รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เผย “สมศักดิ์-สาวิทย์” ขอถอนตัวแกนนำพันธมิตรฯ เอง ไม่ใช่มติ สรส.ปัดสหภาพถอนยวงพ้นม็อบ ยันยังร่วมชุมนุม
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายอำนาจ พละมี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เปิดเผยถึงกรณีที่ สรส.มีมติให้ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ และ นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส.ลาออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ว่า ที่ผ่านมา สรส.ได้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯมาตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และในการชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยครั้งนี้ สรส.ได้มีมติเข้าร่วมชุมนุมร่วมกับพันธมิตรฯ โดยมติของคณะกรรมการกลางเมื่อวันที่ 19 ม.ค.54 ให้เข้าร่วมชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.เป็นต้นมา จนกระทั่งการประชุมคณะกรรมการกลาง ครั้งที่ 2/54 เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ได้มีมติให้กรรมการบริหาร กรรมการกลาง และองค์กรสมาชิก ประกาศเจตนารมณ์บนเวทีการชุมนุมที่สะพานมัฆวาน เมื่อวันที่ 18 ก.พ.และร่วมชุมนุมมาโดยตลอด
นายอำนาจ กล่าวต่อว่า จนเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการบริหาร สรส.เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา กลับมีมติให้ถอนตัวออกจากการร่วมชุมนุม และได้นำเรื่องนี้แจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางเพื่อพิจารณาในวันที่ 20 เม.ย.แต่ที่ประชุมคณะกรรมการกลางได้มีมติให้ร่วมกับพันธมิตรฯต่อไป โดยให้ถอยการทำกิจกรรมเพื่อประเมินสถานการณ์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 เม.ย.ในการประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหาร สรส.ในรอบ 6 เดือน นายสมศักดิ์ ในฐานะที่ปรึกษา สรส.และ นายสาวิทย์ ที่เข้าร่วมประชุมด้วยได้แจ้งความประสงค์ที่จะถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 คณะกรรมการบริหารจึงได้หารือ และให้ความเห็นชอบตามความต้องการของทั้ง 2 คน
“ครั้งนี้ไม่ใช่การประชุม จึงไม่ถือเป็นมติของที่ประชุม แต่ในฐานะที่ สรส.เป็นองค์กร จึงต้องแจ้งให้พันธมิตรฯทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การถอนตัวดังกล่าวไม่ได้หมายถึง สรส.ถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรฯ” นายอำนาจ กล่าว
รองเลขาฯ สรส.กล่าวด้วยว่า ตามธรรมนูญของ สรส.หมวดที่ 4 ว่าด้วยการดำเนินงาน ข้อ 13 ระบุถึงองค์ประกอบดำเนินงานของ สรส.โดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1.ที่ประชุมใหญ่สมาชิก สรส.ประจำปี 2.ที่ประชุมคณะกรรมการกลาง 3.ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร 4.ที่ประชุมคณะกรรมการสาขา และ 5.ที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายงานต่างๆ ซึ่งหมายถึงคณะกรรมการบริหารต้องปฏิบัติตามที่คณะกรรมการกลางมีมติให้ดำเนินการ แสดงว่า คณะกรรมการกลางของ สรส.ยังคงมีมติให้ร่วมกับพันธมิตรฯต่อไป ส่วนการถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯของนายสมศักดิ์ และ นายสาวิทย์ ถือเป็นความสมัครใจส่วนบุคคลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สรส.มีความเกี่ยวพันในฐานะที่ให้การรับรองการเข้าร่วมเป็นแกนนำพันธมิตรฯของบุคคลทั้งสอง เมื่อคราวการชุมนุม 193 วัน ดังนั้น เมื่อทั้ง 2 คนแจ้งความประสงค์ดังกล่าว จึงพิจารณาเห็นชอบตามความต้องการ ทั้งนี้ สมาชิก สรส.ส่วนใหญ่ที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานต่างๆ ยังร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเช่นเดิม รวมทั้งการรณรงค์คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพันธมิตรฯได้เห็นพ้องต้องกันในการที่จะรักษาสมบัติของชาติ โดยในปีที่ผ่านมา สรส.ได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องพันธมิตรฯ ที่ร่วมกันสนับสนุนงานดนตรีเพื่อนบ้าน สรส.เป็นจำนวนมาก เพื่อนำรายได้ไปสร้างอาคารที่ทำการ จึงขอยืนยันในการร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯต่อไป รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ สรส.ผ่านทางสื่อมวลชนทุกแขนงมาโดยตลอด
“การมีมติอย่างหนึ่งอย่างใดของ สรส.ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลาง จึงจะมีผลผูกพันธ์องค์กร ซึ่งเป็นหลักการประชาธิปไตยที่จะให้มีการตรวจสอบและคานอำนาจระหว่างกัน ในคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยคณะกรรมการกลางมีอำนาจสูงสุด” นายอำนาจ กล่าว
วันนี้ (28 เม.ย.) ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ นายอำนาจ พละมี รองเลขาธิการสมาพันธ์แรงรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) เปิดเผยถึงกรณีที่ สรส.มีมติให้ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข หัวหน้าพรรคการเมืองใหม่ และ นายสาวิทย์ แก้วหวาน เลขาธิการ สรส.ลาออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ว่า ที่ผ่านมา สรส.ได้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯมาตั้งแต่ปี 49 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน และในการชุมนุมเพื่อปกป้องอธิปไตยเหนือดินแดนไทยครั้งนี้ สรส.ได้มีมติเข้าร่วมชุมนุมร่วมกับพันธมิตรฯ โดยมติของคณะกรรมการกลางเมื่อวันที่ 19 ม.ค.54 ให้เข้าร่วมชุมนุม ตั้งแต่วันที่ 25 ม.ค.เป็นต้นมา จนกระทั่งการประชุมคณะกรรมการกลาง ครั้งที่ 2/54 เมื่อวันที่ 16 ก.พ.ได้มีมติให้กรรมการบริหาร กรรมการกลาง และองค์กรสมาชิก ประกาศเจตนารมณ์บนเวทีการชุมนุมที่สะพานมัฆวาน เมื่อวันที่ 18 ก.พ.และร่วมชุมนุมมาโดยตลอด
นายอำนาจ กล่าวต่อว่า จนเมื่อมีการประชุมคณะกรรมการบริหาร สรส.เมื่อวันที่ 11 เม.ย.ที่ผ่านมา กลับมีมติให้ถอนตัวออกจากการร่วมชุมนุม และได้นำเรื่องนี้แจ้งต่อที่ประชุมคณะกรรมการกลางเพื่อพิจารณาในวันที่ 20 เม.ย.แต่ที่ประชุมคณะกรรมการกลางได้มีมติให้ร่วมกับพันธมิตรฯต่อไป โดยให้ถอยการทำกิจกรรมเพื่อประเมินสถานการณ์ จนกระทั่งเมื่อวันที่ 26 เม.ย.ในการประเมินผลการทำงานของคณะกรรมการบริหาร สรส.ในรอบ 6 เดือน นายสมศักดิ์ ในฐานะที่ปรึกษา สรส.และ นายสาวิทย์ ที่เข้าร่วมประชุมด้วยได้แจ้งความประสงค์ที่จะถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 คณะกรรมการบริหารจึงได้หารือ และให้ความเห็นชอบตามความต้องการของทั้ง 2 คน
“ครั้งนี้ไม่ใช่การประชุม จึงไม่ถือเป็นมติของที่ประชุม แต่ในฐานะที่ สรส.เป็นองค์กร จึงต้องแจ้งให้พันธมิตรฯทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ดังนั้น การถอนตัวดังกล่าวไม่ได้หมายถึง สรส.ถอนตัวจากการเป็นพันธมิตรฯ” นายอำนาจ กล่าว
รองเลขาฯ สรส.กล่าวด้วยว่า ตามธรรมนูญของ สรส.หมวดที่ 4 ว่าด้วยการดำเนินงาน ข้อ 13 ระบุถึงองค์ประกอบดำเนินงานของ สรส.โดยเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1.ที่ประชุมใหญ่สมาชิก สรส.ประจำปี 2.ที่ประชุมคณะกรรมการกลาง 3.ที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร 4.ที่ประชุมคณะกรรมการสาขา และ 5.ที่ประชุมคณะกรรมการฝ่ายงานต่างๆ ซึ่งหมายถึงคณะกรรมการบริหารต้องปฏิบัติตามที่คณะกรรมการกลางมีมติให้ดำเนินการ แสดงว่า คณะกรรมการกลางของ สรส.ยังคงมีมติให้ร่วมกับพันธมิตรฯต่อไป ส่วนการถอนตัวจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯของนายสมศักดิ์ และ นายสาวิทย์ ถือเป็นความสมัครใจส่วนบุคคลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม สรส.มีความเกี่ยวพันในฐานะที่ให้การรับรองการเข้าร่วมเป็นแกนนำพันธมิตรฯของบุคคลทั้งสอง เมื่อคราวการชุมนุม 193 วัน ดังนั้น เมื่อทั้ง 2 คนแจ้งความประสงค์ดังกล่าว จึงพิจารณาเห็นชอบตามความต้องการ ทั้งนี้ สมาชิก สรส.ส่วนใหญ่ที่เป็นสมาชิกของสหภาพแรงงานต่างๆ ยังร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนเช่นเดิม รวมทั้งการรณรงค์คัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ซึ่งพันธมิตรฯได้เห็นพ้องต้องกันในการที่จะรักษาสมบัติของชาติ โดยในปีที่ผ่านมา สรส.ได้รับการสนับสนุนจากพี่น้องพันธมิตรฯ ที่ร่วมกันสนับสนุนงานดนตรีเพื่อนบ้าน สรส.เป็นจำนวนมาก เพื่อนำรายได้ไปสร้างอาคารที่ทำการ จึงขอยืนยันในการร่วมชุมนุมกับพันธมิตรฯต่อไป รวมทั้งการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของ สรส.ผ่านทางสื่อมวลชนทุกแขนงมาโดยตลอด
“การมีมติอย่างหนึ่งอย่างใดของ สรส.ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการกลาง จึงจะมีผลผูกพันธ์องค์กร ซึ่งเป็นหลักการประชาธิปไตยที่จะให้มีการตรวจสอบและคานอำนาจระหว่างกัน ในคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยคณะกรรมการกลางมีอำนาจสูงสุด” นายอำนาจ กล่าว