เลื่อนแล้วเลื่อนอีก ลุ้นกันเหนื่อยสำหรับโผแต่งตั้งโยกย้ายกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่อังคารที่ 28 กันยายน ก็ยังไม่คลอด มาอังคารที่ 4 ตุลาคม ก็ไม่มี
แนวโน้มว่า ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รมว.มหาดไทย จะเลื่อนชงโผโยกย้ายมหาดไทยออกไปเรื่อยๆ เผลอๆ หากไม่มีอะไรพลิกผัน ข่าวล่าวงในจากคลองหลอดบอกมาว่า อาจถึงขั้นชงเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีช่วงต้นเดือนธันวาคม
เท่ากับว่า หากเป็นไปตามนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายของมหาดไทยถือว่าล่าช้ากว่าปกติร่วมๆ สองเดือน และแน่นอนจะล่าช้ากว่าโผตำรวจที่มีข่าวว่าจะทำให้เสร็จก่อน 31 ตุลาคม
ในทุกปีโผมหาดไทยก็จะต้องทำให้แล้วเสร็จก่อน 1 ตุลาคม เหตุที่การทำโผล่าช้านอกจากว่าฝ่ายรัฐบาลต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ทุ่มทำงานแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ต่อไปเรื่อยๆ ก่อนหลังประเมินว่า วิกฤตน้ำท่วมอาจยืดเยื้อยาวนาน และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายจังหวัดรับน้ำไม่อยู่แล้ว
รัฐบาลเกรงว่า หากมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตอนนี้ จะทำให้กระบวนการแก้ปัญหาน้ำท่วมในระดับจังหวัดเกิดมีปัญหาไม่ได้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำงานไม่ต่อเนื่อง
เพราะฝ่ายการเมืองเคาะกันมาแล้วว่า โผโยกย้ายมหาดไทยรอบนี้ย้ายกันหลายจังหวัดโดยเฉพาะภาคอีสาน รวมกันเบ็ดเสร็จร่วมๆ 45 ตำแหน่ง ด้วยเหตุนี้หากมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายช่วงนี้จะทำให้คนที่อยู่เดิม ต้องไปเรียนรู้งานในจังหวัดใหม่ที่ย้ายไป ก็เสียเวลาไปอีก
หรือหากแต่งตั้งระดับ 9 รองผู้ว่าราชการจังหวัดมาแทนระดับ 10 ที่เกษียณอายุราชการไปเกือบ 20 คน พวกนี้แม้จะเป็นรองผู้ว่าฯมาก่อนแต่เพิ่งเป็นผู้ว่าฯครั้งแรก ต้องเสียเวลามาเรียนรู้งานบริหารในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดในจังหวัด ยิ่งมาเจอการบริหารในภาวะวิกฤตน้ำท่วมแบบนี้ แถมหากเป็นการตั้งรองผู้ว่าฯจากจังหวัดหนึ่งไปอยู่อีกจังหวัดหนึ่งชนิดย้ายข้ามภาคกันเลย เช่น ตั้งรองผู้ว่าฯอีสานไปเป็นรองผู้ว่าฯภาคกลาง ก็ต้องมาเสียเวลาศึกษาปัญหาในพื้นที่อีก
แทนที่ผู้ว่าฯ-รองผู้ว่าฯ จะช่วยแบ่งเบางานรัฐบาลในการแก้ปัญหาน้ำท่วม กลับกลายเป็นว่าส่งไปทำงานแล้วทำงานไม่ได้ แบบนี้ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยก็โดนด่าเละอีก
จึงทำให้มหาดไทยยังไม่มีการชงโผโยกย้ายมหาดไทยเข้าครม.
อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงสะท้อนมาจากข้าราชการมหาดไทยว่า หลักคิดนี้ของรัฐบาลและฝ่ายการเมืองในมหาดไทยอาจผิดพลาด เพราะการที่ยังไม่รีบทำโผให้เสร็จ ก็ยิ่งทำให้พวกผู้ว่าฯ -ขรก.มหาดไทยในพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม ไม่รู้ชะตากรรมตัวเองว่าจะเป็นอย่างไร จะโดนย้ายไปในตำแหน่งที่แย่กว่าเดิมหรือจะได้อยู่ในตำแหน่งเดิม ได้อยู่ในจังหวัดเดิมต่อไป หรือได้อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่า
การต้องคอยมาลุ้นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน เพราะคิดว่าทำดีไป รัฐบาลก็ต้องย้ายอยู่ดี เพราะติดโผโดนเด้งอยู่แล้ว ต่อให้ทำงานดีแค่ไหน แต่หากฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะพวกส.ส.เพื่อไทยไม่เอา อย่างไรก็ต้องย้าย
หลายคนเลยบ่นกันเองว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองในมหาดไทยควรทำโผแต่งตั้งโยกย้ายให้เสร็จสิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย จะเป็นผลดีมากกว่า
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือ รัฐบาลกำลังเริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/255 ที่จะรับจำนำข้าวเปลือกในราคาตันละ 1.5 หมื่นล้านบาท และข้าวหอมมะลิตันละ 2 หมื่นบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงหลักของพรรคเพื่อไทย ที่จะเริ่มอย่างเป็นทางการวันที่ 7 ตุลาคมนี้ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าอาจมีการทุจริตกันเกิดขึ้น
รัฐบาลเพื่อไทยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายนี้อย่างมาก โดยเฉพาะต้องไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งการจะป้องกันจำเป็นต้องอาศัย คนของมหาดไทยทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่ถือว่ามีอำนาจและเครือข่ายข้าราชการในพื้นที่มากที่สุดในจังหวัด เพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการรับจำนำข้าว ให้เดินไปได้และไม่มีการทุจริต
โดยเฉพาะตัวผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด ที่นอกจากต้องดูแลเป็นหูเป็นตาโครงการนี้ไม่ให้มีการทุจริตแล้วตัวผู้ว่าฯยังต้องควบคุมดูแลสต็อกข้าวไม่ให้เกิดการสูญหายเด็ดขาด
ขณะที่นายอำเภอทั่วประเทศซึ่งก็เป็นลูกน้องผู้ว่าราชการจังหวัด ก็มีส่วนสำคัญในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการระดับอำเภอที่จะต้องกำกับดูแลการรับจำนำข้าวโดยเฉพาะการดูแลการดำเนินงานของโรงสีอย่างใกล้ชิด
ปัญหาน้ำท่วมและเรื่องที่ต้องอาศัยผู้ว่าฯ-นายอำเภอให้ช่วยขับเคลื่อนโครงการรับจำนำข้าวในระยะเริ่มต้นไม่ให้มีอะไรติดขัด จึงเป็นที่มาของการที่โผมหาดไทยเลื่อนแล้วเลื่อนอีก
แนวโน้มว่า ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รมว.มหาดไทย จะเลื่อนชงโผโยกย้ายมหาดไทยออกไปเรื่อยๆ เผลอๆ หากไม่มีอะไรพลิกผัน ข่าวล่าวงในจากคลองหลอดบอกมาว่า อาจถึงขั้นชงเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีช่วงต้นเดือนธันวาคม
เท่ากับว่า หากเป็นไปตามนี้ การแต่งตั้งโยกย้ายของมหาดไทยถือว่าล่าช้ากว่าปกติร่วมๆ สองเดือน และแน่นอนจะล่าช้ากว่าโผตำรวจที่มีข่าวว่าจะทำให้เสร็จก่อน 31 ตุลาคม
ในทุกปีโผมหาดไทยก็จะต้องทำให้แล้วเสร็จก่อน 1 ตุลาคม เหตุที่การทำโผล่าช้านอกจากว่าฝ่ายรัฐบาลต้องการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ทุ่มทำงานแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ต่อไปเรื่อยๆ ก่อนหลังประเมินว่า วิกฤตน้ำท่วมอาจยืดเยื้อยาวนาน และมีแนวโน้มจะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ หลายจังหวัดรับน้ำไม่อยู่แล้ว
รัฐบาลเกรงว่า หากมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายตอนนี้ จะทำให้กระบวนการแก้ปัญหาน้ำท่วมในระดับจังหวัดเกิดมีปัญหาไม่ได้ประสิทธิภาพ เนื่องจากการทำงานไม่ต่อเนื่อง
เพราะฝ่ายการเมืองเคาะกันมาแล้วว่า โผโยกย้ายมหาดไทยรอบนี้ย้ายกันหลายจังหวัดโดยเฉพาะภาคอีสาน รวมกันเบ็ดเสร็จร่วมๆ 45 ตำแหน่ง ด้วยเหตุนี้หากมีการปรับเปลี่ยนโยกย้ายช่วงนี้จะทำให้คนที่อยู่เดิม ต้องไปเรียนรู้งานในจังหวัดใหม่ที่ย้ายไป ก็เสียเวลาไปอีก
หรือหากแต่งตั้งระดับ 9 รองผู้ว่าราชการจังหวัดมาแทนระดับ 10 ที่เกษียณอายุราชการไปเกือบ 20 คน พวกนี้แม้จะเป็นรองผู้ว่าฯมาก่อนแต่เพิ่งเป็นผู้ว่าฯครั้งแรก ต้องเสียเวลามาเรียนรู้งานบริหารในฐานะผู้บังคับบัญชาสูงสุดในจังหวัด ยิ่งมาเจอการบริหารในภาวะวิกฤตน้ำท่วมแบบนี้ แถมหากเป็นการตั้งรองผู้ว่าฯจากจังหวัดหนึ่งไปอยู่อีกจังหวัดหนึ่งชนิดย้ายข้ามภาคกันเลย เช่น ตั้งรองผู้ว่าฯอีสานไปเป็นรองผู้ว่าฯภาคกลาง ก็ต้องมาเสียเวลาศึกษาปัญหาในพื้นที่อีก
แทนที่ผู้ว่าฯ-รองผู้ว่าฯ จะช่วยแบ่งเบางานรัฐบาลในการแก้ปัญหาน้ำท่วม กลับกลายเป็นว่าส่งไปทำงานแล้วทำงานไม่ได้ แบบนี้ รัฐบาลและกระทรวงมหาดไทยก็โดนด่าเละอีก
จึงทำให้มหาดไทยยังไม่มีการชงโผโยกย้ายมหาดไทยเข้าครม.
อย่างไรก็ตาม ก็มีเสียงสะท้อนมาจากข้าราชการมหาดไทยว่า หลักคิดนี้ของรัฐบาลและฝ่ายการเมืองในมหาดไทยอาจผิดพลาด เพราะการที่ยังไม่รีบทำโผให้เสร็จ ก็ยิ่งทำให้พวกผู้ว่าฯ -ขรก.มหาดไทยในพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วม ไม่รู้ชะตากรรมตัวเองว่าจะเป็นอย่างไร จะโดนย้ายไปในตำแหน่งที่แย่กว่าเดิมหรือจะได้อยู่ในตำแหน่งเดิม ได้อยู่ในจังหวัดเดิมต่อไป หรือได้อยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่า
การต้องคอยมาลุ้นแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ ก็ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน เพราะคิดว่าทำดีไป รัฐบาลก็ต้องย้ายอยู่ดี เพราะติดโผโดนเด้งอยู่แล้ว ต่อให้ทำงานดีแค่ไหน แต่หากฝ่ายการเมืองโดยเฉพาะพวกส.ส.เพื่อไทยไม่เอา อย่างไรก็ต้องย้าย
หลายคนเลยบ่นกันเองว่า อยากให้ฝ่ายการเมืองในมหาดไทยควรทำโผแต่งตั้งโยกย้ายให้เสร็จสิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย จะเป็นผลดีมากกว่า
นอกจากนี้ ยังมีอีกหนึ่งเหตุผลสำคัญคือ รัฐบาลกำลังเริ่มโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2554/255 ที่จะรับจำนำข้าวเปลือกในราคาตันละ 1.5 หมื่นล้านบาท และข้าวหอมมะลิตันละ 2 หมื่นบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหาเสียงหลักของพรรคเพื่อไทย ที่จะเริ่มอย่างเป็นทางการวันที่ 7 ตุลาคมนี้ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่าอาจมีการทุจริตกันเกิดขึ้น
รัฐบาลเพื่อไทยได้ให้ความสำคัญกับนโยบายนี้อย่างมาก โดยเฉพาะต้องไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้น ซึ่งการจะป้องกันจำเป็นต้องอาศัย คนของมหาดไทยทั้งส่วนกลางและท้องถิ่นที่ถือว่ามีอำนาจและเครือข่ายข้าราชการในพื้นที่มากที่สุดในจังหวัด เพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการรับจำนำข้าว ให้เดินไปได้และไม่มีการทุจริต
โดยเฉพาะตัวผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลการรับจำนำระดับจังหวัด ที่นอกจากต้องดูแลเป็นหูเป็นตาโครงการนี้ไม่ให้มีการทุจริตแล้วตัวผู้ว่าฯยังต้องควบคุมดูแลสต็อกข้าวไม่ให้เกิดการสูญหายเด็ดขาด
ขณะที่นายอำเภอทั่วประเทศซึ่งก็เป็นลูกน้องผู้ว่าราชการจังหวัด ก็มีส่วนสำคัญในฐานะ ประธานคณะอนุกรรมการระดับอำเภอที่จะต้องกำกับดูแลการรับจำนำข้าวโดยเฉพาะการดูแลการดำเนินงานของโรงสีอย่างใกล้ชิด
ปัญหาน้ำท่วมและเรื่องที่ต้องอาศัยผู้ว่าฯ-นายอำเภอให้ช่วยขับเคลื่อนโครงการรับจำนำข้าวในระยะเริ่มต้นไม่ให้มีอะไรติดขัด จึงเป็นที่มาของการที่โผมหาดไทยเลื่อนแล้วเลื่อนอีก