เลขาฯ กฤษฎีกา เผยรับเรื่องนายกฯ ขอความเห็นก่อนทูลเกล้าฯ 11 กสทช.แล้ว คาดเสร็จสัปดาห์หน้า ยันดูแค่ข้อกฎหมาย ไม่เกี่ยวการสรรหา โยน “ปู” ตัดสินใจเองทูลเกล้าฯ หรือไม่ แต่ชี้ต้องเป็นไปตามฝ่ายนิติบัญญัติ แต่หากมีเหตุผลพอก็เล่นละเว้นปฏิบัติหน้าที่ไม่ได้ ด้าน “สุรวิทย์” โผล่ประชุมหลักเกณฑ์สอบคัดคนเข้ากฤษฎีกา
วันนี้ (9 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งเรื่องขอความเห็นกรณีการดำเนินการเสนอรายชื่อกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ได้รับการลงมติคัดเลือกจากวุฒิสภาแล้ว ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับเรื่องขอความเห็นจากนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เย็นวานนี้ (8 ก.ย.) โดยประเด็นที่ขอความเห็นคือกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับเรื่องร้องเรียนความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรรมการสรรหาบางคนเป็นคดีพิเศษ จะส่งผลต่อการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ตามกฎหมาย กสทช.เพียงใด ทั้งนี้ กฤษฎีกาจะเร่งดำเนินการ โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทันกับที่วุฒิสภาส่งเรื่องมายังสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนแนวทางการพิจารณาจะพิจารณาตามประเด็นที่ขอหาความเห็นมา โดยจะดูจากข้อเท็จจริงว่าประเด็นที่ต้องการทราบคืออะไร ทั้งนี้ กฤษฎีกาจะพิจารณาเฉพาะข้อกฎหมาย โดยไม่มีการตรวจสอบลงลึกถึงกระบวนการสรรหา
นายอัชพร กล่าวอีกว่า สำหรับความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวตนไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการ ส่วนจะมอบหมายให้กรรมการคณะใดเป็นผู้วินิจฉัยจะต้องตรวจสอบประเด็นแท้จริงว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง จากนั้นจะมอบหมายคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะแต่กฎหมายของ กสทช.แต่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของดีเอสไอและรวมถึงกระบวนและวิธีปฏิบัติในการนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ส่วนการตัดสินใจนำรายชื่อว่าที่ กสทช.ขึ้นทูลเกล้าฯ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า โดยวิธีปฏิบัติตามปกติ เมื่อมีเรื่องที่ผ่านกระบวนการลงมติของวุฒิสภามาแล้วนายกรัฐมนตรีสามารถชะลอการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้หรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า โดยทั่วไปตามปกติจะไม่มีการดำเนินการในลักษณะนั้น กรณีนี้คงต้องมีการเชิญสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาให้ข้อมูลด้วยว่าเคยมีกรณีเช่นนี้หรือไม่ อย่างไรก็ดีตามปกติเรื่องใดที่ผ่านกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติแล้วควรจะถือไปตามนั้น
เมื่อถามว่า หากผลการตรวจสอบของดีเอสไอ พบว่า กระบวนการสรรหา กสทช.ผิดปกติจะกระทบต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสภาหรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า ทั้งหมดต้องดูว่าผลการสอบของดีเอสไอมีผลอย่างไร
เมื่อถามต่อว่า หากเสนอความเห็นให้นายกรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีตัดสินใจชะลอการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ จะมีผลถือว่านายกรัฐมนตรีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุผลในการดำเนินการถ้ามีเหตุผลในการอ้างที่สามารถอ้างได้ตามกฎหมายโดยมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอคงจะถือว่าละเว้นการทำหน้าที่คงไม่ได้
เมื่อถามอีกว่า หากมองถึงประเด็นความเหมาะสมในการชะลอการดำเนินการ นายอัชพร กล่าวว่า ความเหมาะสมเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจ กฤษฎีกาตอบไม่ได้ ทุกอย่างต้องดูเหตุผลรองรับว่ามีเหตุอะไร ตามกฎหมายไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯเมื่อใด การตัดสินใจจึงต้องดูว่าเหตุผลที่ยังไม่ดำเนินการต่อมาจากอะไร
นายอัชพร กล่าวว่า กฤษฎีกามีหน้าที่เสนอความเห็นตามกฎหมายตามที่นายกรัฐมนตรีขอความเห็น ส่วนประเด็นนอกจากนั้นจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ส่วนตัวไม่รู้สึกหนักใจเพราะเป็นเรื่องปกติเวลารัฐบาลมีความสงสัยในการดำเนินการเรื่องต่างๆ จะขอความเห็นมาที่กฤษฏีกาโดยกฤษฏีกาจะเสนอความเห็นตามที่ขอมา สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 13.00 น.นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา โดยมีนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาให้การต้อนรับ โดย นายสุรวิทย์ ได้ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ที่มีวาระการประชุมในการพิจารณาการกำหนดหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
วันนี้ (9 ก.ย.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา นายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงกรณีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ส่งเรื่องขอความเห็นกรณีการดำเนินการเสนอรายชื่อกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ได้รับการลงมติคัดเลือกจากวุฒิสภาแล้ว ว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับเรื่องขอความเห็นจากนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เย็นวานนี้ (8 ก.ย.) โดยประเด็นที่ขอความเห็นคือกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) รับเรื่องร้องเรียนความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกรรมการสรรหาบางคนเป็นคดีพิเศษ จะส่งผลต่อการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ ตามกฎหมาย กสทช.เพียงใด ทั้งนี้ กฤษฎีกาจะเร่งดำเนินการ โดยคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในสัปดาห์หน้า เพื่อให้ทันกับที่วุฒิสภาส่งเรื่องมายังสำนักนายกรัฐมนตรี ส่วนแนวทางการพิจารณาจะพิจารณาตามประเด็นที่ขอหาความเห็นมา โดยจะดูจากข้อเท็จจริงว่าประเด็นที่ต้องการทราบคืออะไร ทั้งนี้ กฤษฎีกาจะพิจารณาเฉพาะข้อกฎหมาย โดยไม่มีการตรวจสอบลงลึกถึงกระบวนการสรรหา
นายอัชพร กล่าวอีกว่า สำหรับความเห็นต่อประเด็นดังกล่าวตนไม่สามารถให้ความเห็นได้ เพราะขึ้นอยู่กับความเห็นของคณะกรรมการ ส่วนจะมอบหมายให้กรรมการคณะใดเป็นผู้วินิจฉัยจะต้องตรวจสอบประเด็นแท้จริงว่าเกี่ยวข้องกับเรื่องใดบ้าง จากนั้นจะมอบหมายคณะกรรมการที่มีความเชี่ยวชาญ ทั้งนี้ กรณีดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องเฉพาะแต่กฎหมายของ กสทช.แต่เกี่ยวข้องกับกฎหมายของดีเอสไอและรวมถึงกระบวนและวิธีปฏิบัติในการนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯ ส่วนการตัดสินใจนำรายชื่อว่าที่ กสทช.ขึ้นทูลเกล้าฯ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของนายกรัฐมนตรีเอง
ผู้สื่อข่าวถามว่า โดยวิธีปฏิบัติตามปกติ เมื่อมีเรื่องที่ผ่านกระบวนการลงมติของวุฒิสภามาแล้วนายกรัฐมนตรีสามารถชะลอการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ได้หรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า โดยทั่วไปตามปกติจะไม่มีการดำเนินการในลักษณะนั้น กรณีนี้คงต้องมีการเชิญสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาให้ข้อมูลด้วยว่าเคยมีกรณีเช่นนี้หรือไม่ อย่างไรก็ดีตามปกติเรื่องใดที่ผ่านกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติแล้วควรจะถือไปตามนั้น
เมื่อถามว่า หากผลการตรวจสอบของดีเอสไอ พบว่า กระบวนการสรรหา กสทช.ผิดปกติจะกระทบต่อการทำหน้าที่ของวุฒิสภาหรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า ทั้งหมดต้องดูว่าผลการสอบของดีเอสไอมีผลอย่างไร
เมื่อถามต่อว่า หากเสนอความเห็นให้นายกรัฐมนตรีแล้ว นายกรัฐมนตรีตัดสินใจชะลอการนำรายชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ จะมีผลถือว่านายกรัฐมนตรีละเว้นการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ นายอัชพร กล่าวว่า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเหตุผลในการดำเนินการถ้ามีเหตุผลในการอ้างที่สามารถอ้างได้ตามกฎหมายโดยมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอคงจะถือว่าละเว้นการทำหน้าที่คงไม่ได้
เมื่อถามอีกว่า หากมองถึงประเด็นความเหมาะสมในการชะลอการดำเนินการ นายอัชพร กล่าวว่า ความเหมาะสมเป็นเรื่องของนายกรัฐมนตรีจะตัดสินใจ กฤษฎีกาตอบไม่ได้ ทุกอย่างต้องดูเหตุผลรองรับว่ามีเหตุอะไร ตามกฎหมายไม่มีกำหนดเวลาว่าต้องนำเรื่องขึ้นทูลเกล้าฯเมื่อใด การตัดสินใจจึงต้องดูว่าเหตุผลที่ยังไม่ดำเนินการต่อมาจากอะไร
นายอัชพร กล่าวว่า กฤษฎีกามีหน้าที่เสนอความเห็นตามกฎหมายตามที่นายกรัฐมนตรีขอความเห็น ส่วนประเด็นนอกจากนั้นจะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยว ส่วนตัวไม่รู้สึกหนักใจเพราะเป็นเรื่องปกติเวลารัฐบาลมีความสงสัยในการดำเนินการเรื่องต่างๆ จะขอความเห็นมาที่กฤษฏีกาโดยกฤษฏีกาจะเสนอความเห็นตามที่ขอมา สุดท้ายแล้วขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไร
ผู้สื่อข่าวรายงาน เมื่อเวลา 13.00 น.นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา โดยมีนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกาให้การต้อนรับ โดย นายสุรวิทย์ ได้ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ที่มีวาระการประชุมในการพิจารณาการกำหนดหลักเกณฑ์การสอบคัดเลือกบุคคลเข้ารับราชการในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา ตามหลักเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)