คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศรับรองสถานภาพการเป็น ส.ส.ของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ว่าที่นายกรัฐมนตรี ตามคาด ขณะที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ รักษาการนายกรัฐมนตรี ก็ผ่านการรับรองไปด้วยเช่นกัน
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กกต.ยังไม่ประกาศรับรองสถานภาพของ “ยิ่งลักษณ์” ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา เกิดกกระแสกดดัน มีการทำโพลสำรวจความเห็นประชาชน ซึ่งชี้ว่าอยากให้ กกต.รับรอง “ยิ่งลักษณ์” ที่ผ่านการเลือกตั้งลงความเห็นจากประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก
จนคนในพรรคประชาธิปัตย์ต้องออกมาจวกแหลกพรรคเพื่อไทยว่ากดดันการทำงานของ กกต. รวมไปถึงโพลจากมหาวิทยาลัยต่างๆไม่วายโดนหางเลขไปด้วยว่าเอียงข้าง ใช้กระแสสังคมกดดันหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย จี้ให้ กกต.รับรองสถานภาพปูแดง-ยิ่งลักษณ์
ต้องเข้าใจว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นธรรมชาติ เป็นนิสัยของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อใครขวางทาง หรือใครไม่เป็นแนวร่วมก็ออกมาทิ่มแทงแดกดัน ก่อนหน้านี้เมื่อโพลสำรวจเป็นผลบวกกับตัวเองก็ออกมายกยอปอปั้น
พฤติกรรมความไม่เป็นสุภาพบุรุษเยี่ยงนี้เห็นแล้วก็ต้องส่ายหน้าด้วยความเอือมระอา
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ กกต.จะรับรองสถานภาพความเป็น ส.ส.ของ “ยิ่งลักษณ์” ว่าที่นายกฯหญิงแล้ว แต่จำนวน ส.ส.ที่ผ่านการรับรองก็ยังไม่ถึง 475 คน หรือ 95 เปอร์เซ็นต์ของ ส.ส.500 คน จึงยังไม่สามารถเปิดประชุมสภาเพื่อคัดเลือกตำแหน่งประธาน นำไปสู่ลการเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปได้
ยังต้องรอ กกต.รับรองรอบที่ 3 ว่าจะครบจำนวนทำให้การเมืองเดินหน้าได้หรือไม่ แต่ดูแนวโน้มแล้ว กกต.คงจะรับรองจนครบตามเกณฑ์ได้ในไม่ช้าไม่นานนี้
ฉะนั้น ฝุ่นควันการเมืองในซีกข้างรัฐบาลชุดใหม่ที่มีพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค คงกลับมาฝุ่นตลบกันอีกรอบ ในเรื่องของการจัด ครม.ยื้อแย่งเก้าอี้รัฐมนตรี โดยเฉพาะภายในพรรคเพื่อไทย หลังจากซาลงไปพักหนึ่งเมื่อ “ยิ่งลักษณ์” เก็บตัวนิ่งเงียบรอฟังผลจากกกต.
รัฐบาล 6 พรรค 300 เสียง ถือว่ามีเถียรภาพในระดับสูง ลำพังพรรคเพื่อไทยเองก็มีเสียง 265 เสียง เกินครึ่งไป 15 เสียง ดังนั้นอำนาจต่อรองโควตารัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ค่อนข้างไร้น้ำหนัก หากท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยโยนเก้าอี้อะไรมาก็คงต้องรับไว้ก่อนอย่างเสียไม่ได้
เพราะวันนี้แค่ได้ร่วมรัฐบาลก็นับว่าเป็นโชคดีแล้ว ขืนไปกระจองอแงจนเกินงาม ดีไม่ดีโดนเขี่ยทิ้งเอาง่ายๆ
กระนั้นก็ตาม ในยามที่พรรคเพื่อไทยกำลังแสวงหามิตรร่วมต้านศัตรู คงไม่ใจไม้ไส้ระกำ เจียดของเหลือไปให้พรรคร่วมรัฐบาล ที่มาล่มหัวจมท้ายด้วยแน่นอน เบื้องต้นพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคการเมืองเส็งเคร็งที่เข้ามาจูบปากด้วยเป็นพรรคแรก ก็มีแนวโน้มท่าจะได้กระทรวงใหญ่ไป 2 กระทรวง และน่าจะได้กระทรวงเดิมๆ ตามที่เรียกร้องมาด้วย
ขณะที่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และ พรรคพลังชล ก็อยู่ระหว่างการต่อรอง ซึ่งก็น่าจะได้เก้าอี้ไปอย่างสมน้ำสมเนื้อ
พรรคร่วมรัฐบาลที่จะมาผสมโรงกับพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ หลายพรรคเคยเป็นพรรคขนาดกลาง วันนี้กลายเป็นเพียงพรรคเล็ก พรรคน้อย หลังโดนกระแสเสื้อแดงผนวกกับกระแสเพศนิยมนายกฯ หญิงกวาดต้อนจนราบเป็นหน้ากลองในหลายพื้นที่ แม้กระทั่งฐานที่มั่นตัวเองงยังสั่นคลอนรักษาฐานไว้ไม่ได้ทั้งหมด
ย่อมจับทิศทางลมได้ว่า กระแสน้ำเชี่ยวเพียงใด การเอาเรือไปขวางย่อมไม่ใช่หนทางที่ฉลาดแน่ มาร่วมรัฐบาลต้องทำตัวเป็นไผ่ลู่ลม พรรคแกนนำว่าอย่างไรก็ต้องว่าตามนั้น
ไม่มีใครกล้าเอ็ดตะโรอื้ออึงทำตัวน่ารำคาญ เพราะยามนี้พรรคเพื่อไทยถือไพ่เหนือใคร จะชี้นิ้วสั่งใครให้มาร่วมรัฐบาลด้วยก็ได้ อาจเปลี่ยนสมการตัวเลขได้ตามสถานการณ์ เลือกพรรคนั้นเสียบเข้ามา ถอนยวงพรรคนี้ออกไปก็สามารถทำได้โดยไม่เคอะเขิน เนื่องจากมีเสียงข้างมากเกินครึ่งอยู่ในมือ
และก็มีข่าวมาตลอดว่าพรรคเพื่อไทย โดน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคุกอยู่ต่างประเทศ คอนดักเตอร์ตัวจริงของพรรคเพื่อไทย ไม่ปิดกั้นโอกาสของพรรคการเมืองใดที่จะมาร่วมรัฐบาล
โดย พ.ต.ท.ทักษิณแสดงท่าทีพร้อมพูดคุยกับทุกคนที่ฝ่ายที่เคยเป็นศัตรูมาเก่าก่อน กลุ่มการเมืองบางกลุ่มในพรรคภูมิใจไทยก็มีโอกาส แปลงกลายเป็นงูเห่าเลื้อยเข้ามาร่วมรัฐบาลได้เช่นกัน
ท่าทีของ สมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา ผู้สร้างบรรทัดฐานให้ตัวเองและพรรคพวกตลอดมาว่าเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งวันนี้ร่วมชายคาเดียวกับพรรคภูมิใจไทยของ เนวิน ชิดชอบ อริตัวฉกาจของพรรคเพื่อไทย ก็แสดงให้เห็นชัดเจนเหลือเกินว่าอยากมาร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยใจจะขาด ถึงขั้นจะให้สมาชิกในกลุ่มยกมือสนับสนุนให้ “ยิ่งลักษณ์” เป็นนายกฯ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล
อันนี้เป็นสัญญาณหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยจะใช้สับหลีก เล่นแง่ขู่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ให้โหวกเหวกโวยวาย ไม่บอกปัดกลุ่มมัชฌิมาไปทันทีว่าจะไม่รับเข้ามาร่วมรัฐบาล เพราะหวังใช้กลุ่มนี้คัดง้างพรรคเล็กพรรคน้อยไม่ให้งอแง
การเมืองที่ชิงไหวชิงพริบกันชั่วโมงนี้ เสียงทุกเสียงล้วนมีความจำเป็น การมีเสียงสำรองแสตนบายด์ไว้เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่คาดคิด สร้างมิตรผูกไมตรีเข้าไว้ย่อมอุ่นใจกว่า พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณล้วนเคยมีบทเรียนที่เจ็บปวดร้าวลึกมาแล้ว วันนี้คงไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก
อย่างไรก็ตาม แต่พรรคเพื่อไทยคงยังไม่สามารถที่จะนำกลุ่มมัชฌิมาที่เป็นงูเห่าด้วยชื่อภูมิใจไทยเข้ามาร่วมรัฐบาลในทันทีทันใดนี้อย่างแน่นอน หากทำเช่นนั้นย่อมเสี่ยงต่อการถูกก่นด่าจากประชาชนที่เลือกเข้ามา เพราะเขารับไม่ได้กับพรรคภูมิใจไทยที่สลัดตัวทิ้งอย่างไร้เยื่อใยไปเสวยสุขบนอำนาจ เมื่อวันนี้เข้าตาจนจะซมซานกลับมาก็ไม่มีใครยอมรับ
พรรคเพื่อไทยทราบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ดี ซึ่ง “สมศักดิ์” ก็เข้าใจเรื่องนี้อย่างดีเช่นกัน ดังนั้นหากโฉ่งฉ่างฉีกตัวเข้ามาร่วมรัฐบาลทันที ย่อมไม่เป็นผลดีต่อใครเลย การปล่อยเวลาให้ทอดยาวออกไป ทำให้ความรู้สึกคนซาลง แล้วค่อยเสียบแบบซึมๆ เข้ามา ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
หากจะให้เนียนกว่านั้นก็หาช่วงเวลาเร็วๆ นี้ แยกตัวจากพรรคภูมิใจไทย ไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หาสถานที่ตั้งแปะชื่อพรรคเป็นเอกเทศ เหมือนเช่นครั้งที่ตั้งพรรค “มัชฌิมาธิปไตย” ก็ถือเป็นทางเลือกที่เข้าท่าเข้าที เมื่อเวลาผ่านไปอีกช่วงหนึ่งแล้ว
การเสียบเข้าร่วมรัฐบาลก็จะเป็นไปด้วยความสะดวกโยธิน
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กกต.ยังไม่ประกาศรับรองสถานภาพของ “ยิ่งลักษณ์” ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ไปต่างๆ นานา เกิดกกระแสกดดัน มีการทำโพลสำรวจความเห็นประชาชน ซึ่งชี้ว่าอยากให้ กกต.รับรอง “ยิ่งลักษณ์” ที่ผ่านการเลือกตั้งลงความเห็นจากประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก
จนคนในพรรคประชาธิปัตย์ต้องออกมาจวกแหลกพรรคเพื่อไทยว่ากดดันการทำงานของ กกต. รวมไปถึงโพลจากมหาวิทยาลัยต่างๆไม่วายโดนหางเลขไปด้วยว่าเอียงข้าง ใช้กระแสสังคมกดดันหลักเกณฑ์ทางกฎหมาย จี้ให้ กกต.รับรองสถานภาพปูแดง-ยิ่งลักษณ์
ต้องเข้าใจว่า การกระทำเช่นนั้นเป็นธรรมชาติ เป็นนิสัยของพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อใครขวางทาง หรือใครไม่เป็นแนวร่วมก็ออกมาทิ่มแทงแดกดัน ก่อนหน้านี้เมื่อโพลสำรวจเป็นผลบวกกับตัวเองก็ออกมายกยอปอปั้น
พฤติกรรมความไม่เป็นสุภาพบุรุษเยี่ยงนี้เห็นแล้วก็ต้องส่ายหน้าด้วยความเอือมระอา
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ กกต.จะรับรองสถานภาพความเป็น ส.ส.ของ “ยิ่งลักษณ์” ว่าที่นายกฯหญิงแล้ว แต่จำนวน ส.ส.ที่ผ่านการรับรองก็ยังไม่ถึง 475 คน หรือ 95 เปอร์เซ็นต์ของ ส.ส.500 คน จึงยังไม่สามารถเปิดประชุมสภาเพื่อคัดเลือกตำแหน่งประธาน นำไปสู่ลการเลือกนายกรัฐมนตรีคนต่อไปได้
ยังต้องรอ กกต.รับรองรอบที่ 3 ว่าจะครบจำนวนทำให้การเมืองเดินหน้าได้หรือไม่ แต่ดูแนวโน้มแล้ว กกต.คงจะรับรองจนครบตามเกณฑ์ได้ในไม่ช้าไม่นานนี้
ฉะนั้น ฝุ่นควันการเมืองในซีกข้างรัฐบาลชุดใหม่ที่มีพรรคร่วมรัฐบาล 6 พรรค คงกลับมาฝุ่นตลบกันอีกรอบ ในเรื่องของการจัด ครม.ยื้อแย่งเก้าอี้รัฐมนตรี โดยเฉพาะภายในพรรคเพื่อไทย หลังจากซาลงไปพักหนึ่งเมื่อ “ยิ่งลักษณ์” เก็บตัวนิ่งเงียบรอฟังผลจากกกต.
รัฐบาล 6 พรรค 300 เสียง ถือว่ามีเถียรภาพในระดับสูง ลำพังพรรคเพื่อไทยเองก็มีเสียง 265 เสียง เกินครึ่งไป 15 เสียง ดังนั้นอำนาจต่อรองโควตารัฐมนตรีของพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ก็ค่อนข้างไร้น้ำหนัก หากท้ายที่สุดพรรคเพื่อไทยโยนเก้าอี้อะไรมาก็คงต้องรับไว้ก่อนอย่างเสียไม่ได้
เพราะวันนี้แค่ได้ร่วมรัฐบาลก็นับว่าเป็นโชคดีแล้ว ขืนไปกระจองอแงจนเกินงาม ดีไม่ดีโดนเขี่ยทิ้งเอาง่ายๆ
กระนั้นก็ตาม ในยามที่พรรคเพื่อไทยกำลังแสวงหามิตรร่วมต้านศัตรู คงไม่ใจไม้ไส้ระกำ เจียดของเหลือไปให้พรรคร่วมรัฐบาล ที่มาล่มหัวจมท้ายด้วยแน่นอน เบื้องต้นพรรคชาติไทยพัฒนา พรรคการเมืองเส็งเคร็งที่เข้ามาจูบปากด้วยเป็นพรรคแรก ก็มีแนวโน้มท่าจะได้กระทรวงใหญ่ไป 2 กระทรวง และน่าจะได้กระทรวงเดิมๆ ตามที่เรียกร้องมาด้วย
ขณะที่พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน และ พรรคพลังชล ก็อยู่ระหว่างการต่อรอง ซึ่งก็น่าจะได้เก้าอี้ไปอย่างสมน้ำสมเนื้อ
พรรคร่วมรัฐบาลที่จะมาผสมโรงกับพรรคเพื่อไทยครั้งนี้ หลายพรรคเคยเป็นพรรคขนาดกลาง วันนี้กลายเป็นเพียงพรรคเล็ก พรรคน้อย หลังโดนกระแสเสื้อแดงผนวกกับกระแสเพศนิยมนายกฯ หญิงกวาดต้อนจนราบเป็นหน้ากลองในหลายพื้นที่ แม้กระทั่งฐานที่มั่นตัวเองงยังสั่นคลอนรักษาฐานไว้ไม่ได้ทั้งหมด
ย่อมจับทิศทางลมได้ว่า กระแสน้ำเชี่ยวเพียงใด การเอาเรือไปขวางย่อมไม่ใช่หนทางที่ฉลาดแน่ มาร่วมรัฐบาลต้องทำตัวเป็นไผ่ลู่ลม พรรคแกนนำว่าอย่างไรก็ต้องว่าตามนั้น
ไม่มีใครกล้าเอ็ดตะโรอื้ออึงทำตัวน่ารำคาญ เพราะยามนี้พรรคเพื่อไทยถือไพ่เหนือใคร จะชี้นิ้วสั่งใครให้มาร่วมรัฐบาลด้วยก็ได้ อาจเปลี่ยนสมการตัวเลขได้ตามสถานการณ์ เลือกพรรคนั้นเสียบเข้ามา ถอนยวงพรรคนี้ออกไปก็สามารถทำได้โดยไม่เคอะเขิน เนื่องจากมีเสียงข้างมากเกินครึ่งอยู่ในมือ
และก็มีข่าวมาตลอดว่าพรรคเพื่อไทย โดน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นักโทษหนีคุกอยู่ต่างประเทศ คอนดักเตอร์ตัวจริงของพรรคเพื่อไทย ไม่ปิดกั้นโอกาสของพรรคการเมืองใดที่จะมาร่วมรัฐบาล
โดย พ.ต.ท.ทักษิณแสดงท่าทีพร้อมพูดคุยกับทุกคนที่ฝ่ายที่เคยเป็นศัตรูมาเก่าก่อน กลุ่มการเมืองบางกลุ่มในพรรคภูมิใจไทยก็มีโอกาส แปลงกลายเป็นงูเห่าเลื้อยเข้ามาร่วมรัฐบาลได้เช่นกัน
ท่าทีของ สมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา ผู้สร้างบรรทัดฐานให้ตัวเองและพรรคพวกตลอดมาว่าเล่นการเมืองเพื่อเป็นรัฐบาลเท่านั้น ซึ่งวันนี้ร่วมชายคาเดียวกับพรรคภูมิใจไทยของ เนวิน ชิดชอบ อริตัวฉกาจของพรรคเพื่อไทย ก็แสดงให้เห็นชัดเจนเหลือเกินว่าอยากมาร่วมรัฐบาลกับพรรคเพื่อไทยใจจะขาด ถึงขั้นจะให้สมาชิกในกลุ่มยกมือสนับสนุนให้ “ยิ่งลักษณ์” เป็นนายกฯ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เป็นพรรคร่วมรัฐบาล
อันนี้เป็นสัญญาณหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยจะใช้สับหลีก เล่นแง่ขู่พรรคร่วมรัฐบาลไม่ให้โหวกเหวกโวยวาย ไม่บอกปัดกลุ่มมัชฌิมาไปทันทีว่าจะไม่รับเข้ามาร่วมรัฐบาล เพราะหวังใช้กลุ่มนี้คัดง้างพรรคเล็กพรรคน้อยไม่ให้งอแง
การเมืองที่ชิงไหวชิงพริบกันชั่วโมงนี้ เสียงทุกเสียงล้วนมีความจำเป็น การมีเสียงสำรองแสตนบายด์ไว้เผื่อเหตุการณ์ฉุกเฉินไม่คาดคิด สร้างมิตรผูกไมตรีเข้าไว้ย่อมอุ่นใจกว่า พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณล้วนเคยมีบทเรียนที่เจ็บปวดร้าวลึกมาแล้ว วันนี้คงไม่ปล่อยให้เหตุการณ์เช่นนั้นเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก
อย่างไรก็ตาม แต่พรรคเพื่อไทยคงยังไม่สามารถที่จะนำกลุ่มมัชฌิมาที่เป็นงูเห่าด้วยชื่อภูมิใจไทยเข้ามาร่วมรัฐบาลในทันทีทันใดนี้อย่างแน่นอน หากทำเช่นนั้นย่อมเสี่ยงต่อการถูกก่นด่าจากประชาชนที่เลือกเข้ามา เพราะเขารับไม่ได้กับพรรคภูมิใจไทยที่สลัดตัวทิ้งอย่างไร้เยื่อใยไปเสวยสุขบนอำนาจ เมื่อวันนี้เข้าตาจนจะซมซานกลับมาก็ไม่มีใครยอมรับ
พรรคเพื่อไทยทราบถึงข้อเท็จจริงข้อนี้ดี ซึ่ง “สมศักดิ์” ก็เข้าใจเรื่องนี้อย่างดีเช่นกัน ดังนั้นหากโฉ่งฉ่างฉีกตัวเข้ามาร่วมรัฐบาลทันที ย่อมไม่เป็นผลดีต่อใครเลย การปล่อยเวลาให้ทอดยาวออกไป ทำให้ความรู้สึกคนซาลง แล้วค่อยเสียบแบบซึมๆ เข้ามา ย่อมเป็นทางเลือกที่ดีกว่า
หากจะให้เนียนกว่านั้นก็หาช่วงเวลาเร็วๆ นี้ แยกตัวจากพรรคภูมิใจไทย ไปตั้งพรรคการเมืองใหม่ หาสถานที่ตั้งแปะชื่อพรรคเป็นเอกเทศ เหมือนเช่นครั้งที่ตั้งพรรค “มัชฌิมาธิปไตย” ก็ถือเป็นทางเลือกที่เข้าท่าเข้าที เมื่อเวลาผ่านไปอีกช่วงหนึ่งแล้ว
การเสียบเข้าร่วมรัฐบาลก็จะเป็นไปด้วยความสะดวกโยธิน