้รถสามารถวิ่งได้เพียง1ช่องทางส่งผลให้การจราจรบริเวณดังกล่าวติดขัดตั้งแต่ช่วงเช้า