คณะกรรมการปกป้องสื่อ หรือ ซีพีเจ . ( CPJ - The Committee to protect journalists ) เผยแพร่รายงานการเสียชีวิตของผู้สื่อข่าว ที่เป็นผลจากการทำหน้าที่สื่อมวลชนทั่วโลก ในปี 2553 ว่า มีผู้เสียชีวิตรวม 75 คน ในจำนวนนี้ ทราบสาเหตุแน่ชัด 44 คน ไม่สามารถยืนยันสาเหตุได้ 31 คน
44 คนนี้ ตายในปากีสถานมากที่สุด 8 คน รองลงมาคืออิรัก และฮอนดูรัสประเทศละ 5 คน อินโดนีเซีย 3 คน เม็กซิโก 3 คน ประเทศไทย 2 คน ฯลฯ
สองคนที่ตายในประเทศไทย คนหนึ่งคือ นายฮิโร มิราโมโต ช่างภาพชาวญี่ปุ่นของสำนักข่าวรอยเตอร์ ที่ถูกกระสุนปืน บริเวณสี่แยกคอกวัว ในเหตุการร์ที่ชายชุดดำ ที่แฝงตัวอยุ่ในกลุ่มคนเสื้อแดง ยิงถล่มทหาร ในคืนนั้น อันเป็นเหตุให้ พันเอกเอก ร่มเกล้า ธุวธรรม รองเสนาธิการ กองพลทหาราบที่ 2 ค่านจักรพงษ์ เสียชีวิต และทหาร ตายและบาดเจ็บจำนวนมาก
อีกคนหนึ่งคือ นายฟาบิโอ ฟาเลนกี ช่างภาพอิสระ ชาวอิตาเลีย นที่เสียชีวิตที่ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ในเหตุการณ์ที่ ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกแน หรือ ศอฉ. เข้ากระชับพื้นที่ ปิดล้อมกลุ่มคนเสื้อแดง
ซีพีเจ. ระบุ สาเหตุการตายของคนทั้งสองว่า ตาย เนื่องจากการปฎิบัติหน้าที่ท่ามกลางอันตราย ซึ่ง หมายถึง การรายงานข่าว ถ่ายภาพ ในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง , การจลาจล, การปะทะกันระหว่างคุ่ขัดแย้ง โดยถูกยิง จากกระสุนไม่ทราบฝ่าย
ความตายของผู้สื่อช่าว- ช่างภาพ ในสงคราม ในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง เป็นเรื่องน่าเศร้า และเป็นความสูญเสียที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น การปฏิบัติหน้าที่ในสถานการร์เช่นนั้น มีความเสี่ยงที่สูงมาก ที่ผู้สื่อข่าวไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ทางเลือกมีเพียงว่า จะถอนตัวออกมาเพื่อรักษาชีวิต หรือ ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อรายงานข่าวไปยังประชาชน ทั้งๆที่รู้ว่า อันตรายถึงชีวิตรออยุ่เบื้องหน้า ส่วนใหญ่แล้ว จะตัดสินใจเลอืกประการหลัง เพราะเป็นสัญชาติญาณ และถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำหดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
ความตายของผู้สื่อข่าวในสงคราม ในเหตุการณ์ชุมนุมประท้วง ที่มีการใชข้ความรุนแรง จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก
สองเดือนแรกของปีนี้ ซีพีเจ รายงานว่า มีนักข่าว ช่างภาพตายไปแล้ว 5 คน ในจำนวนนี้ 2 คน ตายในเหตุการณ์การ ชุมนุมประท้วงในโลกอาหรับ คนหนึ่งตายที่อียิปต์ อีกคนเป็นช่างภาพของ ยูโรเปี้ยน โฟโต เอ๊กซเพรสจากปารีส ตายในเหตุการณ์ปะทะระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมที่ตูนีเซีย
ความตายของนายมูราโมโต และนายฟาเลนกี ถูกแกนนำคนเสื้อแดง และสื่อเสื้อแดง ใช้เป็นเหยื่อ ให้ร้าย ป้ายสี ยัดเยีดข้อหาฆาตรกร ให้รัฐบาลและกองทัพ ภายหลังเหตุการณ์ เผาบ้านเผาเมือง ที่คนเสื้อแดง ไม่สมหวัง ในการเปลี่ยนแปลงอำนาตจการปกครองอย่างฉับพลัน ทั้งๆที่ ใช้ชีวิตของคนเสื้อแดงด้วยกันเหือบร้อยชีวิตเป็นเหยื่อ แต่สังคมก้ไม่ขานรับ กลับสนับสนุน ชื่นชม ปฏิบัติการของกองทัพ
ท่าทีของสถานฑูตญี่ปุ้นประจำประเทศไทย ที่เร่งรัดให้อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ สอบสวน การตายของนายมูราโมโต และการเดินทางมาวางพวงหรีด หน้าโรงเรียนสตรีวิทยา อันเป้นสถานที่นายมูราโมโต เสียชีวิต ของรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ถูกโหมประโคมอย่างใหญ่โต เพื่อฉีกหน้ารัฐบาลไทย
แต่ความพยายามที่จะใช้ความตายของนายมูราโมโต และความตายของคนเสื้อแดงด้วยกัน เป็นเครื่องมือกลบเกลื่อนความผิดพลาด และความพ่ายแพ้ของตนเอง ไม่เป็นผลสำเร็จ เช่นเดียวกับความพยายามที่จะดึงองค์กรสหประชาชาติ และประเทศมหาอำนาจ ให้มาประณามรัฐบาล ล้มเหลว ควาพยายามที่จะเอานายอภิสิทธื เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีไปขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ กลายเป็นเรื่องตลกในวงการยุติธรรมนานาชาติ
เหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน ที่เป็นข่าวและมีภาพเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวางนั้น ก็คือ ทหารเป็นฝ่ายถูกกระทำ ถูกลอบยิงด้วยระเบิดเอ็ม 79 อาวุธปืนแอ็ม 16 ปืนอาก้า จากชายชุดดำ ที่แฝงตัวอยุ่บนตึกสูง และอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุม ภาพชายชุดดำที่ถืออาวูปเดินไปกับคนเสื้อแดง เป็นภาพทีประจักษ์ชัดว่าใครคือผู้ใช้อาวุธสงคราม ในขณะที่ฝ่ายทหาร ไม่ได้ติดอาวุธ
คำแถลงของ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และพล.ต.ท.อัมพร จารุจินดา ผู้เชี่ยวชาญด้านบาดแผลกระสุนปืน เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ที่ว่า กระสุนที่ยิงนายมูราโมโต จากการตรวจสอบบาดแผลกระสุนที่พบเป็นกระสุนขนาดใหญ่ เพราะหากเป็นกระสุนขนาดเล็กจะกระจายทิ้งร่องรอยของเศษตะกั่วเอาไว้ในบาดแผล หรือที่เรียกว่า Lead snow storm แต่ในกรณีนี้ ไม่มี
นอกจากนี้ทางเข้าและทางออกของกระสุนมีขนาดเท่ากัน และบาดแผลนั้นใหญ่กว่า 7 มม. ซึ่งกระสุนที่ใช้ก็น่าจะเป็นกระสุนที่ใหญ่กว่านั้น ซึ่งในประเทศไทยพบอาวุธปืนสามชนิดที่ใช้กระสุนขนาด 7.62 มม. คือ ปีน AK-47 หรือ อาก้า ปีน 05 - NATO และปืนเซกาเซ่
เป็นการยืนยันในสิ่งที่คนไทยเห็นจากภาพ รู้จากข่าว ในเหตุการณ์เมื่อคืนวันที่ 10 เมษายน
สังคมไทย เป็ยสังคมเรียลไทมส์ คือ สนใจแต่เรื่องที่เกิดขึ้น ณ วันนี้ แต่ลิมไปแล้วว่า ก่อนที่จะมาถึงวันนี้นั้น เรื่องเป็นมาอย่างไร ลืมไปแล้วว่า การเสียชีวิตของนายมูราโมโตนั้น อยู่ในบริบทเช่นใด และในบริบทเช่นนั้น มิใช่มีแต่การเสียชีวิตของนายมูราโมโตเท่านั้น