“ปานเทพ” จับประเด็น รบ.เร่งรัดยุบสภาให้ได้ในสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค. เผยหากนับเวลากำหนดวันเลือกตั้งตาม กม. อย่างน้อย 45 วัน จะบีบให้ตรงกับวันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งเป็นวันที่ศาลโลกพิจารณาในประเด็นวาระมรดกโลก หากเจาะรายละเอียดนับเวลาระหว่างกรุงเทพฯกับบาเรนห์ ซึ่งต่างกัน 4 ชม. คำนวณดูแล้วเราปิดหีบบัตรเลือกตั้ง 15.00 น. ช่วงนั้นเวลาในบาเรนห์อยู่ในช่วง 11.00 น. ซึ่งยังไม่ถึงวาระพิจารณามรดกโลก เท่ากับ รบ.พยายามปิดตาประชาชนไม่ให้รู้ผลก่อนหย่อนบัตรเลือกตั้งแล้วเสร็จ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง “รวมพลังปกป้องแผ่นดิน” ปราศรัยโดย “นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์”
วันที่ 6 พ.ค. 2554 บนเวทีปราศรัยการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวว่า กัมพูชาต้องการให้ศาลโลกวินิจฉัย ว่า ประเทศไทยมีพันธะต้องถอนกำลังทหารตามปราสาทเขาวิหารหรือในบริเวณใกล้เคียง คำว่า “หรือ” หมายถึงให้ศาลเลือกทำอย่างไดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้หากเขมรต้องการให้ไทยถอนกำลังทหารทั้งตัวปราสาทเขาวิหารกับบริเวณใกล้เคียง จะต้องใช้คำว่า “และ” ฉะนั้นถ้อยคำที่เขมรยื่นต่อศาลโลกไม่ใช่บทบังคับทหารไทย เพราะไทยเลือกแล้วที่จะถอนทหารออกจากตัวปราสาทอย่างอื่นไม่เกี่ยว
เป็นดังที่ ดร.สมปอง สุจริตกุล บอกว่า การกระทำของกัมพูชาถือเป็นการรื้อฟื้นคดีเก่าแต่ขยายขอบเขตใหม่ แปลว่ากำลังให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ ทำให้คดีตัวปราสาทเขาวิหารยกเลิกแล้วใช่หรือไม่ ถ้าอย่างนั้น ไทยสามารถประกาศเส้นเขตแดนโดยยึดหลักสันปันน้ำอย่างเดียวได้ หากจะให้ศาลโลกวินิจฉัยเกินขอบเขตไปไกลกว่านี้ ไทยไม่ควรยินยอม เหตุ 1.ตัวปราสาทเรายังตั้งข้อทักท้วงและข้อสงวนไว้ 2.ไทยไม่ต่ออายุการประการการบังคับอายุศาลโลก และ 3.ไทยมีเอกราชไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของใคร ไม่จำเป็นต้องยกดินแดนให้ใครโดยที่เราไม่ยินยอม
นายปานเทพกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างหย่อนบัตรเลือกตั้ง กับมรดกโลกว่า การประชุมมรดกโลกจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19-29 มิ.ย.54 โดยวันที่ 26 มิ.ย. เป็นวันพิจารณาในประเด็นวาระมรดกโลก จึงเป็นเหตุผลที่รัฐบาลเร่งให้มีการเลือกตั้งก่อนวันที่ 26 ให้ได้ เพราะหากให้มีการเลือกตั้งหลังประชุมมรดกโลก ประชาชนจะรู้ว่าผลประชุมมรดกโลกไทยจะล้มเหลวหรือไม่ อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลมั่นใจผลมรดกโลกไทยชนะ รัฐบาลจะต้องให้การเลือกตั้งอยู่หลังการประชุมมรดกโลกแล้วเสร็จ เพราะอย่างน้อยถ้าไทยชนะเขมร ย่อมทำให้มีผลต่อการตัดสินใจลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งอาจได้คะแนนอย่างท้วมท้น แต่นี่แสดงว่ารัฐบาลไม่มั่นใจ เลยทำทุกวิธีทางเร่งรัดยุบสภาให้ได้ในสัปดาห์แรกของเดือนพฤษภาคม
ทั้งนี้ หากดูตามกฎหมาย เขาระบุวันเลือกตั้งไว้ชัดเจนว่า หากยุบสภาต้องใช้เวลาอย่างน้อย 45 วัน ในการกำหนดวันเลือกตั้ง ตามแผนเดิมรัฐบาลจะยุบสภาวันที่ 6 พ.ค. หากมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แล้วนับไป 45 วัน จะไปตกวันที่ 20 มิ.ย. และถ้ามีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ วันที่ 9 นับไป 45 วัน จะตรงกับวันที่ 22 ก็มีโอกาสเหมือนกันที่จะตรงวันที่ 26 เนื่องจากเวลาเลือกตั้งปกติเขากำหนดเป็นวันอาทิตย์ ตนนับเวลลาดูแล้ว เวลาระหว่างกรุงเทพฯกับบาเรนห์ เราต่างกัน 4 ชม. คำนวนดูแล้วเราปิดหีบบัตรเลือกตั้ง 15.00 น. ช่วงนั้นเวลาในบาเรนห์อยู่ในช่วง 11.00 น. ซึ่งยังไม่ถึววาระพิจารณามรดกโลก ดังนั้น จะเห็นได้ว่า รัฐบาลพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อไม่ให้คนไทยรู้ผลก่อนการพิจารณามรดกโลกก่อนหย่อนบัตรแล้วเสร็จ การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นธรรมกับประชาชน เสมือนรัฐบาลไม่พร้อมรับผิดชอบในผลที่ที่จะเกิดขึ้นทั้งที่ประชาชนพร่ำเตือนมาตลอด เมื่อทำพลาดควรได้รับผลกรรมที่ก่อขึ้น นี่คือเหตุผลทำไมต้องทูลเกล้าฯ ให้ได้ในวันที่ 6 พ.ค.
อย่างไรก็ดี เหตุผลอีกประการของรัฐบาล เป็นที่น่าสนใจ มีข่าวจากเว็บมติชน บอกว่านายอภิสิทธิ์เล็งแถลงยุบสภาฯ 6 พ.ค. หลังแกนนำประชาธิปัตย์ รุดให้หมอดูเช็กฤกษ์ยามแล้ว ดังนั้น ที่คณะแพทย์แถลงควรงดพระราชกรณียกิจสักระยะ สำหรับประชาธิปัตย์ เห็นว่าฤกษ์ยามสำคัญกว่าใช่หรือไม่